"ถอดบทเรียนการรับมือโควิด-19 อำเภอละงู"

  • photo  , 1706x960 pixel , 99,232 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 118,153 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 110,867 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 98,468 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 103,070 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 106,851 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 189,912 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 125,698 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 108,539 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 115,015 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 95,815 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 109,751 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 116,587 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 107,814 bytes.

"ถอดบทเรียนการรับมือโควิด-19 อำเภอละงู"

วันที่  21 กรกฏาคม 2565 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอละงู(พชอ.) สมัชชาสุขภาพจังหวัดสตูล และคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขต12 ร่วมกับสสจ.สตูลและภาคีเครือข่าย ประสานตัวแทนภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ถอดบทเรียนการรับมือโควิด-19 ของอำเภอละงู เพื่อนำไปใช้รองรับปัญหาอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมประสานเครือข่าย ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลกำแพง จังหวัดสตูล

นพ.ปวิตร วณิชชานนท์ ผอ.โรงพยาบาลละงู กล่าวถึงการรับมือภัยพิบัติที่เป็นวิกฤตอันยาวนานนี้ว่า จะต้องดำเนินการ 4 ด้านด้วยกัน กล่าวคือ

1)การเตรียมสถานที่ อาทิ จุดตรวจ รพ.สนาม HI,CI,OPSI ห้องความดันลบ ฯลฯ หากเตรียมรองรับได้ดีจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ลดความตื่นตระหนกของประชาชน

2)การเตรียมความพร้อมบุคลากร ทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข อปท. ท้องที่ เป็นต้น มาช่วยกันแยกคน/แยกโรค นำไปสู่การดูแลรักษา ทำให้หน่วยงานอื่นเกิดการเรียนรู้งานสาธารณสุขกันหน้างาน

3)ระบบสนับสนุน ได้แก่ อุปกรณ์ ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึงขยะติดเชื้อ เหล่านี้ต้องใช้อย่างมีความรู้

4)การบริหารจัดการ ซึ่งจะต้องตัดสินใจบนพื้นฐานสถานการณ์เฉพาะหน้า ลดผลกระทบและไม่ให้กระทบกับภาระงบประมาณ มีตั้งแต่ในห้องแลป งานระบาดวิทยา การระดมทุน/รับบริจาคไปถึงการเชื่อมโยงกลไกภาคส่วนทุกระดับ การจ่ายยาการติดตามผู้ป่วย การสื่อสารเพื่อลดความตื่นกลัวและสร้างขวัญกำลังใจ สร้างเอกภาพการปฏิบัติ


นายอริญชัย หลงหา รพ.สต.ทุ่งไหม้ กล่าวถึงความเข้มแข็งของระบบปฐมภูมิที่จะช่วยเป็นด่านหน้าให้กับรพ.อำเภอ เริ่มด้วยการหาจุดเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยงจากแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมทางศาสนา นอกจากแยกคนแยกโรคแล้วต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มีการสื่อสารสองทางกับอสม.หรือกรรมการหมู่บ้าน พร้อมกับให้การบริการรักษา ดูแลผู้ป่วย


นางวราภรณ์ ประพรม รองนายกเทศมนตรีทต.กำแพง กล่าวถึงรูปแบบคณะทำงานสหวิชาชีพที่จะต้องถักทอเป็นเครือข่ายกับภาคส่วนต่างๆมาช่วยกัน เพื่อลดความเครียดความกลัวของประชาชน พร้อมลงเยี่ยมบ้าน จัดเวทีหารือ วางแผน มีทีมสอดส่องดูแลเฝ้าระวัง ส่วนงานเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขให้เรียนรู้หน้างาน


นางนิชนันทร์ เสมสันต์ อสม.ได้กล่าวถึงบทบาทของอสม.ที่จะต้องดูแลตัวเองให้ได้ก่อนที่จะลงไปช่วยคนอื่น ด้วยการเคาะประตูบ้าน คัดกรองโรค ส่งต่อ ติดตามผล ต้องการให้พัฒนาศักยภาพอสม.และสนับสนุนเครื่องมือในการทำงานมากขึ้น


บริบทของละงู มีทั้งเขาป่า นา เล เมือง โรงเรียน โรงงาน มีทั้งพุทธ มุสลิม จุดเด่นก็คือ การทำงานสนับสนุนจากรพ.ละงูและอำเภอ ในการประเมินสถานการณ์ อำนวยการ เชื่อมประสาน มีการทำงานเป็นทีม มีหลายพื้นที่รับมือได้ดี เช่น เกาะบุโหลน โรงเรียนละงูพิทยาคม อบต.ละงู พื้นที่แหลมสน  บ้านบ่อเจ็ดลูก เป็นต้น

จุดที่ควรปรับให้ดีขึ้น ได้แก่ งานข้อมูลเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ ไม่เชื่อมโยงกัน ระบบล่ม เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอเพราะต้องจัดการปัญหาเฉพาะหน้า แนวปฎิบัติจากนโยบายที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา การสื่อสารทางสังคมในสถานการณ์วิกฤต การสื่อสารไปยังกลุ่มเปราะบาง นอกจากนั้นก็มีแนวปฎิบัติทางการเงิน/งบประมาณในภาวะวิกฤต เป็นต้น เหล่านี้แก้ได้ด้วยการกระจายอำนาจการตัดสินใจ และกลไกการทำงานร่วมกันระดับพื้นที่

วิกฤตจากสาธารณภัยเป็นเรื่องของทุกคน ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ข้ามพื้นที่ ข้ามองค์กร ข้ามอาชีพ การเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายมีทิศทางเดียวกัน เสริมหนุนกันและกัน เป็นปัจจัยความสำเร็จสำคัญ นอกเหนือจากภาวะผู้นำ การที่มีเจ้าที่มีจิตวิญญาณบริการสาธารณะ มีจิตอาสามาช่วยงาน มีความร่วมมือ มีการสื่อสาร

พื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีของเครือข่ายจะเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่สำคัญ สถานการณ์การติดเชื้อยังไม่สิ้นสุด ทุกคนย้ำว่ายังไม่ควรประมาท การ์ดอย่าตก

Relate topics