เสียงของผู้หญิงเด็กและเยาวชนในมิติสังคมวัฒนธรรมชาวใต้"เพื่อสวัสดิการคุ้มครองเด็กเยาวชนสตรีกับการสร้างครอบครัวที่มุ่งหวัง

  • photo  , 1920x1080 pixel , 198,442 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 106,277 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 158,235 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 110,321 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 89,822 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 202,034 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 193,172 bytes.

เวที "เสียงของผู้หญิงเด็กและเยาวชนในมิติสังคมวัฒนธรรมชาวใต้"เพื่อสวัสดิการคุ้มครองเด็กเยาวชนสตรีกับการสร้างครอบครัวที่มุ่งหวัง"

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565  เวลา 09.00น สถาบันนโยบายสาธารณะและเด็กเท่ากัน  จัดเวที "เสียงของผู้หญิงเด็กและเยาวชนในมิติสังคมวัฒนธรรมชาวใต้"เพื่อสวัสดิการคุ้มครองเด็กเยาวชนสตรีกับการสร้างครอบครัวที่มุ่งหวัง"

ผ่านระบบออนไลน์มีผู้เข้าร่วม 146 คน

อภิปราย

สถานการณ์และผลกระทบต่อเด็กผู้หญิงและครอบครัวในภาคใต้ โดยนางสุดใจ พรหมเกิดตัวแทนคณะทำงานภาคใต้

ทบทวนข้อเรียกร้อง สวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กๆแบบถ้วนหน้าให้เด็กได้เข้าถึง 100% ขณะนี้ ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงมาก มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดคนจนใหม่และภาวะคนว่างงานเพิ่มอย่างรวดเร็ว ครอบครัวที่มีเด็กเล็กอายุ 0-6  ปี ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในสัดส่วนที่สูงกว่าครอบครัวที่ไม่มีเด็กเล็ก เช่น รายได้ลดมากกว่า 81% และมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 50% เป็นหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น เด็กเล็กเข้าไม่ถึงบริการด้านสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปิดส่งผลต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ทุโภชนาการ ปัญหาพัฒนาการทางร่างกายและสมอง เสี่ยงต่อปัญหาความรุนแรง และมีจำนวนเด็กเล็กที่ได้รับเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ในสถานการณ์ยากลำบากเช่นนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งรัดนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอายุ 0-6 ปีแบบถ้วนหน้า ซึ่งผ่านมติ กดยช.แล้ว ให้จัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าเดือนละ 600 บาทต่อคนต่อเดือน ดำเนินการในปีงบประมาณ 2565นี้

ในการจัดเวทีประเมินสถานการณ์เด็กเล็ก  โดยมาเรียม  ชัยสันทนะ สมาคมฟ้าใส

ส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชายแดนใต้

ทบทวนขอเรียกร้องผู้ที่มีหัวใจทีรักเมื่อ ปีที่แล้วได้จัดเวทีเงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้าอยากให้รัฐบาลให้สวัสดิการถ้วนหน้าให้โอนถ่ายภารกิจให้ผู้ว่าบรรจุ วาระของจังหวัดสนับสนุนให้เกิดแผนงานทั้งประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับท้องถิ่นกระจายให้ทั่วการป้องกันการฉีดวัคซีน ปกครองท้องถิ่นกําหนด

นโบายลดผลกระทบคุณภาพชีวิตดูแลพัฒนาการของเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอยากเห็นความมั่นคงภาวะการดูแลอาหารโภชนาการ สติ ปัญญา และเรียกร้องให้เครือข่ายสื่อสารใน14 จังหวัดช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับทุกระดับให้เข้าถึงสวัสดิการ

รัฐสนับสนุนสวัสดิการถ้วนหน้า100% เด็กไจะไดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์ผู้หญิงชายแดนใต้    โดย ปาตีเมาะเปาะอีแตดาโอ๊ะนายกสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ

