ทิศทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการจัดระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

by Kamoltip Intano @5 ม.ค. 67 11:45 ( IP : 171...222 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ : ส่วนกลาง
photo  , 1567x1045 pixel , 169,374 bytes.

วันที่ 3 มกราคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เข้าร่วมหารือทิศทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการจัดระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

สช.โดย นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และนางสาวปรานอม โอสาร เข้าร่วมหารือประชุมร่วม 1+4 ณ ห้องประชุม 401 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เพื่อบูรณาการเป้าหมาย บทบาทภารกิจหน่วยงาน ประเด็นร่วม กลไกการขับเคลื่อน เข้าสู่คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ตามมาตรา 47 กำหนดว่าเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการะบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545  โดยมี นพ. เติมชัย เต็มยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พญ. สุพัตรา ศรีวณิชชากร นพ. ประจักษ์ เล็บนาค ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ. พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นางสาวนงลักษณ์ ยอดมงคล ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นายวีระชัย ก้อนมณี นายดุสิต ศรีโคตร รศ.ดร. วิทยา อยู่สุข คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เป็นต้น

นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ เสนอต่อที่ประชุมถึงบทบาทภารกิจ ประเด็นสำคัญ และแนวคิดการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นว่า สช. มีธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่ให้ความสำคัญระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ระบบสุขภาพที่มุ่งให้เกิดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และประเด็นการขับเคลื่อนสำคัญของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาประชากรให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย สำหรับการทำงานกับท้องถิ่นควรมุ่งเน้นการสร้างระบบสุขภาพท้องถิ่น ที่ควรวางแผนการทำงานระยะยาวให้เป็นทศวรรษการพัฒนาสุขภาพท้องถิ่น โดยใช้ 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ (Six Building Blocks of Health System) ขององค์การอนามัยโลกเป็นฐานการวางระบบสุขภาพให้กับท้องถิ่น พร้อมทั้งวางระบบกำกับ ติดตาม ประเมินผลให้ชัดเจน เช่น มีการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA) ที่กำหนดมิติด้านสุขภาพให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากท้องถิ่นเข้ามีบทบาทสำคัญทางด้านสุขภาพมากขึ้น ตลอดจนการจัดทำมาตรฐานบริการปฐมภูมิที่คุณภาพและมีส่วนร่วมอย่างไร
ที่ประชุมมีข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้

o เป้าหมาย คือ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยสนับสนุน ประสานเครือข่าย เสริมพลังให้ท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นฐานในการจัดการตนเอง (ระบบสุขภาพพื้นที่) ให้เกิดระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้เกิดกับบุคลในท้องถิ่นหรือพื้นที่และระบบสุขภาพที่เป็นธรรม

o ประเด็นร่วมเร่งด่วน ได้แก่ ขับเคลื่อนตามแนวคิดจากครรภ์มารดาสู่เชิงตระกอน โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้เกิดดี โตดี และตายดีอย่างไร

o กลไกระดับจังหวัดมุ่งเน้นที่กลไกคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.)

o แต่งตั้งคณะทำงานภายใต้อนุกรรมการฯ จำนวน 2 ชุด

o ผลผลิต ร้อยละ 100 ของพื้นที่ มีการจัดระบบหลักประกันสุขภาพใน 4 ปี

o ผลลัพธ์ การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน effective coverage

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics