"ประเมินภายใน ๔ ปี กขป.เขต ๑๒ ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 181,039 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,569 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 55,833 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 65,105 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 85,368 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,062 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,160 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 64,301 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,677 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,741 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 76,744 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,322 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 76,692 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 145,443 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,540 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 176,862 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 134,825 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 150,037 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 153,874 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 152,595 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 181,039 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 181,637 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 179,312 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 168,039 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 194,919 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 176,737 bytes.

"ประเมินภายใน ๔ ปี กขป.เขต ๑๒ ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ"

วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔  ทีมประเมินภายในกขป.เขต ๑๒ ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ นัดแกนนำเครือข่ายมาร่วมถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน ทบทวนเป้าหมาย กระบวนการ วิธีการ ผลที่ได้ นำมาสู่การค้นหาช่องว่างและข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อไป

๑.วิธีคิด/วิธีการ เป้าหมายของ กขป.เขต ๑๒ ดำเนินการ ๑)ชาวสวนยางพออยู่พอกิน ๒)ส่งเสริมเกษตรสุขภาพ ๓)ส่งเสริมตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมียุทธศาสตร์สำคัญคือ สวนยางยั่งยืน การอนุรักษ์พันธุกรรม การเฝ้าระวังสารเคมี การส่งเสริมเกษตรสุขภาพ การส่งเสริมตลาดอาหารสุขภาพ และการพัฒนาระบบสนับสนุน


๒.ผลการดำเนินงานสำคัญ

๒.๑ อนุกรรมการร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน ผลักดันแนวทางสวนยางยั่งยืนกับการยางแห่งประเทศไทย มีตัวแบบสวนยางยั่งยืนระดับพื้นที่ มีแผนงานสนับสนุนเกษตรกรที่อยู่ระหว่างดำเนินการ พื้นที่ดำเนินการหลักในจ.สงขลายังร่วมกับ Node flagship สสส. และร่วมกับธกสส.ภาคใต้ตอนล่างพัฒนา Application Greensmile ในส่วนสวนยางยั่งยืน ร่วมกับเกษตรกรต้นแบบมาตรฐานพรีเมี่ยมในสงขลาและพัทลุง

๒.๒ การอนุรักษ์พันธุกรรม ได้พัฒนาแบบฟอร์มและเก็บข้อมูลพืชอัตลักษณ์ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในหลายพื้นที่

๒.๓ การส่งเสริมเกษตรสุขภาพ และตลาดอาหารสุขภาพ ได้พัฒนา Platform Greensmile ร่วมกับธกส.ภาคใต้ตอนล่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลเกษตรกรรายบุคคลร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงเกษตรร่วมกับสนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางประกอบการจัดทำแผนงานสนับสนุน ผ่าน www.communeinfo.com และพัฒนาตลาดต้นแบบร่วมกับรพ.หาดใหญ่ สสจ.สงขลา เครือข่า่ยเกษตรสุขภาพจังหวัด/๔PWสงขลา ส่งผลผลิตมาตรฐาน GAP และ PGS เข้าระบบโรงครัวเพื่อจัดทำเมนูอาหารสุขภาพให้กับผู้ป่วยและตลาดกรีน รวมถึงตลาดรถเขียวที่เป็นตลาดเคลื่อนที่ พัฒนาแอพพลิเคชั่น Greensmile ในส่วนของการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ธนาคารต้นไม้ ปศุสัตว์ รองรับการรับรองมาตรฐาน PGS ให้กับกลุ่มเกษตกร พื้นที่หลักที่จะดำเนินการในช่วงแรกอยู่ที่สงขลา ตรัง


๓.วิธีการดำเนินงาน กขป.กำหนดเป้าหมาย Mapping ภาคีเครือข่ายมีใครทำอะไรที่ไหน ชวนมาร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ ร่วมปฎิบัติการตามประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งเชิงผลักดันเชิงนโยบาย การพัฒนาต้นแบบสร้างความร่วมมือในเชิงพื้นที่ พัฒนากลไกระดับจังหวัด


๔.ช่องว่างการขับเคลื่อนที่จะเติมเต็ม/ข้อเสนอแนะแนวทางการทำงานกับกขป.

