ประชุมระดับชาติเรื่องมลพิษทางอากาศ ครั้งที่ 1 Thailand National PM 2.5 Forum “อากาศสะอาด : ความรับผิดชอบร่วมของรัฐ เอกชน และประชาสังคม”

  • photo  , 1000x750 pixel , 213,422 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 148,032 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 234,837 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 184,064 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 238,909 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 211,832 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 174,348 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 214,684 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 167,281 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 210,152 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 182,225 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 176,971 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 173,792 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 158,186 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 147,455 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 147,664 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 122,344 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 169,070 bytes.
  • photo  , 1481x1105 pixel , 160,474 bytes.
  • photo  , 1452x1127 pixel , 192,813 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 151,220 bytes.

เริ่มต้นการประชุมระดับชาติ ..

เรื่องมลพิษทางอากาศ ครั้งที่ 1 Thailand National PM 2.5 Forum หัวข้อ “อากาศสะอาด : ความรับผิดชอบร่วมของรัฐ เอกชน และประชาสังคม”

ในฐานะผู้แทนกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.เขต 12) ในวันนี้ (3 ธันวาคม 2566)

ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมภายในงานเทศกาลเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ เป็นการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยว และพื้นที่รูปธรรมในด้านการจัดการขยะ การจัดการพื้นที่สีเขียว เพื่อลดปัญหาฝุ่นควันของพื้นที่

ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ภายในงานประชุมในครั้งนี้

ที่แรกที่เราไป คือ อบต.ช้างเผือก

เป็น อบต. แห่งเดียวในเขต อ.เมืองเชียงใหม่ มีพื้นที่ 3ส่วนหลักๆ คือ ป่า เมือง และสถานที่ราชการ อาณาเขตของพื้นที่ค่อนข้างกว้าง แต่ประชากรน้อยมากๆ จากตัวที่ตั้ง อบต. ไปหมู่บ้านบนดอยของตำบลใช้เวลาเดินทาง 1ชม.

ข้อจำกัดของที่นี่ คือ ตัวกฎหมาย และระบบงบประมาณ มีข้อเสนอให้ปลดล็อคท้องถิ่น รวมถึงกระจายอำนาจให้จัดการตนเองได้ บ่อยครั้งที่ อบต. ต้องขอสนับสนุนงบฯ จากเทศบาลที่มีขนาดใหญ่กว่า

แต่ที่น่าสนใจคือ ตัวนายก อบต. เป็นชนเผ่าม้ง มีความตั้งใจในการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาชุมชนอยู่ 2ด้าน คือ การพัฒนาคน และการพัฒนาการท่องเที่ยว

ในส่วนการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น เป็นการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรชุมชนเป็นฐานการพัฒนา และการจัดการพื้นที่สีเขียวให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ที่ที่สองที่เราไปดู คือ เทศบาลนครเชียงใหม่

ไปดูสถานีวัสดุใช้แล้ว เป็นที่ที่ใช้ในการคัดแยกและจัดการขยะ เขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีการเกิดขึ้นของขยะวันละหลายตัน ที่นี่จึงเป็นสถานี เป็นศูนย์ เป็นโรงจัดการขยะ เพื่อให้เกิดมูลค่าวัสดุเหลือใช้ ให้เกิดประโยชน์สู่ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซม ดัดแปลง ประยุกต์ใช้ หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ

อย่างเก้าอี้จากล้อรถยนต์นี้ ก็สร้างมูลค่าใหม่ได้น่าสนใจมากๆ ซึ่งในปี 65 ที่ผ่านมาเทศบาลฯ ได้รับบริจาคยางรถประมาณ 600กว่าเส้น ก็นำมาผลิตเป็นเก้าอี้เก๋ๆ แล้วไปมอบให้ รร. หรือชุมชนต่างๆ

ถือเป็นการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ และลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน รวมถึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะได้อย่างมหาศาลเลย

และที่สุดท้ายที่ไป ก็คือ โรงแรมรายาเฮอริเทจ

ที่นี่เป็นโรงแรมเปิดใหม่ไม่ถึง 5 ปี ในตัวเมืองเชียงใหม่ ที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นเลิศเลยทีเดียว จนได้รับรางวัล (อะไรสักอย่างนี่แหละ จำไม่ได้) ด้านสิ่งแวดล้อม

ด้วยความที่ตัวโรงแรมอยู่ติดแม่น้ำปิง จึงมีการวางคอนเซ็ปของที่นี่ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ การออกแบบชวนให้นึกถึงล้านนาในอดีต และการผสมผสานทางวัฒนธรรมและการบริการ ที่สำคัญมีการคืนกำไรสู่สังคมด้วยการทำงานร่วมกับชุมชน

