"ประเมินภายในประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม กขป.เขต ๑๒"

  • photo  , 1000x750 pixel , 134,231 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 79,670 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 74,137 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 57,159 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,545 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 65,371 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,465 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,384 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,373 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 43,831 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 66,707 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 63,682 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 55,314 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,895 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 69,222 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 69,753 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 195,558 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 141,892 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 180,762 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 124,808 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 143,234 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 151,772 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 107,085 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 174,736 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 172,287 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 111,799 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 100,658 bytes.
  • photo  , 2000x1500 pixel , 197,060 bytes.

"ประเมินภายในประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม กขป.เขต ๑๒"

วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๔  ทีมประเมินภายในนัดหมายเลขาร่วม กขป. อนุกรรมการ และแกนนำประเด็นในหลายพื้นที่ร่วมประเมินผลการดำเนินงานในปีที่ 4 ของการดำเนินงานภายใต้กลไกคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒

เป้าหมาย ๑.ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิ์พื้นฐาน ๒.ส่งเสริมการเข้าถึงปัจจัย ๔

ผลการดำเนินงาน

๑)ร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลกลาง

-จ.สงขลา ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯอบจ.สงขลาจัดตั้ง Center ข้อมูลกลางระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล โดยใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้ง นำร่องคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง มีการ MOU ๑๑ องค์กร

-ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาระบบข้อมูลกลางผ่านแอพพลิเคชั่น iMed@home และ www.communinfo.com ให้สามารถนำเข้าข้อมูลพื้นฐาน(ผ่านรูปแบบไฟล์ excelกลาง หรือสำรวจผ่านการเยี่ยมบ้าน) ประมวลผลระดับพื้นที่ และมีระบบเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงาน

จ.สงขลา ปี ๒๕๖๓ มีการเยี่ยมบ้าน ๕,๕๖๗ ครั้ง ผู้ได้ประโยชน์ ๒,๕๗๐ คน

จ.ปัตตานี ปี ๒๕๖๓ มีการเยี่ยมบ้าน ๑,๙๓๐ ครั้ง ผู้ได้ประโยชน์ ๘๔๙ คน

จ.ตรัง ปี ๒๕๖๓ มีการเยี่ยมบ้าน ๘๖๒ ครั้ง ผู้ได้ประโยชน์ ๘๒๕ คน

จ.ยะลา ปี ๒๕๖๓ มีการเยี่ยมบ้าน ๑,๘๘๐ ครั้ง ผู้ได้ประโยชน์ ๘๓๔ คน

จ.สตูล ปี ๒๕๖๓ มีการเยี่ยมบ้าน ๗๕๑ ครั้ง ผู้ได้ประโยชน์ ๒๗๑ คน

จ.พัทลุง ปี ๒๕๖๓ มีการเยี่ยมบ้าน ๑๔๔ ครั้ง ผู้ได้ประโยชน์ ๓๗ คน

จ.นราธิวาส ปี ๒๕๖๓ มีการเยี่ยมบ้าน ๖๘๒ ครั้ง ผู้ได้ประโยชน์ ๑๓๘ คน

ข้อมูล ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓


๒.บูรณาการการร่วมกันทำงานของภาคีระดับตำบล ราว ๓๐ ตำบล พัฒนากลไกระดับตำบล การเก็บข้อมูลผ่านระบบเยี่ยมบ้าน iMed@home และอื่นๆ การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล(เริ่มดำเนินการในบางตำบล)

(๑)จ.สงขลา ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด/กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด อบจ./พมจ./Node flagship สสส./พชอ./สปสช./ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ตำบลร่วมดำเนินการได้แก่ ทม.เขารูปช้าง ทม.สะเดา ทต.ระโนด ตำบลคูหา ตำบลทับช้าง ตำบลบ่อยาง ตำบลโคกม่วง ตำบลท่าข้าม ตำบลป่าขาด ตำบลท่าชะมวง ตำบลนาหว้า ตำบลแค ตำบลสนามชัย ตำบลปากรอ ตำบลน้ำน้อย

(๒)จ.ตรัง ร่วมกับ Node flagship สสส./สมัชชาสุขภาพจังหวัด/พมจ./พชอ./สปสช. ตำบลเป้าหมาย ตำบลบางด้วน ตำบลบางสัก ตำบลเขาไพร ตำบลทุ่งต่อ ตำบลนาชุมเห็ด

(๓)จ.พัทลุง ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด อบจ./พชอ. /สปสช. ตำบลเป้าหมาย ตำบลโตนดด้วน ตำบลเขาปู่

(๔)จ.ปัตตานี ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด/พมจ./อบจ. /สปสช./ คณะกรรมการอิสลามจังหวัด มูลนิธิคนช่วยคน ตำบลเป้าหมาย ตำบลกะมิยอ ตำบลหนองจิก ตำบลกาปู

(๕)จ.สตูล ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด/อบจ./สมาคมผู้บริโภค /สปสช. ตำบลเป้าหมาย ตำบลเกตรี ตำบลท่าแพ ตำบลปาล์มพัฒนา

(๖)จ.ยะลา ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด พมจ./มูลนิธิซากาตและสาธารณกุศล /สปสช. ตำบลเป้าหมาย ตำบลสะเต็ง/ทน.ยะลา ตำบลกอตอตือร๊ะ ตำบลตลิ่งชัน

(๗)จ.นราธิวาส ร่วมกับ ศปจ.นราธิวาส/พมจ. มูลนิธิชุมชนสงขลา คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) รพ.ตากใบ

กรณีกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกับสปสช.เขต ๑๒ ดำเนินการร่วมกับโครงการคนไทยไร้สิทธิ์แก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิ์ด้านบริการสุขภาพและคุณภาพชีวิตกลุ่มมันนิในพื้นที่จังหวัดสตูล พัทลุง ตรัง สงขลา และร่วมกับศอบต.ดำเนินการดูแลกลุ่มโอรังอัสรีในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้การขับเคลื่อนประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์

นอกจากนั้นยังร่วมกับกขป.เขต ๑๑/สสว.เขต ๑๐ ดำเนินการร่วมกันในบางพื้นที่ และยังมีภาคีเข้ามาเสริมหนุนการทำงาน ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ มูลนิธิคนช่วยคน และโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมือง SUCCESS โดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ในพื้นที่จังหวัดสงขลา (เมืองบ่อยาง เมืองปาดังเบซาร์ เมืองควนลัง เมืองพะตง) สตูล(เมืองละงู) และพัทลุง(เมืองควนขนุน)


บทเรียนและข้อเสนอแนะในการดำเนินการต่อไป

๑)ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานกขป.ที่มีเป้าหมายร่วมชี้ทิศ ร่วมประสานการทำงาน ร่วมบูรณาการ ร่วมระดมสรรพกำลัง/งบประมาณ โดยอาศัยพื้นที่/ประเด็นเป็นฐาน ได้แก่

๑.เครื่องมือและกระบวนการเข้าไปลดช่องว่างเสริมหนุนการทำงานของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะระบบสารสนเทศ/แอพพลิเคชั่น

๒.การปรับเปลี่ยน Mindset การทำงานของกลไกกลางในระดับต่างๆบนฐานการเชื่อมโยงปัจจัยกำหนดสุขภาพ(บุคคล/สภาพแวดล้อม/ระบบบริการ)ให้เห็นความสัมพันธ์เชิงระบบ

๓.การปรับเชิงระบบ วัดความสำเร็จกันตรงที่มีการปรับเปลี่ยนเชิงระบบ ๔.การจัดการความรู้นำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืน

๒)บทบาทกขป.เป็นเพียงกลไกกระตุ้น ประสานการขับเคลื่อน ทิศทางการดำเนินงานต่อไป ควรกำหนดเป้าหมายร่วม กำหนดบทบาทของกขป.ทั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานเชิงพิ้นที่ให้ชัดเจนมากขึ้น มีเป้าหมายรายปี มีวาระร่วม บนฐานความร่วมมือของสสส./สปสช./สธ./สช.มากขึ้น

-ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด/สปสช.เขต ๑๒ พัฒนาระบบข้อมูลกลางในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล และติดตามผลในภาพระดับจังหวัด ขยายผลกองทุนต้นแบบที่สงขลา

-แสวงหาความร่วมมือร่วมสร้างพื้นที่ต้นแบบในแต่ละจังหวัด อำเภอ ตำบล ขยายผลรูปแบบ(Model)ที่มีอยู่ บนฐานความร่วมมือของแต่ละภาคส่วน ให้เกิดกลไกกลางระดับตำบลบูรณาการงานบนฐานศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ จัดทำข้อมูลรายบุคคล/ครัวเรือน ทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคล/ตำบล จัดทำธรรมนูญหรือกติกาเพื่อเสริมหนุนการทำงาน จัดตั้งกองทุนกลาง

-พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อลดช่องว่างเชิงระบบ เช่น พัฒนา Homecaregiver

-ค้นหาช่องว่างการดำเนินงานเชิงระบบ และผลักดันเชิงนโยบาย

-เพิ่มบทบาทคณะทำงานเชิงวิชาการ ร่วมติดตามประเมินผลพัฒนาการแต่ละระยะ พร้อมการวัดผลดำเนินงานให้สามารถรายงานผลได้อย่างชัดเจน

-โชว์ แชรฺ์ เชื่อม จัดการความรู้พื้นที่ต้นแบบของแต่ละภาคีและขยายผลกับเครือข่าย

จุดเน้นอยู่ที่การพัฒนากลไกระดับจังหวัด และตำบล พร้อมกับระบบสนับสนุนสำคัญ คือ ระบบสารสนเทศกลาง กองทุนกลาง กลไกกลาง กติกากลาง

Relate topics