ร่วมสร้างพัทลุงมหานครแห่งความสุข

  • photo  , 1000x750 pixel , 128,210 bytes.
  • photo  , 1536x2048 pixel , 132,886 bytes.
  • photo  , 1536x2048 pixel , 139,566 bytes.
  • photo  , 1157x867 pixel , 103,307 bytes.
  • photo  , 1121x1494 pixel , 118,113 bytes.
  • photo  , 1069x1425 pixel , 97,647 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 241,679 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 189,923 bytes.
  • photo  , 1000x1500 pixel , 208,699 bytes.

ร่วมสร้างพัทลุงมหานครแห่งความสุข

วันที่ 22 มีนาคม 2567 นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมปาฐกถาในหัวข้อทิศทางสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ ในเวที สานพลังสู่พัทลุงมหานครแห่งความสุข ภายใต้โครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง ณ โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย จังหวัดพัทลุง โดยมี นพ.สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 12 และ นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงร่วมในงานดังกล่าว

พัทลุงมหานครแห่งความสุข คือเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดพัทลุงที่เครือข่ายภาคประชาชน  เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดพัทลุง และท้องที่  ท้องถิ่นร่วมกันกำหนด โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงเป็นแกนหลักในการดำเนินการในรูปแบบ “สภาเมือง” มีชื่อว่า สภาขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง เป็นการรวมกันของ ภาคประชาชนเพื่อการพัฒนาเมือง โดยการสร้างเวทีให้ประชาชนหรือผู้ที่มีความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น มาร่วมคิด ร่วมพัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้า

นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวตอนหนึ่งในช่วงปาฐกถาว่า “พัทลุง เป็นจังหวัดที่มีต้นทุนดีมากๆ มีคนที่มีความรู้ความสามารถ มีภาคประชาสังคม มีชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ได้เห็นพลังร่วมที่ทุกฝ่ายต่างตั้งใจทำให้พัทลุงเป็นมหานครแห่งความสุข ทั้งการท่องเที่ยว เกษตร สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงอาหาร การลดปัจจัยเสี่ยง
สช. ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนการทำนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ จะร่วมสร้างสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่เอื้อให้เกิดการมีสุขภาวะดี มีความยินดีและตั้งใจ ที่จะร่วมเคลื่อนสู่พัทลุงมหานครแห่งความสุขไปด้วยกัน”

เวทีดังกล่าวได้มีการนำเสนอความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็น “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” โดยมีผู้แทนหลักในการขับเคลื่อนจำนวน 8 ประเด็น ดังนี้

1)ออกแบบระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนเพื่อสร้างพลเมือง ผู้ตื่นรู้

2)สร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล

3)ออกแบบระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างระบบ นิเวศที่ยั่งยืน

4)จังหวัดอาหารปลอดภัยและรักษาพันธุ์พืช/สร้างจุดเด่นด้านสมุนไพรและการ ดูแลสุขภาพชุมชน

5)การสร้างความมั่นคงของชุมชน (สวัสดิการชุมชนและที่อยู่อาศัย)

6)ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรม

7)ออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง และ

8)สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ดร.พา ผอมขำ ประธานอนุกรรมการสภาขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นกลไกหลักที่รวมทุกภาคส่วนมาร่วมทำงาน ให้ข้อมูลว่า การเคลื่อนงานนี้ได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ของจังหวัด มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จนนำไปสู่  การกำหนดเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกัน ใช้หลักคิด เติบโต (GROW) เกื้อกูล (SUPPORT) สร้างสรรค์ (CREATIVE) ยั่งยืน (SUSTAINABLE) โดยมีเป้าหมาย คือ เมืองคุณภาพชีวิตที่ดี ระบบเศรษฐกิจเกื้อกูล สิ่งแวดล้อมยั่งยืน  การเรียนรู้เพื่อชีวิตและชุมชน และเมืองเป็นของทุกคน

ในช่วงบ่ายเป็นการออกแบบปฏิบัติการ สร้างธรรมนูญว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งมิติ เขาป่า นา เล โดยจำลองการจัดการประชุมแบบ “สภาลุ่มน้ำทะเลสาบ” มีการกำหนดพื้นที่การขับเคลื่อนต่อจากต้นแบบที่มีได้แก่ ตำบลเกาะหมาก (บ้านช่องฟืน) เครือข่ายเขาบรรทัด เป็นต้น

นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวท้ายในที่ประชุมว่า สช. สนับสนุนการทำนโยบายสาธารณะผ่านกลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดพัทลุง ซึ่งเลือกประเด็น “พัทลุงเมืองผลิตอาหารปลอดภัย” มาเป็นฐานการขับเคลื่อนงาน ซึ่งเป็นจิ๊กซอหนึ่งนำไปสู่ความเป็นมหานครแห่งความสุขร่วมกัน จากนี้ไปจะร่วมกับเครือข่ายพัทลุงเพื่อวางเป้าหมายในการพัฒนาสุขภาวะภายในปี 2570 ว่าจะบรรลุเป้าหมายความสุขที่ตรงไหนและ สช. เองจะชวนออกแบบแผนการทำงาน พัฒนาตัวชี้วัดการขับเคลื่อนในแต่ละประเด็นร่วมกันต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics