สสส.(สำนัก 3) หนุน 'อปท.พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนใต้' สร้างเครือข่ายสุขภาวะชุมชนพัฒนาคุณภาพชีวิต

  • photo  , 1000x623 pixel , 116,703 bytes.
  • photo  , 1000x595 pixel , 105,429 bytes.
  • photo  , 1000x552 pixel , 83,046 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 75,783 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 78,893 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 77,903 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 75,626 bytes.

สสส.(สำนัก 3) หนุน 'อปท.พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนใต้' สร้างเครือข่ายสุขภาวะชุมชนพัฒนาคุณภาพชีวิต

เทศบาลตำบลสำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะ ภายใต้โครงการร่วมสร้างเครือข่ายสุขภาวะชุมชนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วม 150 คน

จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ระบบเศรษฐกิจของพื้นที่ตำบลสำนักขามหยุดชะงักและซบเซา เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่างมาก ทำให้การนำเข้า การส่งออกผลผลิต และการท่องเที่ยวในพื้นที่ลดลง ประชาชนประสบภาวะการว่างงาน ขาดอาชีพและรายได้ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ท้องถิ่นจึงต้องร่วมกันหาทางออก

นายสาธิต ลิ่ววัฒนะโชตินันท์ นายกเทศมนตรีตำบลสำนักขาม อ.สะเดา กล่าวว่า ด้วยบริบทพื้นที่ตำบลสำนักขาม มีชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซียบริเวณหมู่ที่ 7 บ้านไทย-จังโหลน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ด่านนอก” เป็นที่ตั้งของด่านศุลกากร คือ ด่านสะเดา

ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในการส่งออกสินค้ามากกว่า 4 แสนล้านบาท ติดลำดับการส่งออกลำดับต้น ๆ ของประเทศ และยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจสถานบันเทิง และสถานท่องเที่ยวยามราตรี ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์เข้ามาทางด่านพรมแดนสะเดาเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังพื้นที่พหุวัฒนธรรม มีทั้งพี่น้องชาวไทย-พุทธ และไทย-มุสลิม อาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวนยางพารา และอีกจำนวนหนึ่งประกอบอาชีพค้าขาย ทำธุรกิจที่พัก โรงแรม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังพื้นที่

“จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้ระบบเศรษฐกิจของพื้นที่ตำบลสำนักขามหยุดชะงักและซบเซา เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่างมาก ทำให้การนำเข้า การส่งออกผลผลิต และการท่องเที่ยวในพื้นที่ลดลง ประชาชนประสบภาวะการว่างงาน ขาดอาชีพและรายได้ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ท้องถิ่นจึงต้องร่วมกันหาทางออก” นายกเทศมนตรีตำบลสำนักขาม กล่าว

นายอนุพงค์ สุวลักษณ์ ปลัดเทศบาลตำบลสำนักขาม ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดตั้งศูนย์จัดการเครือข่ายตำบลสุขภาวะ ว่า

จากเติบโตอย่างรวดเร็วดังกล่าว ทำให้ชุมชนเกิดความแออัดหนาแน่น โดยเฉพาะรถที่สัญจรไปมาในพื้นที่ และธุรกิจสถานบันเทิง ทำให้คนในชุมชนซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมต้องเปลี่ยนอาชีพ เดิมทีประกอบอาชีพเกษตรกร กรีดยาง เปลี่ยนมาทำงานเกี่ยวกับบริการนักท่องเที่ยวแทน ในชุมชนจึงเกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาจราจร ปัญหาขยะ และน้ำเน่าเสีย ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม สังคมเมืองทำให้ภาษา การแต่งตัว และค่านิยมของคนในพื้นที่เปลี่ยนไป

“เทศบาลตำบลสำนักขาม เรามุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ควบคู่การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึง ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน วางแผนและดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของกลไก 4+2 องค์กรหลักในพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย ท้องที่ ท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรศาสนา กลุ่ม/องค์กรต่างประเทศ (มาเลเซีย) ร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ได้แก่

การสร้างโอกาสทางสังคมแก่เด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส รวมถึงผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง, การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การควบคุมการบริโภคยาสูบ และการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุ”

ปลัดเทศบาลตำบลสำนักขาม กล่าวว่า เทศบาลตำบลสำนักขามเป็นแม่ข่ายในการจัดตั้งศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน โดยมีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลเมืองสะเดา เทศบาลตำบลปาดัง เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ และ องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักแต้ว

ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ กรรมการกำกับฯ พื้นที่ภาคใต้ ให้ข้อเสนอแนะการทำงานในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนใต้ ที่มีความพิเศษเป็นเอกลักษณ์ ในหลากหลายด้าน ว่า

อยากเห็นการทำงานที่เชื่อมร้อยประสานกันในกลุ่มประเด็นต่าง ๆ ทั้งกลุ่มเปราะบาง ปัญหาคนไร้สัญชาติ ยาเสพติด และอื่น ๆ ที่มีความน่าสนใจ ที่อยากชวนเครือข่ายในการตั้งโจทย์และขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน หากเราทำงานแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการทำงาน ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนใต้อย่างมาก

ด้าน ดร.นิสา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) กล่าวถึงการทำงานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่เริ่มต้นจากเทศบาลตำบลปริกเป็นแม่ข่าย อ.สะเดา ว่า

ในอดีตได้เชิญชวนเทศบาลตำบลสำนักขามร่วมทำงานขับเคลื่อนในพื้นที่ ตอนนี้ ทต.สำนักขาม ได้ขยับมาเป็นแม่ข่าย ทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่นอีก 4+1 พื้นที่แล้ว และได้เกิดการพัฒนาทุนและศักยภาพทั้ง คน กลไก และข้อมูล และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตเครือข่ายที่ทำงานร่วมสร้าง จะร่วมกันพัฒนาทุนและศักยภาพของชุมชน สร้างเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้อย่างยั่งยืนร่วมกัน

ส่วน นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ประธานกรรมการกำกับฯ พื้นที่ภาคใต้ กล่าวว่า . สสส. หนุนเสริมให้แต่ละท้องถิ่นได้เห็นทุนทางสังคม มาใช้ประโยชน์และเห็นภาพต้นทุนและข้อมูลชุมชนร่วมกัน ภายใต้หลัก S2I คือ การจัดการพื้นที่ (Systematization), การสร้างและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Creation) และเกิดการบูรณาการภายในชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานสนับสนุนภายนอก (Integration and Collaboration) ในการจับมือขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ขณะที่ นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ จะช่วยสร้างความเข็มแข็งและเสริมศักยภาพชุมชน ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนา รับมือและจัดการกับปัญหา รวมถึงชี้ให้เห็นการร่วมแรงหนุนเสริม ที่จะเกิดเป็นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ มีชุมชนที่เข้มแข็งสามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง พร้อมน้อมรับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” “ระเบิดจากข้างใน” มาปรับใช้ในการทำงานภายในชุมชน

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สุขภาวะชุมชน และ เทศบาลตำบลสำนักขาม

ชมคลิปย้อนหลัง

Relate topics