เครือข่าย Node Flagship ตรังปรับตัวรับ COVID ระลอกใหม่

  • photo  , 960x720 pixel , 49,467 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 49,414 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 43,801 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 47,008 bytes.

ปรับตัวรับ COVID ระลอกใหม่

ด้วยสถานการณ์ระบาด COVID ระลอกใหม่ในทำให้แผนการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการฯในประเด็นยุทธศาสตร์เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและการจัดการขยะ ของNode Flagship จังหวัดตรังถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบ

จากเดิมนัดหมายวงประชุมเห็นน่าค่าตากันที่ห้องประชุมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง ก็ถูกขยับปรับเป็นประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM

วันนี้เป็นวงแรกสำหรับการประชุมออนไลน์กับทีมประเด็นการเตรียมรองรับสังคมทั้ง 12 พื้นที่/โครงการ ที่ชวนกันมาเรียนรู้กระบวนการ การติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา  Action Research Evaluation หรือ ARE

โดยมีทาง อ.ไพฑูรย์ ทองสม ไพฑูรย์ ทองสม จากทีม Node Flagship จังหวัดพัทลุง มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้หลักคิด และวิธีการจัดกระบวนการติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา

เก็บประเด็นจากการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้แก่

-ภายใต้กระบวนการ ARE นี้มี Keyword สำคัญ คือ

"ผลลัพธ์"  วัดการเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่การจัดกิจกรรม

"การเรียนรู้" ผลลัพธ์เกิดขึ้นหรือยัง

"การพัฒนา" แล้วเราจะไปต่ออย่างไร

-ภายใต้กระบวนการนี้ก็จะมี 3 เครื่องมือสำคัญ ได้แก่

1)บันไดผลลัพธ์

2)การออกแบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์

3)การออกแบบวงสะท้อนผลลัพธ์

สำหรับการออกแบบการเก็บข้อมูลผลลัพธ์  มีแนวทางได้แก่

1)ใช้ข้อมูลอะไรในการตอบตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2)แหล่งข้อมูล เก็บข้อมูลจากใคร/ที่ไหน 3)วิธีรวบรวมข้อมูล 4)ผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ 5) ระยะเวลา เก็บเมื่อไหร่

การสะท้อนผลลัพธ์แต่ละครั้งก็จะนำไปสู่การสร้างการเรียนรู้ของทีม ซึ่งสามารถปรับบันไดผลลัพธ์ ตัวชี้วัดเราให้คม ชัด ขึ้น อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แล้วต้องทำอะไรถึงจะบรรลุผลลัพธ์

การทำงานให้ focus ที่ตัวชี้วัดสำคัญก่อน สำหรับการคิดตัวชี้วัด ขอให้กำหนดตัวชี้วัดที่เป็นไปได้ ท้าทาย และไม่ต้องเยอะ

เป้าหมายการสะท้อนในวงAREแต่ละครั้งก็จะทำให้คณะทำงานเรียนรู้ และนำไปสู่การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

สำหรับผู้มีส่วนร่วมในวงARE ต้องประกอบด้วยคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย และภาคี

แม้ผมจะมีโอกาสฟังเรื่องราวในกระบวนการ ARE มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ได้มาฟังครั้งนี้ก็ทำให้เข้าใจชัดขึ้น ทั้งช่วยทวนสอบพวกเราตั้งแต่การพัฒนาโครงการ การคิดตัวชี้วัดในแต่ละผลลัพธ์ เห็นข้ออ่อนพวกเราในช่วงขาขึ้นโครงการ ทำไปเรียนรู้พร้อมกันไปกับพื้นที่

พรุ่งนี้ลุยกันต่อกับการประชุมพัฒนาศักยภาพการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนากับทางทีมประเด็นยุทธศาสตร์การจัดการขยะ

ไว้จะมาเก็บตกเล่าสู่กันฟังนะครับ

17 เมษายน 2564

#ARE

#เตรียมรองรับสังคมสูงวัย

#NodeFlagshipTrang

เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว

Relate topics