"เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เขต ๑๒"

  • photo  , 960x540 pixel , 38,946 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,336 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 37,591 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,682 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,315 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,609 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,699 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 74,564 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 69,295 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 49,347 bytes.
  • photo  , 960x960 pixel , 66,910 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 84,553 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 108,000 bytes.
  • photo  , 1317x640 pixel , 105,305 bytes.

"เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เขต ๑๒"

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒  นอกจากพิจารณาแผนปฎิบัติการ ๒ ปีที่คณะทำงานได้ร่วมยกร่างมาแล้ว อนุกรรมการประเด็นเกษตรและอาหารสุขภาพ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ยังร่วมกันให้ข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนงานในภาพรวม

๑.ความก้าวหน้าของงานในส่วนเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้ ตอนนี้งานข้อมูลพันธุกรรมพื้นบ้าน มีแบบฟอร์มเก็บข้อมูลแล้ว การผลักดันนโยบายในการเลิกใช้สารเคมีอันตราย ๓ ชนิด กระทรวงตอบแล้วว่าได้มีการกำหนดวิธีการใช้ มีกติกาควบคุม คนใช้จะต้องผ่านการอบรม พร้อมระบุพื้นที่ใช้และห้ามใช้สารเคมี ช่วยให้ชะลอการใช้สารเคมีดังกล่าวลงได้ระดับหนึ่ง

๒.ข้อเสนอแนะอื่นๆ
๒.๑ การส่งเสริมเกษตรสุขภาพ ควรรวมสวนปาล์ม ประมงอินทรีย์ งานด้านตลาดอาหารสุขภาพควรเรียนรู้กฏหมายวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ออกใหม่ การผลิตกัญชาเพื่อการค้า การรักษาโรคให้อยู่ในชุดพันธุกรรม

๒.๒ เรียนรู้การทำงานของสมาคมสร้างสุขชุมชนคนเมืองลุง : ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๕๓ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ขับเคลื่อนงานอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร โจทย์ก็คือจะทำให้ชุมชนผลิตอาหารเพิ่มขึ้นได้อย่างไร พัทลุงได้สร้างการเรียนรู้ สร้างกติกาชุมชน/ธรรมนูญสุขภาพตำบล(ทต.ร่มเมือง-ข้าวไร่/นาท่อม-อาหารปลอดภัย) สร้างเครือข่าย ข้าว นา ผลักดันไปสู่นโยบายจังหวัด เกิดการรวมตัวเป็นสมาคม อาศัยรูปธรรมในการผลักดันนโยบาย

-สวนยางยั่งยืน ได้เพิ่มความหลากหลายในสวนยาง เปลี่ยนสวนยางเป็นป่ายาง สร้างรูปธรรม ๓ รูปแบบ ได้แก่สวนสมรม พืชเศรษฐกิจ ไม้ดอกไม้ประดับ และผลักดันนโยบาย กำลังจะผลิตสื่อ และnode flagshipจะขยายพื้นที่โครงการเพิ่ม

-พันธุกรรมพื้นบ้าน ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าว กลุ่มนาอินทรีย์พัทลุง วิทยาลัยรวงข้าว จากการทำข้อมูลนาข้าวกว่าแสนไร่ แต่พบทำนาอินทรีย์เพียง ๑.๘ พันไร่(รายย่อย) ในเรื่องนี้หากให้ได้ผลจริงเสนอให้ตั้งตัวชี้วัดร่วมกันกับภาครัฐเพื่อเพิ่มปริมาณพื้นที่การผลิตแบบอินทรีย์ ควรมีระบบพักน้ำเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพน้ำจากการปนเปื้อนสารเคมีในสวนยางของต้นน้ำ(บริบทภาคใต้ตอนกลางมีเทือกเขาสูงอยู่กึ่งกลาง ทำให้ประสบปัญหาไม่ต่างกัน) ปัจจุบันกำลังจัดตั้งสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์พัทลุงมาสร้างมาตรฐานของเครือข่าย

-เกษตรสุขภาพมีการผลิตในพื้นที่แล้ว๔๐-๕๐ ชุมชน ส่วนที่เหลือระบายไปสู่ตลาดชุมชน เสนอสร้างเครือข่ายของเขตจับมือในการผลักนโยบาย

-ร่วมกับสกว.มีงานวิจัยออกมา ๕ ชุด ต้องการย่อยความรู้ออกมาสู่สาธารณะ

-มีแผนจะร่วมกับสช.ประเมินเชิงยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด

-มีแผนการตลาดนำ ชวนเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ๑๗๐ คน สร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต

๒.๓ YSF สงขลามีการตลาดระดับโซน แลกเปลี่ยนผลผลิต ใช้ตลาดนำการผลิต สมาชิกแต่ละคนทำระบบข้อมูลเพื่อดูผลผลิตที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเพื่อหาทางช่วย มีระบบฝากขาย คิดแบบพึ่งตนเอง

