ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ครั้งที่ ๑

  • photo  , 1560x1170 pixel , 130,513 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 54,013 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,192 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,310 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 63,455 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,489 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,859 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 59,403 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 69,818 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 74,687 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,131 bytes.
  • photo  , 306x408 pixel , 15,373 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,214 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,214 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 62,778 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 189,624 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 176,391 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 153,990 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 111,359 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 152,567 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 149,771 bytes.

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ครั้งที่ ๑

ผู้เข้าร่วมมีทั้งผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา/เจ้าคณะตำบล แกนนำจิตอาสา ประธานอพม. อสม. ปลัดอำเภอ โรงเรียน งานนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ พชอ.ควนขนุนกับกขป.เขต ๑๒และทต.โตนดด้วน ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม(คนพิการ ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง คนเร่ร่อน เด็กกำพร้า/เด็กที่ครอบครัวหย่าร้าง ผู้ป่วยติดเตียง คนยากจน ฯลฯ)

กำนันในฐานะประธานคณะทำงาน บอกว่า ต.โตนดด้วน มีพื้นฐานการทำงานร่วมกัน บ้าน วัด โรงเรียน การพัฒนาวัตถุมีมาก แต่การพัฒนาคุณภาพชีวิตยังทำได้ยาก หากทำได้จะช่วยให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และสะท้อนศักยภาพของพื้นที่

ภาคเช้าได้ข้อสรุปดำเนินการดังนี้

๑.จัดทำแบบฟอร์ม ประกอบด้วย

๑)ข้อมูลพื้นฐาน ระบุชื่อกลุ่มเป้าหมายจำแนกตามกลุ่มวัย ๑.แรกเกิด-ป.๖ ๒.ม.๑-ม.๖ ๓.วัยแรงงาน ๔.วัยชรา(๖๐ ปีขึ้นไป) พร้อมหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา

๒)ลำดับความสำคัญของบุคคลที่จะช่วยเหลือเร่งด่วนและแนวทางแก้ปัญหา

๒.ท้องถิ่นประสานกรรมการหมู่บ้าน ส่งข้อมูลตามแบบฟอร์ม ๑) และ ๒) ส่งกลับท้องถิ่นไม่เกิน ๑๐ สิงหาคม

๓.ส่งรายชื่อเป้าหมายทั้งหมดให้กับทีมเยี่ยมบ้าน ลงเยี่ยมบ้านบันทึกข้อมูลผ่าน iMed@home ภายในสิงหาคม

๔.คืนข้อมูลพร้อมนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาจากแต่ละหมู่บ้านจัดทำแผนฯระดับตำบล เดือนกันยายน

ภาคบ่าย ฝึกปฎิบัติการใช้ระบบเยี่ยมบ้านของแอพ iMed@home และการเก็บข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟน/แบบสอบถามให้กับทีมเยี่ยมบ้าน ซึ่งจะนำไปขยายผลกับ CG และจิตอาสาอื่นๆ รวมถึงจัดตั้ง Admin ของตำบลให้สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลในภาพรวม

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics