เดินหน้ากองทุนวากัฟฯ​ หลังโควิด-19​ คลี่คลาย กองทุนเพื่อการศึกษาสู่สันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม

  • photo  , 960x719 pixel , 67,595 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 94,856 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 92,211 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 90,059 bytes.

เดินหน้ากองทุนวากัฟฯ​ หลังโควิด-19​ คลี่คลาย

คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย​ (กอท.)​ มีมติจัดตั้งกองทุนวากัฟและบริจาคเพื่อการศึกษาสู่สันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม​ เมื่อเดือนมกราคม​ ปีนี้​ แต่หลังจากนั้นก็ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้​มากนัก​ อันเป็นผลจากการล้อคดาวน์ประเทศ ครั้นมีการคลายล้อค​ การเดินหน้าก็เริ่มขึ้น

วันที่ 1 กรกฎาคม 2563  จัดการประชุมกับองค์กรต่าง​ ๆ​ ซึ่งมี​ กอจ.​นราธิวาส​ เป็นแม่งานใหญ่​  รวมประมาณ​ 15​ องค์กร​ ที่​สนง.กอจ.​นราธิวาส​ เป็นการประชุมครั้งแรกของกองทุนวากัฟ​ ฯ​ กับองค์กรในพื้นที่​ซึ่งทำงานทั้งด้านส่งเสริมการศึกษา​ การดูแลเด็กและสตรี​ การสนับสนุนกลุ่มเปราะบาง​ และการจัดการมัสยิด ทำให้ได้รับรู้ความต้องการขององค์กรดังกล่าวและแนวทางความร่วมมือระหว่างกองทุนวากัฟ​ ฯ​ ของ​ กอท.กับองค์กรในพื้นที่​ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.มัสยิดหลายแห่งในนราธิวาสมีกองทุนของตนเองและมีเงินจำนวนมาก​ บางแห่งมากกว่าล้านบาท​ แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้เงินดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมชุมชน องค์กรเหล่านี้ต้องการให้กองทุนวากัฟ​ ฯ​ ช่วยสนับสนุนองค์ความรู้มากกว่าการสนับสนุนตัวเงิน

2.สถาบันการศึกษา​ เช่น​ มนร.​ ประสบปัญหา​ นศ.หลายคนมีฐานะยากจน​ ไม่สามารถเรียนจนจบได้​ คณาจารย์ต้องลงขันกันช่วยเหลือเพื่อให้เรียนต่อ กรณีนี้​ กองทุนวากัฟ​ฯ​อาจประสานงานกับชมรม​ นศ.​และกลุ่มอาจารย์จัดกิจกรรมเพื่อหารายได้เป็นทุนการศึกษาแก่​ นศ.​ โดยกองทุนออกเงินเพื่อทำทุนในการจัดกิจกรรม กรณีนี้ยิงปืนนัดเดียวอาจได้นกหลายตัว​ กล่าวคือ​ ในการจัดกิจกรรมหาทุนการศึกษา​ เราอาจจัดกิจกรรมอื่นตามนโยบายของกองทุนร่วมด้วย​ เช่น​ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน​ และสัมมนาเรื่องการบริหารกองทุน​ เป็นต้น

3.องค์กรมุนา​ ซึ่งเป็นองค์กรด้านเด็กและสตรี​ และกองทุนเจียรไนเพชรของ​ นพ.แวมาฮาดี​ มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมบทบาทของกองทุนวากัฟ​ ฯ

ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ รายงาน

Relate topics