ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐

  • photo  , 1000x667 pixel , 102,788 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 110,135 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 124,851 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 121,077 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 138,596 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 126,124 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 135,504 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 151,669 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 157,367 bytes.

ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องประชุม หาดใหญ่ชีวาสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ สวนสาธารณะ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ดังนี้

๑)แนวทางการดำเนินงานกขป.เขต ๑๒
-ภารกิจในการดำเนินงานของเขตสุขภาพ คือ ๑.ร่วมประสาน ๒.ร่วมแลกเปลี่ยน ๓.ร่วมชี้ทิศทาง ๔.ร่วมบูรณาการ ๕.ร่วมระดมสรรพกำลัง/ขับเคลื่อน

-บทบาทหน้าที่ กขป. ๑) กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์ ในการดำเนินการและพัฒนาระบบสุขภาพในเขตฯ โดยบูรณาการภารกิจ อำนาจหน้าที่ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ๒)ดำเนินการหรือประสานงานให้เกิดการขับเคลื่อนตาม ๑) ๓)เสนอแนะและให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขภาพในเขตพื้นที่ต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง ๔)ประสานงานกับ กขป.ในเขตพื้นที่อื่น เพื่อให้เกิดการบูรณาการงานด้านสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพ ๕)ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ๖)รายงานผลการดำเนินการต่อ คสช.อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

-เป้าหมาย คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เขต ๑๒

-ยุทธศาสตร์หลัก ๑.จัดการความรู้ ๒.บูรณาการระดับพื้นที่ ๓.ขยายผลเชิงนโยบาย

-กระบวนการดำเนินงาน ศึกษาสถานการณ์สุขภาพของเขต กำหนด ๔ ประเด็นร่วม ได้แก่ ๑.บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง ๒.สุขภาวะตามช่วงวัย ๓.สุขภาวะกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชายขอบ ๔.เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ วิเคราะห์ปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิตประเด็นร่วม(ปัจเจก/สภาพแวดล้อม/ระบบและกลไก) จัดตั้งคณะอนุกรรมการ ๔ ประเด็น Mapping องค์กร/ภาคี ภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน กำหนดกรอบการดำเนินงาน บูรณาการแผน/ทบทวนแผน พื้นที่ปฎิบัติการร่วม สร้างพื้นที่ต้นแบบ การสื่อสารสาธารณะ ติดตามผล รายงานผล ขยายผลเชิงนโยบาย

-ระบบสนับสนุน ปี ๖๑ สช.สนับสนุนการประชุมกขป./อนุกรรมการ สสส.สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลกลาง และการพัฒนาศักยภาพ เขต ๑๒ ได้ดำเนินการจัดทำเวปไซด์กลาง www.AHsouth.com และต่อไปจะต่อยอดเป็นแอพพลิเคชั่น รวมงบประมาณปี ๖๑ ประมาณ ๓ ล้านบาท
-ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ๑.หน้าที่ของกขป มี๕ ประสาน กขป.ไม่ได้ดำเนินการเอง แต่อาศัยต้นทุนของทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายต่างๆ เป็นตัวขับเคลื่อน มีหน้าที่คือการเชื่อมโยงกันว่าใครทำอะไรที่ไหนและหนุนเสริมกันได้อย่างไร โดยมีกลไกการประสานงานโดยหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ๒.อยากเห็น ๔ ประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกัน รวมไปถึงการสื่อสารสาธารณะ และการผลักดันเชิงนโยบาย  ๓.พัฒนากรอบปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิต เปลี่ยนระบบบริการสุขภาพมาเป็นระบบสุขภาพ เชื่อมโยงไปสู่ความปลอดภัย ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ

๒)การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิต ๔ ประเด็นร่วม

-ปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิต ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง บุหรี่และปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวข้องกับทุกคน มีการจำแนกเป็นบุหรี่มือหนึ่งมือสองและมือสาม รวมผู้ที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ไปด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคคลได้แก่พฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากความเชื่อ ปัจจัยสภาพแวดล้อมเกิดจากความยากจน สภาพจิตใจที่ต้องพึ่งพายาเสพติด เรื่องของปัจเจกบุคคลแก้ได้ยาก แต่ต้องควบคุมในเรื่องของสภาพแวดล้อมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  การเป็นกลไกในพื้นที่เกิดจากการรวมพลัง ไม่สามารถแก้ไขเชิงปัจเจกได้ การแก้ไขสภาพแวดล้อม ครอบครัวและระบบมีความสำคัญค่อนข้างมาก รวมไปถึงการให้ผู้นำศาสนาสามารถบูรณาการความรู้ทางสุขภาพเข้ากับหลักศาสนาเข้ามีบทบาทในการปรับเปลี่ยนทัศนะและเติมเต็มทางจิตวิญญาณ

-ปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิต ประเด็น สุขภาวะตามช่วงวัย ในระบบสุขภาพแบ่งคนเป็น ๕ ช่วงกลุ่มวัย กลุ่มที่ ๑ วัยแรกเกิด กลุ่มที่ ๒ กลุ่มปฐมวัย กลุ่มที่ ๓ กลุ่มวัยเรียน กลุ่มที่  ๔ กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มที่ ๕ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านของเราที่มีปัญหามากคือ กลุ่มวัยแรกเกิดและกลุ่มวัยสูงอายุ ซึ่งสภาพปัญหาแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันไป วิธีการแก้ไขปัญหา วิธีคิดในการแก้ไขปัญหาก็แตกต่างกันไป แต่ระบบการแก้ไขปัญหาต่างๆ ก็จะเชื่อมร้อยกันหมด

-ปัจจัยกำหนดกลุ่มเปราะบางและชายขอบ เป็นเรื่องของกลุ่มบุคคลที่มีบางกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงระบบการบริการด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี  คำว่ากลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนชายขอบ คนชาติพันธุ์ เป็นกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิ ซึ่งต้องทำให้กลุ่มดังกล่าวเข้าถึงการคุ้มครองด้านคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งที่เป็นปัจเจกบุคคลมีเรื่องที่เกี่ยวข้องคือ วิถีชีวิต วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ความเชื่อ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชายขอบอื่นๆ เช่น กลุ่มที่ย้ายถิ่นไประกอบอาชีพ หรือข้ามแดนไปอยู่ในพื้นที่ชายขอบ หรือแม้แต่ประเด็นเรื่องของเกษตรกรชาวสวนยางชายขอบ

-ปัจจัยกำหนดประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ปัจจัยหลักได้แก่ ตัวเกษตรกรที่จะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้พออยู่พอกิน ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลผลิตที่มีคุณภาพ มีจุดเชื่อมโยงคือเรื่องของอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและผู้บริโภค อาหารมีตั้งแต่ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป สัมพันธ์กับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเรื่องเทคโนโลยี การตลาดการลงทุน คุณภาพดิน น้ำ การสร้างเศรษฐกิจฐานราก แล้วก็มีเชิงระบบที่เป็นเรื่องของที่ดิน ปัจจัยการผลิต มาตรฐานการผลิต
-จุดเน้นสำคัญ สร้างความฝันที่เป็นเป้าหมายร่วมกันคือคุณภาพชีวิตประชาชน เชื่อมประสานลดช่องว่างในการดำเนินงาน บูรณาการจนเกิดความรู้ใหม่ในการปฎิบัติ ใช้ทุนเดิมที่มีในการขับเคลื่อน ทำจากจุดเล็กสะสมความรู้และเกาะเกี่ยวกับจุดใหญ่ เชื่อมโยงกับวิถี วัฒนธรรม ผู้บังคับใช้กฎหมาย ท้องถิ่น

-การดำเนินการต่อไป จะให้แต่ละประเด็นเชิญภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยแลกเปลี่ยน ตกผลึกร่วมกันว่าจะขับเคลื่อนเรื่องอะไร  ซึ่งจะจัดประชุมกันในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เมื่อประเด็นชัดขึ้นก็จะมีการตั้งอนุกรรมการ ร่วมกันค้นหาภาคีต่างๆที่เกี่ยวข้อง  ต้นเดือนกุมภาพันธ์จะมีคณะอนุกรรมการที่ชัดเจนมากขึ้น โดยการขับเคลื่อนอาจเคลื่อนจากสิ่งเล็กๆที่เราทำอยู่แล้ว หรือมองภาพรวมแล้วหาจุดคานงัด หรือจะทดลองทำในภาพจังหวัดแล้วค่อยขยายผล ทั้งนี้ในแต่ละประเด็นขอให้มีตัวแทนผู้ประสานงานหลักอย่างน้อย ๒ คนเพื่อช่วยประสานงานอย่างต่อเนื่อง

๓)Time lineการดำเนินงานปี ๒๕๖๑ -เดือนธันวา ประชุมกขป ครั้งที่ ๔
-มกราคม ประชุมอนุกรรมการวิเคราะห์ประเด็นร่วม พัฒนาระบบข้อมูลกลาง -กุมภาพันธ์ ประชุมกขป ครั้งที่ ๕ -มีนา-เมษา-พฤษภา บูรณาการแผนแต่ละภาคี (บูรณาการงาน งบประมาณ หรือพื้นที่ปฏิบัติการร่วม)  Kickoff ทั้ง ๔ ประเด็น สื่อสารสาธารณะ
-มิถุนา –กันยายน ประชุมกขป.ครั้งที่ ๖ และ ๗ การติดตามผลและสนับสนุนการดำเนินงาน -ตุลา รายงานผลการดำเนินงาน

๔)นัดประชุมกขป.ครั้งที่ ๕ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ สถานที่จะกำหนดอีกครั้ง

Relate topics