ก้าวการพัฒนาจุดจัดการความรู้สุขภาวะ สสส.ภาคใต้

  • photo  , 960x720 pixel , 55,072 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 44,077 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 45,992 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,925 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 65,610 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 55,105 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 50,649 bytes.

ก้าวการพัฒนาจุดจัดการความรู้สุขภาวะ สสส.ภาคใต้

อีกหนึ่งปฏิบัติการที่จะร่วมหนุนเสริมขบวนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้

จากโจทย์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.) ที่มีการทำงานสร้างเสริมสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องซึ่งปีนี้ก็ย่างเข้าปีที่ 20  มีการสนับสนุนทุนงบประมาณโครงการให้องค์กร ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคชุมชน ภาควิชาการ และภาคเอกชน มานับพันนับหมื่นโครงการ พบว่าในการทำงานสนับสนุนทุนที่ผ่านมามีการตกผลึก “ชุดความรู้”ในการสร้างเสริมสุขภาวะหลายประเด็นแล้ว

แต่สิ่งที่เป็นช่องว่างในการทำงานคือการขยายหรือนำชุดองค์ความรู้นี้ไปสู่การปฏิบัติ จึงมีแผนงานเชิงรุกที่จะพัฒนาจุดจัดการความรู้สุขภาวะของ สสส. และขยายผลชุดความรู้ พื้นที่ภาคใต้โดยการนำของพี่ทวีวัตร เครือสาย Taweewat Kruasai  นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร จึงชักชวนกลุ่มพี่ ๆ น้อง ๆ  ที่ทำงานทางสังคมในพื้นที่ภาคใต้ร่วมก่อนการเพื่อขยับงานนี้ทั้งจาก เครือข่ายหมออนามัย สมาคมประชาสังคมตรัง สมาคมอาสาสร้างสุข สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา ม.อ  โดยมีข้อสรุปร่วมกันที่ขับเคลื่อนขยายผลชุดความรู้ใน 4 ประเด็น

ประเด็นที่  1 พลังงานทางเลือกสำหรับชุมชนท้องถิ่น

ประเด็นที่ 2 ท้องถิ่นร่วมใจดูแลผู้สูงวัยในชุมชน

ประเด็นที่ 3 การปรับสภาพบ้านสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

ประเด็นที่ 4 ร่วมสร้างโภชนาการสมวัยในศูนย์เด็กเล็ก

วันอังคารที่ผ่านมาจึงเป็นเวทีที่ชักชวนผู้ประสานเครือข่ายองค์กรภาคี และตัวแทนพื้นที่ปฏิบัติการที่จะชวนกันพัฒนาเป็นจุดจัดการความรู้สุขภาวะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตัวแทน สสส.ทำความเข้าใจเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงานการพัฒนากลไกจุดจัดการความรู้สุขภาวะ

มีตัวแทนทีมจากจังหวัดชุมพร(อ.ละแม) ที่จะเป็นจุดจัดการความรู้ประเด็นพลังงานทางเลือก  ทีมจังหวัดสุราษฎร์ธานี  จังหวัดพังงา  จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง (ต.บางด้วน) และจังหวัดนราธิวาส (ชุมชนบางน้อย อ.เจ๊ะเห)  ที่จะพัฒนาจุดจัดการเรียนรู้ประเด็นท้องถิ่นร่วมใจดูแลผู้สูงวัยในชุมชน ทีมจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา กองทุนฟื้นฟูฯ) ในประเด็นการปรับสภาพบ้านสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ  และจังหวัดปัตตานี ในประเด็นร่วมสร้างโภชนาการสมวัยในศูนย์เด็กเล็ก

กระบวนการชวนกันทำความเข้าใจเป้าหมาย แนวทางการทำงาน ชักชวนกันทบทวนทุนและศักยภาพจุดจัดการความรู้ในแต่ละจุด ทำความเข้าใจเบื้องต้นต่อคู่มือชุดความรู้ในประเด็นที่จะขยายผล และชวนกันออกแบบการเรียนรู้ชุดความรู้ต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาทีมจัดการเรียนรู้ โปรแกรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์ และการประสานทรัพยากรและความร่วมมือกับภาคี  สำคัญคือแต่ละพื้นที่มีต้นทุน และศักยภาพในเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว การผสมผสานระหว่างชุดความรู้ประสบการณ์ของพื้นที่ และองค์ความรู้ของ สสส. ที่ทำอย่างไรจะให้กลมกล่อม

แต่ละทีมได้ตุ๊กตาความคิดในการพัฒนาแต่ละจุดจัดการเรียนรู้ สำคัญกว่าหลังจากนี้คือการกลับไปปรึกษาหารือร่วมกับทีมสนับสนุนของจังหวัดและทีมแต่ละจุดจัดการเรียนรู้ฯ
ปิดท้ายด้วยการนัดหมายการลงพื้นที่พรุ่งนี้เพื่อเรียนรู้ปฏิบัติการของตำบลบางด้วนในประเด็นท้องถิ่นร่วมใจดูแลผู้สูงวัยในชุมชน
พอสมควรกับเนื้อหาที่ชวนกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันแรก 4 โมงเย็นก็พักผ่อนตามอัธยาศัย

6 เมษายน 64

จุดจัดการความรู้สุขภาวะภาคใต้

สสส

เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว

Relate topics