แรงบันดาลใจของที่นี่เกิดจากวิถีชีวิตที่เรียบง่ายริมแม่น้ำปิง พาให้หลงไหลสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์พื้นบ้านของคนล้านนา

ในส่วนของห้องพักของรายาเฮอริเทจนั้น เริ่มต้นด้วยราคา (เบาๆ มากๆ ) ตั้งแต่ 9,900 บาทขึ้นไป จนถึงห้อง Top suite room ที่ผมเซลฟี่นั้นก็ (แค่) 23,000 บาทต่อคืน

ครึ่งวันเช้าแรกของผมกับภารกิจ Forum ในฐานะผู้แทน กขป.เขต 12 วันนี้ ก็อย่างที่เล่าไปนั้นแหละครับ ยาวหน่อย แต่เป็นประโยชน์มากๆ ครับ


ช่วงบ่ายของวันแรกในเวที Thailand National PM 2.5 Forum  กับการเข้าร่วมรับฟังเสวนา “นโยบายและมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศที่ประเทศต้องการ” ซึ่งเป็นการแบ่งห้องย่อยตามประเด็นที่ผู้เข้าร่วมแต่ละท่านสนใจจำนวน 7ประเด็น ดังนี้

ห้องย่อย 1  ระบบสุขภาพไทยพร้อม ? เผชิญโรคและผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ

ห้องย่อย 2  การจัดการมลพิษอากาศจากไฟป่า ไฟในที่โล่ง และมลพิษข้ามแดน โดยภาครัฐ ภาค ท้องถิ่น และภาคประชาสังคม

ห้องย่อย 3  การจัดการมลพิษอากาศภาคการเกษตรโดยการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต

ห้องย่อย 4  การจัดการมลพิษอากาศภาคอุตสาหกรรม

ห้องย่อย 5  การร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการ

ห้องย่อย 6  องค์ความรู้ทางวิชาการกับการจัดการมลพิษทางอากาศระดับชุมชนและสังคม

ห้องย่อย 7  สิทธิมนุษยชนในอากาศสะอาดในภูมิภาคอาเซียน

ซึ่งผมเองด้วยความที่จบกฎหมาย และมีความสนใจด้านสิทธิ/หน้าที่ของรัฐ และประเด็นสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ จึงเลือกที่จะเข้าห้องย่อยที่ 7 ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในอากาศสะอาดในภูมิภาคอาเซียน

ห้องนี้มีการพูดคุยกันถึงอากาศสะอาดกับสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน โดยต่างยอมรับสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชน

ทุกคนต้องมีสิทธิที่จะหายใจอากาศสะอาด เพื่อไม่ตายก่อนวัยอันควร

มีการนำเสนอโมเดลกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสิงคโปร์ รวมถึงการผลักดันกฎหมายอากาศสะอาดของภาคประชาชนของไทยด้วย ซึ่งขณะนี้ยังค้างอยู่ในสภาฯ รอรับการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป

มีข้อค้นพบประการหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับห้องย่อยนี้ คือว่าด้วยเรื่องมลพิษข้ามพรมแดน และความรับผิดชอบของรัฐนั้น ซึ่งประชาชนต้องการสิทธิ รัฐต้องมีหน้าที่ แต่เมื่อรัฐทำหน้าที่ ที่ไปกระทบกับสิทธิของผู้คน เราจะ Balance เรื่องนี้ให้สมดุลกันยังไงดี ?

จบจากเวทีห้องย่อย พี่จาฯ ผู้ช่วยเลขาฯ สช. ชวนประชุมเครือข่าย กขป. ทั้ง 13 เขต กันนอกรอบ ได้อัพเดทเรื่องราวของแต่ละเขต พูดคุยกันถึงประเด็นงานเดิมและงานใหม่ที่พร้อมลุยภายใต้เลขาฯ สช. ท่านใหม่ และ คสช. ชุดใหม่ด้วย


อับดุลปาตะ ยูโซะ  บันทึกเรื่องราว

ในฐานะผู้แทนกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขต 12 ในการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่องมลพิษทางอากาศ ครั้งที่ 1

Thailand National PM 2.5 Forum    หัวข้อ “อากาศสะอาด : ความรับผิดชอบร่วมของรัฐ เอกชน และประชาสังคม”

ระหว่างวันที่ 3 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566    ณ  ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ จ.เชียงใหม่

Relate topics