ภูมิคุ้มกันทางใจสู้ทุกภัยในชุมชน"

  • photo  , 1000x486 pixel , 98,346 bytes.
  • photo  , 1835x892 pixel , 169,454 bytes.
  • photo  , 1835x892 pixel , 199,268 bytes.
  • photo  , 1000x486 pixel , 96,149 bytes.
  • photo  , 1000x486 pixel , 98,659 bytes.
  • photo  , 1835x892 pixel , 180,196 bytes.

"ภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชน"

ดร.นพ.นพพร  ตันติรังสี ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 ได้กล่าวต้อนรับ อาสาสมัครผู้รับการวิจัยโดยสมัครใจและอิสระจากชุมชนแหลมสนอ่อนและตัวแทนจากชุมชนเครือข่าย รวมจำนวน  17 รายในโครงการวิจัย "การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019( COVID - 19) : บทเรียนประเทศไทย

ในการนี้ได้มีบุคลากร 2 ท่านจากศูนย์คุ้มครองคนไร้ทึ่พึ่งจังหวัดสงขลา ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ด้วย โดยได้บอกเล่าถึงวิธิการการรับมือกับคนที่ต้องการหาที่พึ่งทึ่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วมากในระยะแรกที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งต่อมาได้เกิดกิจกรรมการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้แก่กลุ่มผู้เข้ารับบริการของศูนย์ฯ  ด้วยกิจกรรม"แปลงบุญโควิด"  ซึ่งเป็นการร่วมกันปลูกผักในพื้นทึ่ว่างบริเวณศูนย์ฯ ผลผลิตที่ได้เป็นผักบุ้งประมาณ 100 กิโลกรัมต่อรอบการผลิต ซึ่งมีการแบ่งผลผลิตออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนทึ่ 1 ใช้บริโภคเอง ส่วนที่ 2 นำไปบริจาคให้กับครัวชุมชนแหลมสนอ่อน  สนับสนุนภารกิจ " ปิ่นโตตุ้มตุ้ย"  รวมถึงชุมชนแออัดในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ และส่วนทึ่ 3  นำไปจำหน่ายเพื่อเก็บออมไว้เป็นเงินค่าเดินทางกลับภูมิลำเนาหลังจากรัฐบาลมีนโยบายผ่อนปรนแล้ว

อาสาสมัครจากชุมชนแหลมสนอ่อนได้ร่วมกันสะท้อนความรู้สึกในระยะแรกที่มีการแพร่ระบาด จนสามารถปรับตัวและปรับใจยอมรับสถานการณ์ในเวลาอันรวดเร็วได้ว่า เป็นผลสืบเนื่องมาจากชุมชนได้มีกิจกรรมหิ้วปิ่นโตทานอาหารมื้อเทึ่ยงร่วมกันทุกวันที่ 9 ของเดือนมาก่อนแล้วนอกจากนี้หลายครัวเรือนได้มีการปลูกผักกินเองและแบ่งปันรวมถึงการผลิตของใชัในครัวเรือนมาอย่างต่อเนื่องก่อนการเกิดสถานการณ์นี้  ดังนั้นจึงข่วยกันคิดและมึความเห็นพ้องกันว่าจะต้องรวมตัวกันนำทักษะการใช้ชีวิตและประสบการณ์ที่มีกันอยู่แล้วนั้นมาสร้างพลังกายและพลังใจร่วมกันพลิกวิกฤติทึ่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนี้ให้เป็นโอกาสทึ่ดีของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้ได้ โดยการจัดตั้งครัวชุมชนแหลมสนอ่อนและชุมชนเครือข่าย รวม 6 ครัว 6 ชุมชนเพื่อปฎิบัติภารกิจการบริจาคอาหารร่วมกันในชื่อของภารกิจ " ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" เพื่อเป็นรูปแบบของการบริจาคอาหารที่ทุกชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 สามารถเข้าถึงได้ทันทีทันต่อความต้องการและอย่างทั่วถึง ด้วยวิธีการที่มีระบบ ไม่ซับซ้อนและปลอดภัยตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด

ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนก็ได้ให้การสนับสนุนโดยทันทึทันต่อสถานการณ์เข่นกัน  อาทิ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสงขลา  พัฒนาการจังหวัดสงขลา นายปวัน  พรหมพิทักษ์  ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 มูลนิธิวิสุทธิคุณ หาดใหญ่  สภาผู้สูงอายุสงขลาโดยนางเสาวนึย์ ประทีปทอง  มูลนิธิชุมชนสงขลา สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นอกจากนี้ยังกลุ่มบุคคลและผู้มีจิตศรัทธาในภารกิจดังกล่าวอีกหลายรายที่มิอาจจะเอ่ยนามได้ทั้งหมดในทึ่นี้ ได้ร่วมกันสร้างพลังจนก่อให้เกิดการรับรู้ในสังคมเมืองบ่อยางในวงกว้างว่า ทุกคนทึ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในครั้งนี้ ได้มีที่พึ่งทางด้านอาหารและที่พึ่งทางใจทึ่ดึเกิดขึ้นแล้ว โดยมึ "ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง" ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานภาคประชาชนที่ชัดเจน ตั้งอยู่ในชุมชนแหลมสนอ่อนและมีทึ่ตั้งที่เดียวกันกับครัวชุมชนแหลมสนอ่อน ทุกคนสามารถที่จะเดินเข้ามาบอกกล่าวถึงความเดือดร้อนทึ่ตนเองได้รับได้โดยทันทึ