สถานการณ์ผู้หญิง การมีส่วนร่วมของผู้หญิง ผู้หญิงในฐานะผู้เยียวยาผู้หญิงในฐานะผู้สร้างความเข้าใจ ผู้หญิงในฐานะผู้อำนวยการความสะดวกระหว่างกลุ่มขัดแย้งในระดับชุมชน ผู้หญิงในกองกำลังความมั่นคงที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชน และภาครัฐ ผู้หญิงจัดตั้งเครือข่ายช่วยสันติภาพ

ปัญหาผลกระทบ คุณภาพชีวิตที่ถดถอย กลุ่มเปราะบางขาดรายได้ คุณภาพการดูแลเด็ก การศึกษาและความรุนแรงในครอบครัว

การศึกษาเด็กเรียนออนไลน์ ปัญหารายได้ คุณภาพชีวิตและปัญหาสถานการณ์โควิค

เด็กกําพร้าการสูญเสียครอบครัว ในสถานการณ์โควิคอยากให้เด็กเล็กเข้าถึงการฉีดวัคซีน การปฏิเสทการฉีดวัคซีน เด็กตัวเหลืองขาดโภชนาการ ได้รับการร้องเรียนมา 300 ครอบครัวไม่ได้ค่าเลี้ยงดู มีการทําร้ายร่างกาย ติดยาเสพติด ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ผลักดันในเรื่องนี้ การสร้างความเข้าใจ การสร้างสันติภาพในพื้นที่ และอยากให้มีตัวแทนผู้หญิงนั่งโต้ะเจรจาเพื่อสันติภาพในพื้นที่

ทำไมต้องมีสวัสดิการอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า  โดยโยธิน ทองพวา ประธานสภาเด็ก และเยาวชนแห่งประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เรื่องเศรษฐกิจค่าครองชีพ ทำให้ลดลงของสมาชิกเล็กลง ต้นทุนการศึกษาราคาสูงไป มีเทคโนโลยีเรียนทางออนไลน์ ที่อยู่อาศัยเล็กลงลดลง ค่านิยมเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางเพศ รักอิสระ ที่อยู่อาศัยแบบถาวรลดจำนวนลงที่ถาวรในเมืองคอนโดขยายที่คับแคบลงลดจำนวนลงสมาชิกในครอบครัว ไม่จดทะเบียนครอบครัวไทยไม่อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา การกระเทือนใจ การฆ่าตัวตายของเด็ก การคุ้มครองเด็กครอบครัวทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนลดลง  คุณภาพชีวิตของประชากรยุคนี้ลดลง

อยากให้คุณภาพชีวิตที่ดีประชากรทั่วประเทศ ไปดูแลที่สังคมไทยปัญหาการถูกทอดทิ้ง อยากให้อุดหนุนสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เงินอุดหนุน 600 บาทยังน้อยอยู่การดูแลผู้สูงอายุ ชี้ให้เห็นการสร้างครอบครัวต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐได้รับสนับสนุนถ้วนหน้า เชื่อมโยงผลักดันให้เกิด

ท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาคนคุณภาพชีวิตเด็กเล็กและผู้หญิงโดยพรศักดิ์คงชนม์เจริญนายกเทศมนตรียะลานายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลครอบครัวแห่งอนาคต

ท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากสะท้อนมุมมองของที่มาการพัฒนา. ในแง่อุดหนุน เงินอุดหนุน600 บาทไม่มากนักเด็กจำนวน 4 ล้านคนสัดส่วนของรัฐบาลมีความคุ้มค่า  จากสถานการณ์โควิคการสูญเสีย การไม่เปิดสถานที่ ปิด มีความเสียหายมูลค่าเสียหาย การได้ดูแล อาหารปัจจัย 4

การเข้าไปดูแลเยาวชน การจัดตั้งกองทุน

ความเหลื่อมล้ำ ด้านการศึกษา ต่างๆ การเรียนออนไลน์ให้ครูสอนให้แทบเล็ต ด้านงบประมาณ

