ระบบเยี่ยมบ้าน

  • photo  , 960x719 pixel , 96,088 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 90,047 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 86,627 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,769 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,305 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,918 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,700 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,717 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 132,440 bytes.

"ระบบเยี่ยมบ้าน"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

งานข้อมูลควรทำเป็นกระบวนการ ข้อมูลหาใช่แค่เป็น data แยกส่วนกันทำ ระบบที่ดีควรจะเติมเต็มได้ ตรวจสอบได้ มีมุมมองหลายมิติ ใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นที่ตั้ง และเป็นปัจจุบัน

พัฒนาApplication iMed@home มาสักระยะ คุณภาณุมาศ โปรแกรมเมอร์ได้อุดช่องว่างเล็กๆน้อยๆที่เกิด

ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

ระบบทีมจะเป็นคนกำหนด จิตอาสาทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

ไม่สามารถจัดกลุ่ม หรือระบุความต้องการใหม่

เวอร์ชั่นล่าสุดได้ลดทอนปัญหาเหล่านี้ลงได้แล้ว

ขอเพียงติดตั้งแอพฯและสมัครสมาชิกให้แล้วเสร็จ

๑)ลำดับแรกเมื่อลงไปเยี่ยมบ้านให้ค้นหาชื่อกลุ่มเปราะบาง หากมีในระบบจะปรากฏชื่อให้เลือกทันที หากไม่มีปรากฏให้เพิ่มเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ในการณ์นี้ข้อมูลที่ปรากฏจะเห็นแค่ชื่อ นามสกุล ไม่เห็นรายละเอียดส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ คนเพิ่มผู้ป่วยจะสามารถเก็บข้อมูลและมองเห็นข้อมูลของบุคคลนั้นโดยอัตโนมัติ แต่จะไม่เห็นข้อมูลของคนอื่นในระบบ
๒) ผู้ใช้จะเป็นใครก็ได้ ด้วยการเยี่ยมบ้านอาจจะมีหน่วยงานในและนอกพื้นที่ลงไปดำเนินการ หรือจิตอาสา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทีมงานในพื้นที่ก็ได้

๓)ระบบคัดกรองทีมพื้นที่จะมี Admin อย่างน้อย ๓ คนจะมองเห็นข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะมาจากสมาชิกท่านใดบันทึก
๔)ควรจัดระบบกลุ่มในการทำงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการ โดยมีการกำหนดแนวทางของพื้นที่ จัดกลุ่มการทำงาน แล้วมีห้วหน้าทีมจัดตั้งกลุ่มของตน ระบบเยี่ยมบ้านมีเมนูให้สามารถจัดตั้งกลุ่ม ดึงสมาชิกในกลุ่มที่มาจากหลายภาคส่วนเข้ามาในกลุ่ม และแต่ละคนดึงสมาชิกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในเป้าหมายของกลุ่มเข้ามา ทุกคนในกลุ่มจะมองเห็นข้อมูลในกลุ่มของตนทุกคน

ต่อไปจะพัฒนาให้สามารถวัดคุณภาพชีวิตรายบุคคลให้ได้ เพื่อจะบอกผลสำเร็จในการทำงานร่วมกัน

Relate topics