ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ

  • photo  , 960x540 pixel , 68,507 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,461 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,651 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,751 bytes.

"ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดสงขลา นัดเครือข่ายที่ทำงานด้านข้อมูลมาหารือแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้ไปในทิศทางเดียวกัน เอื้อประโยชน์ในการทำงานกับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู และคนยากลำบากในฐานประชากรข้างต้น

ปัจจุบันในพื้นที่สงขลา มีองค์กรที่เกี่ยวข้องในงานข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย

๑.ด้านบริการสุขภาพ สสจ. มี HDC อันเป็นระบบนำเสนอข้อมูลระดับกระทรวงสาธารณสุขและจังหวัด ต่างกันตรงที่จังหวัดจะมีระดับบุคคลตามพื้นที่รับผิดชอบ มีแอพฯกำลังพัฒนาระบบข้อมูลส่งต่อและการเยี่ยมบ้าน ปี ๖๒ กำลังจะนำร่อง(จัดช่องทางกลางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าข้อมูลขั้นต่ำคือตามรายละเอียดข้อมูล ๔๓ แฟ้ม (สาธารณสุขมีข้อมูลมากกว่า ๑๐๐ แฟ้ม) ปัจจุบันมี ๕ โปรแกรมในระบบบริการ +โปรแกรมที่ต้องคีย์เพื่อรับเงินบริการของสปสช. และกำลังพัฒนาระบบการทำงานลดช่องว่างระหว่างพื้นที่/อำเภอ/จังหวัด

๒.รพ.ประจำจำหวัดบางแห่งมีโปรแกรมข้อมูลเฉพาะของตัวเอง เช่น รพ.สงขลา

๓.โปรแกรม PRM ระบบของรพ.หาดใหญ่ เน้นระบบส่งต่อ การฟื้นฟู เป็นโปรแกรมเฉพาะที่ใช้ในจังหวัดสงขลา นำมาจากศูนย์สิรินธร มีข้อมูลเฉพาะสำหรับหมอ/นักกายภาพระดับรพ.อำเภอเข้าใช้ แต่ไปไม่ถึงระดับรพ.สต.

๔.พมจ.จะมีระบบข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประชากรเป้าหมาย มีSocial map ของพมจ.แยกกลุ่มกลุ่มประชากรที่มีบัตรสวัสดิการตามภารกิจและความต้องการ เป็นระบบปิด เป็นข้อมูลระดับครัวเรือน

๕.www.ข้อมูลชุมชน.com และแอพฯiMed@home ระบบข้อมูลกลางเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู คนยากลำบาก และศูนย์อาสาสร้างสุขนำไปต่อยอดจัดระบบความต้องการส่งต่อให้กับภาคเอกชนมาดำเนินกิจกรรม csr ในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการช่วยเหลือ

หลังจากดูภาพรวมของแต่ละระบบแล้ว ได้ข้อสรุปที่จะกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
๑)รู้เขารู้เรา ทราบข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการ พัฒนาระบบบริการ รักษา ฟื้นฟู ๒)ส่งต่อให้ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางระบบการช่วยเหลือ/คุณภาพชีวิต จำแนกกลุ่ม/ยุทธศาสตร์ตามสภาพปัญหาและความต้องการ จัดทำ Care plan และการประสานภาคีที่เกี่ยวข้อง (พัฒนาเทคนิคการรับรู้/ส่งต่อการช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) โดยลำดับชั้นการเข้าถึงข้อมูล/จำแนกประเภทข้อมูล/การปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
และ๓)การพัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เกิดกับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล

ทั้งนี้หากระดับจังหวัดสามารถผลักดันเชิงนโยบายให้สามารถนำเข้าข้อมูลบุคคลของแต่ละหน่วยงานมาส่งต่อให้กับช่องทางกลางที่จะสร้างขึ้นใหม่เพื่อบูรณาการข้อมูลไปด้วยกัน ก็จะลดความซ้ำซ้อนในภารกิจการบันทึกและทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ระบบนี้สาธารณสุขอาจจะทำได้ เพราะมีระดับปฎิบัติทำงานในพื้นที่ แต่หน่วยงานอื่นๆอาจจะทำไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องดำเนินการพัฒนาระบบการทำงานระดับพื้นที่รองรับคู่ขนานไปด้วยกัน

ในเบื้องต้นจะใช้ระบบข้อมูลกลางและ iMed@home เพิ่มเติมระบบ PRM การส่งต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยเข้าในระบบ ซึ่งมีงานกายอุปกรณ์ การทำ care plan ระบบเยี่ยมบ้านรายบุคคลและกลุ่ม ที่ได้พัฒนาไว้แล้ว และจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศกลางภายใต้งบกองทุนฟื้นฟูฯ รับผิดชอบมาพัฒนาระบบต่อไป

Relate topics