ผลกระทบ covid นำพาเศรษฐกิจต่ำ  ผลตามมาให้ดูแลการศึกษาเพราะเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้าต้องสนใจเยาวชนให้มากขึ้น

สถานการณ์ ผู้คนประสบความยากลำบาก  อยู่กับประชาชนร่วมกันสร้างลดความเหลื่อมล้ำให้น้อยที่สุด ใช้งบประมาณบางส่วน มองในอนาคตการพัฒนาของเด็ก เด็กขาดโอกาส การสนับสนุนด้านเทคนิคต่างๆได้เรียนรู้

สวัสดิการอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า  โดย อ.สุนี ไชยรส  เครือข่ายเด็กเท่ากัน 340 องค์กร

การขับเคลื่อนสวัสดิการเงินอุดหนุนทุกวันนี้แม้เราจะมีสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอยู่แล้ว โดยให้เงินสำหรับเด็กอายุ 0-6 ปี จำนวน 600 บาทต่อคนต่อเดือน แต่ก็ยังเป็นการให้เฉพาะกับครอบครัวยากจนที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี มองเผินๆ การให้แบบเจาะจงก็ดูเป็นแนวทางที่เหมาะสม แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่ามีเด็กยากจนกว่า 30% ตกหล่นจากการคัดกรอง เพราะไม่สามารถก้าวผ่าน ‘กระบวนการพิสูจน์ความจน’ ได้

จากที่เงินอุดหนุนเด็กควรจะเป็นตาข่ายรองรับไม่ให้เด็กร่วงหล่นยามพ่อแม่เผชิญวิกฤต แต่กระบวนการเช่นนี้กลับเป็นเงื่อนปมใหม่ที่ผูกซ้ำความจนของเด็ก ยังไม่นับรวมโควิดที่เข้ามาตอกย้ำวิกฤต ทำให้คนที่ยิ่งจนมากก็ยิ่งเจ็บหนัก สภาพเช่นนี้ย่อมส่งผลต่อ ‘พัฒนาการ’ ของเด็กเล็กอย่างเลี่ยงไม่ได้

นี่เป็นเพียงหนึ่งจากในหลายเหตุผลว่าทำไมสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กควรเป็นแบบถ้วนหน้า

ผู้หญิงทุกคนมีพลังมาก รัฐบาลยังไปไม่ถึงสวัสดิการ การสร้างสังคมกินดีอยู่ดีมีสุขมีสิทธิ สวัสดิการพื้นฐานเพื่อคุ้มครองทางสังคมทั้งระบบ เด็กเล็กมีความสำคัญมาก การลงทุนให้กับเด็กที่คุ้มค่ามาก เด็กจะไม่ย้อนกลับมาได้มาใช้ได้อีก ทุกคนไดพูดถึงการ

กระจายอำนาจ พลังของผู้หญิง การหาเสียงแล้วไม่ทำ และการสื่อสารยุคใหม่

ดำเนินรายการโดยนิพนธ์รัตนาคมนายกสมาคมอาสาสร้างสุข

หลังจากนั้นเป็นการเสวนาภาพฝันการสร้างครอบครัวคุณภาพเพื่อคนแห่งอนาคตชาติที่รอไม่ได้

สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

คุณอรวรรณ  หารทะเล  เครือข่ายชาติพันธุ์ภาคใต้

นายซาหดัม แวยูโซ๊ะ ตัวแทนสมาคมเด็กและเยาวชนชายแดนใต้

นายพิทักษ์เดช ชุมไชโย  ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดพัทลุง

นางจุฑารัตน์ สถรปัญญา  หน่วยเวชศาสตร์ชุมชนสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ครอบครัวคณะแพทย์ศาสตร์

ดำเนินรายการโดย  ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม

นักวิชาการด้านสื่อและเครือข่ายสื่อภาคใต้

ข่าว  ยะห์ อาลี

Relate topics