๔.๑ ให้มีคณะทำงานวิชาการสนับสนุนการทำข้อเสนอเชิงนโยบายประกอบการขับเคลื่อน

๔.๒ เกษตรเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นรายย่อยที่มีแนวโน้มจะลดจำนวนลง อายุมากขึ้นมีผู้สืบทอดน้อยลง ที่ดินหลุดมือ ทุนใหญ่เข้ามารุกมากขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้การผลิตแบบเดิม ต่อไปควรแยกกลุ่มเกษตรกรเพื่อหาสนับสนุนบริหารจัดการเฉพาะ(เช่น กลุ่มแข็งแรงระดับ๑,๒ปานปลางและ ๓แข็งแรงที่สุด) ช่องว่างที่มักพบคือนโยบายเปลี่ยนบ่อย ไม่ต่อเนื่อง ปัจจุบันมีความช่วยเหลือจากภาครัฐลงมามาก(เชิงสงเคราะห์)ทำให้เกษตรกรไม่ตื่นตัวที่จะรวมกลุ่มกันดำเนินการ ประกอบกับเกษตรกรภาคใต้รวมกลุ่มกันยาก ต่อไปควรทำงานกับกลุ่มที่เข้มแข็งระดับกลาง สร้างรูปธรรมเป็นตัวอย่าง ใช้ตลาดนำการผลิต ใช้app Greensmile รองรับข้อมูลจากเกษตรกรรายย่อย หนุนเสริมการผลิตในอนาคต  และควรเชื่อมประสานกับภาครัฐ(โดยเฉพาะผู้ว่าฯ)/สส./สจ./อปท.อย่างใกล้ชิด โดยวางเป้าหมายร่วมกันสร้างรูปธรรมการขับเคลื่อนในแต่ละปีอย่างชัดเจน ไม่ต้องมากแต่ให้ครบวงจร

๔.๓ พื้นฐานการขับเคลื่อนควรมีเครือข่ายเกษตรกรระดับจังหวัดเป็นข้อต่อทำงานร่วมกับภาครัฐ ประกอบด้วยเกษตรกรจากกลุ่มต่างๆ มาทำแผนงาน/ยุทธศาสตร์ร่วมกันในแต่ละปี เพื่อจะได้ประสานการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ที่ควรเป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และร่วมกับหน่วยงานต่างๆร่วมปฎิบัติการในเชิงพื้นที่ตั้งแต่เริ่มต้น ให้ครบกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยกขป.จะใช้ platform ต่างๆมาช่วยจัดระบบบริหารจัดการ รูปแบบดำเนินการอาจจะมีทั้งแบบจังหวัดใหญ่และจังหวัดเล็ก

๔.๔ พัฒนาระบบสนับสนุนรายงานผลแต่ละช่วงเวลาดำเนินงาน สามารถรายงานตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น รายได้ที่เพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิต เป็นอย่างไร เกิดผลอะไรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

๔.๕ ปรับแผนปฎิบัติการ วางเกณณ์พิจารณาข้อสรุปว่าจะมีปฎิบัติการร่วมอะไร อย่างไร โดยคำนึงถึงความร่วมมือที่ควรมีเจ้าภาพหลัก/รองร่วมขับเคลื่อนที่ชัดเจน มากกว่าแค่เสนอแนวคิดที่อยากเห็นแต่ไม่มีเจ้าภาพดำเนินการ

๔.๖ เพิ่มบทบาทกขป.แต่ละคน ตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน จัดให้มีแผนปฎิบัติการและ Roadmap ในการขับเคลื่อน

๔.๗ บทบาทกขป.สร้างข้อต่อในการทำงานระหว่างภาครัฐ/เกษตรกร หยิบยกประเด็นเร่งด่วนของพื้นที่มาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Relate topics