๒.๔ อุปสรรคการผลิต: รูปแบบเกษตรอินทรีย์ในภาคใต้ยังทำให้เกษตรกรที่ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยมีภาระกรณีที่ต้องการมาตรฐาน ขณะเดียวกันยังขาดตลาดหรือราคาหรือระบบขนส่งที่ชัดเจนรองรับ ยังมีพฤติกรรมเลียนแบบผลิตตามกระแส ขาดระบบจัดการแบบแปลง(น้ำ/ดิน/คน/ปุ๋ย/พื้นที่) เสนอให้สร้างมาตรฐานกลางร่วมระดับจังหวัด สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมี/อินทรีย์ ร่วมกันกับเครือข่ายในพื้นที่ผลักดันเชิงนโยบายให้เกษตรกรที่ผลิตแบบใช้ปุ๋ยเคมีทำแนวกันชนแทน ในลักษณะผู้สร้างปัญหาเป็นผู้แก้ปัญหาโดยกขป.จะช่วยประสานงานกับฝ่ายนโยบายหรือข้าราชการประจำให้ลงมาพบกับเครือข่าย

-ปัญหาในอนาคตสวนยางหรือปาล์มที่มีพื้นที่พันไร่จะหาคนกรีดยางยากด้วยขาดแรงงาน พม่ามีแนวโน้มจะกลับบ้านหลังประเทศได้รับการพัฒนา

-ควรคิดต้นทุนการผลิตและกำไรที่ควรจะได้รับในแบบสากล คือต้นทุนการผลิต + ๓๐%ของกำไร

-แต่ละเครือข่ายสร้างผู้ประกอบการของตัวเอง ให้ความสำคัญกับการสร้างผู้ประกอบการ(รายย่อยแต่รวมกลุ่มกัน) มีระบบมาตรฐานกลางเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค หรือมีใช้การท่องเที่ยวหรือการดูงานนำผู้บริโภคลงไปเยี่ยมหรือซื้อถึงแปลงสร้างความมั่นใจ

๒.๕ กขป.ร่วมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตระดับภาค ในเรื่องข้าว ผลไม้ การตลาด ฯลฯ ด้วยการสนับสนุนเครือข่ายการผลิตที่มีศักยภาพเป็นแม่ข่าย สร้างแบรนด์กลางและมาตรฐานกลางร่วมกัน(PGS เช่น การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมชุมชน ฯลฯ) แต่ละจังหวัดหาลูกข่ายที่สนใจและสมัครใจเข้าร่วม โดยมีแบรนด์ของตัวเองเพื่อให้รู้ที่มา ทำแผนการผลิต และแผนการตลาดร่วมกับผู้บริโภค ผู้สนับสนุนในรูปแบบทั้งส่งตลาดในประเทศ หรือตลาดชุมชน ตลาดเขียว หรือผูกปิ่นโต โดยคำนึงถึงปริมาณผลผลิตที่ได้แต่ละช่วงเวลาการผลิต...แก้ปัญหาของระบบคือมาตรฐานของเกษตรอินทรีย์ที่รับมาใช้กับเกษตรกร ซึ่งเน้นการส่งออก แต่การผลิตของเกษตรกรในภาคใต้ยังไม่มีมากพอและต่อเนื่อง

๒.๖ จุดเน้นความสำเร็จอยู่ที่การสร้างผู้ประกอบการ บนฐานการเรียนรู้การปฎิบัติ ร่วมกับธกส.และภาคส่วนอื่นๆที่ปัจจุบันมีนโยบายสนับสนุน แต่ยังมีอุปสรรคในเรื่องข้อมูลพื้นฐานของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่จะมาทำแผนงานโครงการร่วมกัน ด้วยระบบงบประมาณและแผนงานโครงการที่มาแบบเร่งด่วน ไฟไหม้ฟาง ทำให้เครือข่ายที่มีศักยภาพแต่เป็นรายย่อยกระจัดกระจายกันอยู่ไม่สามารถนำเข้าระบบสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ และการคัดกรองหาเกษตรกรที่สนใจจริง (ธกส.ปัจจุบันปรับวิธีการให้สินเชื่อ โดยมีเงื่อนไขให้เกษตรกรพึ่งตนเอง พิสูจน์ตัวเองก่อนจึงจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ)

๒.๗ สรุปบทบาทของอนุกรรมการประเด็น...สร้างเครือข่ายจากระดับบุคคลหรือกลุ่ม/ชมรม/เครือข่ายย่อยแต่ละระดับ มีปฎิบัติการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และแผนปฎิบัติการตามศักยภาพ

กระบวนการทำงานยังคู่ขนานระหว่างการปรับกระบวนทัศน์หรือทัศนะการทำงานของแต่ละหน่วยงานองค์กรที่มีหลากหลาย แตกต่างให้เห็นทิศทางร่วม และสามารถประสานการทำงานไปด้วยกันทั้งแบบร่วมกันทำหรือแยกกันทำ ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมให้แจ้งอนุกรรมการในพื้นที่หรือผู้สนใจเข้าร่วม

ครั้งต่อไปจะนำแผนปฎิบัติการเสนอกขป.พิจารณาเติมเต็ม ๒๕ มิถุนายนนี้ จัดเวทีร่วมกับงานสร้างสุขภาคประเด็นสวนยางยั่งยืน และนัดประชุมจัดการความรู้ตลาดอาหารสุขภาพในพื้นที่เขต ๑๒ ที่จ.สตูล วันที่ ๔ กรกฏาคม ๒๕๖๒

Relate topics