อาสาสมัครรายหนึ่งเล่าอย่างภาคภูมิใจว่า "การเป็นแม่ครัวชุมชนลดความเครียดของตนเองได้จนหายไปเลยเพราะปลื้มใจที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทุกๆวันตัวเองจะมึใจจดจ่ออยู่กับทีมแม่ครัวด้วยกันและต่างก็หมกมุ่นกับการคิดเมนูอาหารของปิ่นโตตุ้มตุ้ยในวันรุ่งขึ้นด้วยมึวัตถุดิบที่จำกัดแต่ต้องบริหารจัดการให้ทุกคนได้กินอิ่ม  การทำงานร่วมกันและการมึเพืีอนมีทีมทึ่เสมือนร่วมชะตากรรมเดียวกันนั้น ทำให้ตนเองอุ่นใจว่ามึเพื่อนจึงไม่เกิดความตระหนกในสถานการณ์การแพร่ระบาดแต่อย่างใด  อีกทั้งการเป็นผู้ให้ทำให้ลืมเหตุการณ์ที่ไม่ดีและใช้ชีวิตเป็นปกติสุขได้แม้จะอยู่ในช่วงคับขัน"

ในส่วนของอาสาสมัครที่มาจากชุมชนเครือข่าย ได้บอกเล่าขัอมูลในส่วนของผู้ทึ่ได้รับความช่วยเหลือว่า " ระยะแรกๆก็มีความรู้สึกกลัวและเครียดมากเนื่องจากมีฐานะยากจนอยู่แล้ว และคาดว่าครอบครัวของตนซึ่งมึคนพิการและเด็กทึ่ต้องดูแลรับผิดชอบคงจะอดอาหาร ไม่ตายเพราะติดเชื้อโควิดหรอกแต่คงจะตายเพราะอดอาหารกันมากกว่า  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระยะนั้นมึแต่ความสับสน ตระหนกและว้าวุ่นกับข่าวสารที่ถาโถมเข้ามาจากหลายช่องทางจนยากที่จะแยกออกว่าส่วนใดเป็นข่าวจริงส่วนใดเป็นข่าวลวง จนในทึ่สุดเมื่อความช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคส่วนต่างๆมาถึง จึงได้มีความรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น และเมื่อได้รับบริจาคอาหารจากครัวชุมชนทึ่ตั้งอยู่ในชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่  ภารกิจ "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" จึงถูกยึดเป็นที่พึ่งหลักทั้งด้านอาหารและด้านจิตใจ จนเมื่อศูนย์สุขภาพจิดที่ 12 ลงพื้นที่ที่ครัวชุมชนแหลมสนอ่อนมาพบปะพูดคุยอย่างใกล้ชิด(ที่เว้นระยะห่างตามมาตรการการป้องกัน)  อีกทั้งได้รับมอบ " กระจกวัดใจ" พร้อมแผ่นพับให้ถือกลับบ้าน จึงเกิดการรับรู้ว่า ยังมีหน่วยงานภาครัฐอีกหน่วยหนึ่งที่ตัวเองและเพื่อนๆสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้เมื่อขีวิตไม่มึทางออก โดยเฉพาะเมื่อส่องกระจกวัดใจแล้วจึงได้เห็นภาพของตัวองในกระจกที่สะท้อนออกมาว่า "วันนี้หน้าเครียด" ก็เริ่มคิดได้ว่าจะต้องหาทางลดความเครียดลงเสียบ้างแล้ว มาถึงวันนี้ความเครียดลดลงมาก แม้จะยังไม่มึงานทำก็ตาม "
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะ 3 เดือนทึ่ผ่านมา อาสาสมัครส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า เปรียบเสมือนคลื่นลูกใหญ่ที่เกิดขึ้นแบบไม่มีการคาดคิดมาก่อน ไมทันได้ตั้งตัว ระยะแรกๆจึงมีแต่ความกลัว เครียด วิตกกังวล และความว้าวุ่นใจ และเมื่อต้องเพิ่มการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่เข้ามาอีก การตั้งรับจึงไม่ดีพอ แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มเคลื่อนตัวผ่านไป สิ่งทึ่ผ่านเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าวจึงกลายเป็นประสบการณ์และทักษะการเรียนรู้ รวมถึงทักษะการรับมือทึ่ดีขึ้น ความรู้สึกก็เริ่มมีการผ่อนคลายมากขึ้นและต่างก็มีความมั่นใจว่า หากจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เกิดขึ้นมาอีกในระลอกใหม่ ทุกคนพร้อมที่จะรับมือและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ตามสภาพแห่งสถานการณ์ทึ่เกิดขึ้น ต่างมั่นใจในความแข็งแกร่งทึ่เกิดขึ้นจากการมึประสบการณ์จริงกที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในหลายๆด้านนับตั้งแต่การดูแลตัวเอง การดูแลครอบครัวตลอดถึงการดูแลชุมชนให้เป็นปกติสุขได้


ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสงขลา

ชุมชนแหลมสนอ่อน  ตำบลบ่อยาง สงขลา

บุณย์บังอร ชนะโชติ  รายงาน

10 กรกฏาคม 63

Relate topics