ติดตามเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฎิบัติการภายใต้โครงการ "การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยโดยศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน"

  • photo  , 1000x563 pixel , 163,731 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 155,005 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 153,703 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 165,627 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 174,915 bytes.
  • photo  , 1000x469 pixel , 132,145 bytes.
  • photo  , 1000x469 pixel , 137,012 bytes.
  • photo  , 1000x469 pixel , 125,660 bytes.

วันพุธที่ 20  กรกฎาคม 2565

สำนักเลขานุการยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมกับเจ้าที่สำนักงานภาคและคณะทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนภาคใต้ ณ ศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชน บูนาดารา ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

ในการลงพื้นที่ติดตามเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฎิบัติการ ศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้โครงการ "การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยโดยศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน"

โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 45 คน ทั้งในส่วนของภาควิชาการจากมหาวิทยาลัย และท้องถิ่น  กลุ่มชมรมต่างๆ ที่คอยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน อาทิเช่น

-การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.)

-วิทยาลัยชุมชน (วชช.)

-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานี) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-สำนักงานป่าชายเลน ที่ 10

-พัฒนาชุมชนอำเภอ

-ปลัด องค์การบริหารส่วนตำบล ตะโละกาโป

-สภาองค์กรชุมชน

-มูลนิธิคนช่วยฅน

-ภาคประชาสังคมชายแดนใต้

-ต.จะรัง กลุ่มวิสาหกิจ ตาลโตนด

-ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด

-กลุ่มเรือ กลุ่มปาเต้ะ กลุ่มเพ้นท์ร่ม กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ขนมพื้นบ้าน อาหารทะเล
โดยเนื้อหาในเวทีมีดังนี้

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา บูนาดารา มีวิธีการดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วม มีการเชื่อมโยงการดำเนินงาน ระหว่างคนในชุมชนและภาคีทุกภาคส่วน โดยคำนึงถึงพื้นฐานความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเป็นที่ตั้ง ผ่านการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบาง เบื้องต้นมีกลุ่มนำล่อง จำนวน 30 ครัวเรือน ที่เข้ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้ จากกระบวนการด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

โดยภาพรวมการบริหารจัดการทั้งหมดจากรายได้จากการท่องเที่ยว ทางเครื่อข่ายมีการจัดสรรค์งบประมาณ จำนวน 10 % ไปสู่การสร้างสวัสดิการให้กับคนในกลุ่ม ในการดูแลคนทำงาน สนับสนุนเด็กผู้ด้อยโอกาส และกิจกรรมทางศาสนาให้กับคนในชุมชน เพื่อร่วมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์เห็นประโยชน์คุณค่า ของทรัพยากร และในช่วงท้ายของเวทีได้มีการพูดคุยถึงทิศทางการวางแผน ที่จะจัดการเวิร์คชอป การพัฒนาประเด็นย่อยร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น รพสต. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน และ วชช. เพื่อการพัฒนาเชิงประเด็นในการต่อยอด และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชนต่อไป


ขอบคุณข้อมูลจาก สุดาภรณ์ ปัจฉิมเพ็ชร

Relate topics