"Songkhla Next Step"

  • photo  , 1366x768 pixel , 99,788 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 128,662 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 79,660 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 103,187 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 134,342 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 109,656 bytes.

"Songkhla Next Step"

ยุคโควิดมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม จะต้องสมดุลกัน ไปด้วยกัน...ประชุมหารือแนวทางการเปิดประเทศรองรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบ Sand Box จังหวัดสงขลา

วันที่ 26 ตุลาคม 2564  กขป.เขต 12 ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 12 ภาคีภาคเอกชนใน Hatyai Sandbox Plus, Dannok sandbox หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัด หารือกับกรมสุขภาพระหว่างประเทศ (สบส.)ถึงแนวทางเปิดจังหวัดรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติโดยเฉพาะมาเลเซีย สิงคโปร์ หลังจากพื้นที่มีความพร้อม หลังเสนอตัวเข้าสู่การพิจารณา

ในเชิงสถิติการท่องเที่ยว สงขลามีรายได้จากการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวอันดับ 7 ของประเทศ มีศักยภาพเพียงพอที่จะเปิด Sandbox ที่ต้องมาพร้อมเงื่อนไขพื้นฐานทั้งมิติความมั่นคงทางสุขภาพ(วัคซีน 70%/ระบบติดตาม/MOUระหว่างโรงแรม โรงพยาบาล มาตรฐาน CHA+ฯลฯ) มิติด้านสังคม(ผ่านประชาพิจารณ์/กรรมการควบคุม) ซึ่งได้ประสานงานกับจังหวัด สสจ.ในเบื้องต้น จัดให้มีกรรมการต่างๆรองรับแล้ว

ทางสบส.ให้พิจาณาว่าสงขลาจะเลือกเข้าสู่เงื่อนไขใด

1)เข้าเงื่อนไข (13) ปัจจุบันรัฐมีนโยบายให้ 46 ประเทศสามารถบินเข้าประเทศไปเที่ยวในทุกจุดผ่านสนามบินหลักนานาชาติ ซึ่งหาดใหญ่ก็เป็นอีกจุดและมีมาเลเซียกับสิงคโปร์อยู่ใน 46 ประเทศ โดยมีมาตรการต่างๆรองรับ ตั้งแต่ 1 พย. เท่ากับบีบให้พื้นที่ต้องเร่งสร้างมาตรการรองรับ กรณีนี้รับเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาทางอากาศ

2)กรณีพรมแดนที่มีด่านใกล้ชิดประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลทั้งสองประเทศจะต้องหารือกำหนดแนวทางของตนเองร่วมกัน สงขลามีด่านนอก มีด่านปาดังฯ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะมีการหารือกันระดับประเทศเพื่อกำหนดนโยบายออกมาในช่วงเวลาอันใกล้ ทางสงขลาโดยเฉพาะด่านนอกพยายามผลักดันเรื่องนี้อยู่ เป็นพื้นที่การท่องเที่ยว 1 วัน

3)เงื่อนไข(12) คือเข้าสู่ Sand box ที่ครอบคลุมการท่องเที่ยวพรมแดน 1 วัน และการท่องเที่ยว 1-14 วัน และอื่นๆ ไปด้วย กรณีนี้จะสามารถเชื่อมโยงจุดที่มีความพร้อม เปิดเป็นพื้นที่เฉพาะ เช่น เกาะ อำเภอ จุดท่องเที่ยวบางจุดที่เข้าสู่มาตรการซึ่งจะต้องกำหนดร่วมกันกับจังหวัด สสจ. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดทำแนวปฎิบัติ SOP มีตัวอย่างในหลายพื้นที่ดำเนินการไปแล้ว สงขลาเสนอพื้นที่อำเภอสะเดา หาดใหญ่ และอำเภอเมือง และสามารถเชื่อมโยงระบบกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น สตูล พัทลุง ตรัง ทั้งมิติสุขภาพ(เตียง รพ. บุคลากร) มิติการท่องเที่ยว ส่งต่อเป็นแพคเกจการท่องเที่ยวร่วมกัน

โดยสรุปเราสามารถดำเนินการทั้ง 2 เงื่อนไขคือ (12) และ(13) ควบคู่กันไป โดยมีมิติด้านสุขภาพเจ้าภาพคือ สสจ.จะต้องมาร่วมวาง SOP และนำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงความพร้อม หรือแนวทางรองรับ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ สามารถดูตัวอย่างจากพื้นที่อื่นๆที่ได้ดำเนินการมาแล้ว ทั้งนี้สามารถดำเนินการคู่ขนานกับการฉีดวัคซีน การลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด เพื่อให้สามารถเปิดเมืองได้ตามเวลาที่เหมาะสม (สงขลาอยู่ในพื้นที่เป้าหมายการเปิดประเทศ 1 ธันวาคม)

ข้อสรุปการประชุม

1)พื้นที่หารือกันเพื่อความเข้าใจร่วมกัน กำหนดแนวทาง กำหนดจุดท่องเที่ยวในแต่ละเฟส

2)หารือกับสสจ.เร่งรัดการทำร่าง SOP ซึ่งครอบคลุมหลายมิติ พร้อมประสานกรรมการแต่ละส่วนร่วมดำเนินการ

3)กขป.เขต 12 ประสานความร่วมมือกับพัทลุง สตูล ตรัง จังหวัดในพื้นที่เขต 12 ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 12 เชื่อมโยงการเปิด Sandbox ร่วมกัน

4)สงขลานัดหมายนำเสนอร่าง SOP ในสัปดาห์หน้า โดยสสจ.เป็นผู้นำเสนอร่วมกับภาคี

5)จัดตั้งกลุ่ม line ประสานการทำงานเฉพาะประสานสบส. เขตสุขภาพที่ 12 กขป.เขต 12 สสจ. จังหวัด ร่วมหารือการทำงาน ส่งต่อข้อมูล คำแนะนำร่วมกัน

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics