"การบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน"

photo  , 1280x720 pixel , 85,988 bytes.

"การบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน"


บทเรียนการดำเนินงานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) เขต 12 พบว่าหากต้องการประสานทรัพยากร ลดช่องว่างการทำงานในเชิงพื้นที่ ซึ่งยังแยกส่วนต่างคนต่างทำ สามารถดำเนินการได้ โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้


1)การทำงานร่วมในลักษณะ เก้าอี้ 4 ขา เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการทำงาน เสริมหนุนกันได้ โดยมีภาคส่วนสำคัญที่มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder)เข้ามาทำงานร่วมกัน ได้แก่ ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ส่วนวิชาการ ส่วนเอกชน/ประชาสังคม/ชุมชน แต่ละพื้นที่และประเด็นไม่เหมือนกัน ส่วนใดที่เกินศักยภาพ ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของภาครัฐ ภาคประชาชนหรือเอกชนจะเข้ามาเสริมเติม


2)การพัฒนากลไกขับเคลื่อน มี 2 ระดับได้แก่ ระดับอำนวยการ และปฎิบัติการ โดยพิจารณาให้ยึดโยงกับกลุ่มเป้าหมาย อำนาจหน้าที่ รวมถึงกลไกในระบบปกติที่มีการดำเนินการกันอยู่ เพิ่มเติมในส่วนที่เป็นช่องว่างการดำเนินงาน การได้มาขององค์กรหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมีทั้งมาโดยตำแหน่ง มาจากการคัดเลือกกันเอง การสมัคร โดยคำนึงถึงการยึดโยงกับกลุ่มเป้าหมายและอำนาจหน้าที่ สามารถดำเนินการในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ


3)ระบบข้อมูลกลางหรือสารสนเทศกลาง แต่ละองค์กรจะมีฐานข้อมูลของตนเอง ต่างระบบ ต่างเทคนิค บางส่วนระบบกลางจะอยู่ส่วนกลาง ทำให้เกิดปัญหาการประสานงาน และการติดตามผล ที่ไม่อาจประมวลผลทั้งเพื่อประกอบการทำแผนงานโครงการ และการติดตามผล การสร้างระบบข้อมูลกลางแบบครบวงจรเช่นนี้ โดยท้องถิ่นและภาคส่วนต่างๆ (ขึ้นอยู่กับประเด็น) โดยใช้โปรแกรมกลางที่สามารถดึงข้อมูลพื้นฐานจากแต่ละองค์กรเข้ามาสู่ระบบกลาง และนำมาสู่การจัดทำแผนร่วม การรายงานผลร่วม จะช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อน ต่างคนต่างทำ โปรแกรมเมอร์จะเข้ามาแก้ปัญหาทางเทคนิคร่วมกัน


4)การปรับความคิดในการทำงาน เปลี่ยนแนวคิดก็เปลี่ยนแปลงได้ การทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่และปรับแนวคิดร่วมกัน โดยมีพื้นที่ต้นแบบหรือโครงการที่สามารถทำให้ครบวงจรเห็นผลเป็นรูปธรรม จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ก่อนที่จะนำไปสู่นโยบายสาธารณะ ขยายผลต่อไป


ชาคริต โภชะเรือง

Relate topics