"ประชุมทีมเลขา ประธานและแกนนำประเด็น กขป.เขต ๑๒"

  • photo  , 960x540 pixel , 62,518 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,099 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,234 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,885 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,464 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 57,802 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 48,851 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 81,425 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 37,732 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,355 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 36,307 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,838 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 40,027 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,064 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 332,476 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 495,306 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,128 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 564,540 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 289,610 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 300,022 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 253,928 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 205,861 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 515,478 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 541,150 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 321,685 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 411,654 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 535,051 bytes.

วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๔  "ประชุมทีมเลขา ประธานและแกนนำประเด็น กขป.เขต ๑๒"

เข้าสู่สถานการณ์โควิดระบาดระลอกใหม่ รอบนี้จึงใช้การประชุมทั้งแบบมาพบกันที่ศูนย์ประสานงานกับประชุมทางไกลระบบ Zoom

มีประเด็นหารือสรุปได้ดังนี้

๑.แนะนำเลขาร่วมจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) คือ คุณประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์

๒.ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้และสถานการณ์โควิดในระดับเขต ซึ่งนับเป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นพร้อมกันประเมินสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ ที่เกิดขึ้นน่าจะยาวนาน เนื่องจากไม่มีการล็อคดาวน์อย่างเป็นทางการ รวมทั้งเรื่องของวัคซีนที่ยังไม่มีความแน่นอน สาเหตุรอบนี้มาจากการเข้าออกของแรงงานต่างชาติ การรวมกลุ่มในสถานอโคจร ในการรับมือต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการช่วยกันป้องกันอย่างจริงจัง โดยบทบาทของ กขป. จะร่วมกับภาคประชาสังคมสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความตระหนัก รวมทั้งความเข้าใจในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับและรักษาผู้ป่วยกรณีที่เพิ่มมากขึ้นจนเตียงในรพ.รองรับไม่เพียงพอ การจัดทำแผนดูแลตัวเองระดับบุคคลหรือครอบครัว การพัฒนากลไกกับเครือข่ายอปท.นำกติกาหรือธรรมนูญมาสู่การปฎิบัติ นอกจากนี้สิ่งที่น่ากังวลคือ การเตรียมรองรับในเรื่องแรงงานข้ามชาติที่จะออกมาจากพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย การมีอาชีพเสริมเพื่อรองรับด้านเศรษฐกิจให้กับคนในพื้นที่จากผลกระทบของโควิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันในภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่สามจังหวัด คือ จังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ซึ่งในปีนี้สถานการณ์น้ำท่วมมีความรุนแรงมาก ในพื้นที่จังหวัดยะลา มีระบบผนังกั้นน้ำรอบเมืองยะลาทำให้คนในชุมชนเมืองไม่ได้รับผลกระทบมากเท่ากับคนที่อยู่ภายนอกพื้นที่ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ในรอบนี้คือ มีระบบการจัดการการช่วยเหลือกันเองในชุมชน มีการระดมสรรพกำลังและระดมทุนเพื่อช่วยเหลือ โดยเฉพาะในเรื่องของอาหาร น้ำดื่ม จากภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีน้ำท่วมสูงและน้ำจากทะเลหนุนเข้ามา ในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำสายบุรี ได้รับความช่วยเหลือจากเทศบาลและกลุ่มจิตอาสาในพื้นที่ ตอนนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายบ้างแล้ว บางพื้นที่เริ่มสัญจรได้บ้าง  ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปีนี้น้ำท่วมสูงเกินกว่าการคาดหมาย เนื่องจากฝนตกสะสม แม่น้ำสายบุรีและแม่น้ำโกลกล้นตลิ่ง ในพื้นที่มีจิตอาสาทั้งภายในและภายนอกเข้ามาช่วยเหลือ และส่วนราชการได้เข้าไปฟื้นฟูให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

๓.รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานกขป.เขต ๑๒ และกิจกรรมที่ดำเนินการที่ผ่านมา (พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๓) คือ  การปิดโครงการปี ๖๓ การติดตามประเมินผลกับทีมประเมินส่วนกลาง ร่วมกิจกรรมกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ กิจกรรมSide Event เปิดตัวแอพฯGreensmile  กิจกรรม work shop ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงจนได้ตัวแบบที่จะร่วมดำเนินการ ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และเปราะบางทางสังคม ได้ร่วมกับขยายผลงานเดิม และมีแผนร่วมกับภาคี เช่น คณะพยาบาลมอ. สปสช. ร่วมกันดูระบบของการพัฒนาผู้ช่วยนักบริบาล และประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ขยายผลแอพพลิเคชั่นกรีนสมาย ร่วมกับ ธกส.ภาคใต้ตอนล่าง

๔.แนวทางการทำงานต่อไปในช่วงสถานการณ์โควิดจากนี้ คือ

๑)ในส่วนงานกขป.จะมีนัดทีมประเมิน ออกแบบการประชุมกลุ่มย่อยกับตัวแทนกขป.และแกนนำ/อนุกรรมการเพื่อสะกัดผลการดำเนินงานในแง่การสร้างความร่วมมือ การใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือ การพัฒนากลไกเชิงพื้นที่/ประเด็น การพัฒนานโยบายจากรูปธรรมไปสู่รูปธรรม การออกแบบระบบเพื่อเป้าหมายคุณภาพชีวิตรายบุคคล กลุ่ม พื้นที่ เป็นต้น นำเข้าสู่การประชุม กขป. ครั้งสุดท้ายของชุดแรก เพื่อสานต่อการทำงานกับชุดที่สอง ให้เกิดความต่อเนื่อง มีข้อเสนอให้มีการประเมินสุขภาพระดับยุทธศาสตร์

๒)การรับมือโควิดร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ  บริหารความเสี่ยงจากบริบทปัญหาที่แตกต่างจากระลอกแรก รวมถึงกลุ่มเปราะบางใหม่ๆที่จะเข้ามา เช่น กลุ่มแรงงานทั้งในระบบ นอกระบบ ต่างชาติ การเตรียมรองรับกลุ่มแรงงาน กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโควิด  และขยับงานด้านอาหารและยาเพื่อรองรับการแพร่ระบาด

Relate topics