"ธรรมนูญ on air ครั้งที่ 1" วันที่ 4 พฤษภาคม 2564

  • photo  , 1000x563 pixel , 115,479 bytes.
  • photo  , 1199x1623 pixel , 203,689 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 478,234 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 464,744 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 632,995 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 438,035 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 325,355 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 355,458 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 328,934 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 333,937 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 379,931 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 436,026 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 570,601 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 413,256 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 309,181 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 550,242 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 444,050 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 469,542 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 349,004 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 424,603 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 532,006 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 356,560 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 367,628 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 476,890 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 432,763 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 376,246 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 343,998 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 383,632 bytes.
  • photo  , 960x664 pixel , 102,482 bytes.
  • photo  , 960x664 pixel , 84,372 bytes.

"ธรรมนูญ on air ครั้งที่ 1"

ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2564

กขป.เขต 12 ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สมาคมอาสาสร้างสุขและภาคีความร่วมมือ ร่วมปฎิบัติการรับมือโควิดระลอก 3 ด้วย "ธรรมนูญ on air" ประเดิมครั้งที่ 1 วันที่ 4 พฤษภาคม ภายใต้ประเด็น "บทบาทประชาสังคมรับมือโควิด ระลอก 3 อย่างไร" มีผู้เข้าร่วม 28 คน นอกจากองค์กรร่วมจัดแล้วยังมีเครือข่ายท้องถิ่น สสจ. เข้าร่วม มีข้อสรุปสำคัญดังนี้

1)สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดระลอก 3 ระดับเขต มีผู้ป่วย 1977 ราย มีผู้เสียชีวิต 6 ราย หลายจังหวัดสถานการณ์ยังรุนแรง สาเหตุการแพร่ระบาดรอบนี้นอกจากมาจากคลัสเตอร์ทองหล่อ แล้วแพร่มาสู่พื้นที่ในช่วงสงกรานต์แล้ว ยังมาจากคลัสเตอร์ย่อยในพื้นที่อันเกี่ยวเนื่องจากวิถีชีวิต ประเพณี อาทิ จากร้านอาหาร ตลาด งานแต่งงาน งานศพ มโนห์ราเดือน 6 และจากเจ้าหน้าที่ในระบบบริการ รอบนี้มีการเสียชีวิตมากกว่าเดิม(รอดูข้อมูลจริงอีกระยะ) มีการระบาดกว้างขวาง รวดเร็ว ไม่แสดงอาการ มีข้อมูล time line ที่ปกปิดไม่บอกหมด มีความกังวลต่อความปลอดภัยในการฉีดวัคซีน ข้อมูลสับสนมีข่าวลวง การแพร่ระบาดในกลุ่มที่รับการตรวจเชื้อครั้งที่ 1 แล้วไม่กักตัว ประชาชนบางส่วนยังไม่เกิดความตระหนัก

2)บทบาทภาคประชาสังคมในแต่ละพื้นที่ เน้นหนุนเสริมพื้นที่รับมือ มีการสื่อสารทางสังคมโดยเฉพาะในกลุ่ม on line และsocial media เพื่อลดข่าวลือ ความสับสนของข้อมูล การผลักดันการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างครัวกลาง การส่งเสริมอาชีพ การดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม

-จ.ปัตตานี เน้นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างอาชีพเสริม

-จ.พัทลุง มีพื้นที่เด่นๆในการรับมือ เช่น ต.ชะรัด ต.หานโพธิ์ ตั้งครัวกลาง มีการ์ดชุมชน มีข้อกังวลในเรื่องรพ.สนามว่าจะมีไม่เพียงพอ ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น

-จ.ยะลา เรียนรู้จากประสบการณ์เดิมที่เคยพบมา

-จ.สงขลา สมาคมอาสาสร้างสุขกำลังรวบรวมข้อมูลรพ.สนาม เพื่อเป็นข้อต่อในการสื่อสารระหว่างผู้รับการบริการกับผู้ให้บริการ พบว่าภาคใต้มีรพ.สนามรองรับผู้ป่วยได้ราว 5000 เตียง จ.สงขลามีรพ.สนาม 7 แห่ง 2000 เตียง กำลังทำคลิปสันทนาการลดความเครียดให้กับผู้ไปใช้บริการ

-จ.สตูล จังหวัดมีมาตรการตั้งด่านในทุกตำบล

3)เรียนรู้รูปแบบการรับมือของพื้นที่ อาทิ ต.นาข้าวเสีย จ.ตรัง หลังพบผู้ป่วยโควิด กำนันและนายก ร่วมมือกันควบคุมสถานการณ์ นำผู้ป่วยที่ไปตรวจเชื้อครั้งที่ 1 จำนวน 98 ราย ทุกคนกักตัวที่บ้าน สร้างกติกากำกับ พร้อมรับบริจาคจัดการส่งต่ออาหาร ผ่านถุงยังชีพ 3 วันต่อครั้งและข้าวกล่องทุกเย็น สร้างทีมในการทำงาน ประกอบด้วยทีมยุทธศาสตร์ ทีมสร้างความเข้าใจ/ทีมสื่อ สื่อสารทำความเข้าใจสมาชิกแต่ละบ้าน ทีมรับของบริจาค ทีมส่งของบริจาค ทีมเฝ้าระวัง พร้อมกับตั้งด่านห้ามคนภายนอกเข้ามาในพื้นที่ บวกกับมาตรการระดับจังหวัด และเรียนรู้การรับมือโควิดในพื้นที่แออัด กรณีคลองเตย กทม. ซึ่งสถานการณ์กำลังวิกฤตหนัก มีการพัฒนาศูนย์พักคอย การตรวจเชื้อเชิงรุก(ทำให้พบผู้่ติดเชื้อมากขึ้น) ความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ

4)ข้อเสนอแนะความร่วมมือในภาพรวม
1.ลดช่องว่างการรับมือ ได้แก่ การสื่อสารทั้งจากจังหวัดไปยังส่วนกลางและลงไปสู่พื้นที่ ลดข่าวลวง ตรวจสอบข่าวก่อนส่งต่อ สร้างความเข้าใจในการฉีดวัคซีน สร้างความตระหนักให้กับประชาชน

2.เรียนรู้และขยายผลรูปแบบการรับมือทั้งในส่วนชุมชนทั่วไป ชุมชนในเขตเมือง และชุมชนแออัด

3.พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อติดตามสถานการณ์ ระดับเขต จังหวัด

4.สร้างภูมิคุ้มกันให้กับพื้นที่เสี่ยง จัดการเรื่องอาหารให้เพียงพอ ครอบคลุมประชากรกลุ่มเปราะบาง การดูแลผู้สูงวัย ความร่วมมือส่งต่ออาหารข้ามจังหวัด การสร้างกติกาชุมชน/ธรรมนูญสุขภาพ การประสานห้างร้านนำอาหารที่เหลือมากระจายสู่ผู้มีรายได้น้อย การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม

5.เครือข่ายสมัชชาจังหวัดร่วมผลักดันรัฐบาลให้มีการจัดหาและฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่เขต 12 ให้รวดเร็วที่สุด

5)ครั้งต่อไป อังคารที่ 11 พฤษภาคม เรียนรู้ตัวอย่างดีๆ "บทเรียนตำบลรับมือโควิด" ของพื้นที่ระดับตำบลใน 7 จังหวัด

Relate topics