“เติมสุขโมเดล : สิงหนคร”

  • photo  , 1000x563 pixel , 106,702 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 179,932 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 155,828 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 170,890 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 109,588 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,951 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 132,708 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 167,643 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 151,132 bytes.

“เติมสุขโมเดล : สิงหนคร”

วันที่ 18 ตุลาคม 2566 กองสาธารณสุข อบจ.สงขลานัดหมายประชุมภาคีเครือข่ายสร้างความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตพื้นที่นำร่องการถ่ายโอนรพ.สต.อำเภอสิงหนคร ณ สวนเทพหยา หมู่ 3 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย รพ.สต.ในพื้นที่ ผู้แทนอปท. การท่องเที่ยวและกีฬาฯ ชมรมกำนันผญ. ประธานผู้สูงอายุในพื้นที่ อสม. วิทยาลัยพยาบาลฯ ม.ราชภัฎสงขลา สกร.(กศน.) มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา บริษัท ซี เวลท์ โฟรเซ่น ฟู้ด จำกัด มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ฯ

ที่ประชุมได้แนะนำตัว ชี้แจงวัตถุประสงค์ที่จะให้ภาคีเครือข่ายร่วมให้ข้อมูลการทำงานในพื้นที่ และเติมเต็ม(ร่าง)แนวทาง "เติมสุขโมเดล: สิงหนคร" มีข้อสรุปดังนี้

1.เห็นชอบต่อเป้าหมาย ให้ประชาชนอำเภอสิงหนคร เข้าถึงระบบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมายหลัก 1)ผู้สูงอายุ 2)กลุ่มวัยแรงงาน ให้สามารถเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐาน โดยกลุ่มผู้สูงอายุรับผิดชอบโดยรพ.สต. อปท.ชมรมผู้สูงอายุและเครือข่าย

ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ทำงานเชิงรุก ขยายกลุ่มเป้าหมายเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ทำงานกับกลุ่มก่อนสูงวัยมากขึ้น ในส่วนกลุ่มแรงงานทำงานร่วมกับประกันสังคม รวมถึงบริษัทเอกชนในพื้นที่และอปท.

2.ยุทธศาสตร์ร่วม

1)การพัฒนาระบบบริการสาธารณะ

ด้านสุขภาพ

1.การคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมมิติสุขภาพ สภาพแวดล้อม สังคม

2.การบริการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพพัฒนาระบบการส่งต่อและการแพทย์ฉุกเฉินดำเนินการร่วมกับศูนย์สร้างสุขชุมชนธนาคารยืมคืนกายอุปกรณ์ธนาคาร 1,000 เตียง

3.การสร้างเสริมสุขภาพบนฐานสภาพปัญหาในปัจจุบันได้แก่วัยแรงงานในโรงงาน ผู้สูงอายุ เป็นเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง

ด้านคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานในด้านต่างๆ

1.ความเป็นอยู่(สภาพบ้าน-ราวจับ-สิ่งอำนวยความสะดวก)

2.ด้านการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต

3.ด้านเศรษฐกิจฐานราก/การออม 4.ด้านการคุ้มครองทางสังคมและบริการภาครัฐ การรวมกลุ่ม/ธรรมนูญชุมชน

2)การจัดการความรู้ เทคโนโลยีและนวตกรรม

1.การพัฒนาคน ทั้งอสม. แพทย์แผนไทย cg และแก้ปัญหาบุคลากรทางวิชาชีพที่ขาดแคลน

2.การวิจัย ม.ราชภัฎติดตามผลช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน

3.การสร้างนวตกรรมบริการสาธารณะ ผ่านแผนสุขภาพรายคน การพัฒนาศูนย์สร้างสุขชุมชน ศูนย์ยืมคืนกายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมแบบซักได้ ฯลฯ

3)การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล

1.ประสานการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการระดับอำเภอ

2.การพัฒนาระบบสนับสนุน

-การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ ใช้ระบบข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com

-การจัดทำแผนปฎิบัติการร่วมในแต่ละปี

-การติดตามประเมินผล

ต้นทุนการดำเนินงานในพื้นที่

-ต.ป่าขาด : นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลฯสำรวจข้อมูล ม.3 บ้านเทพหยา ประชากรรวม 515 คน ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 83 ครัวเรือน พบอายุ 60 ปีมากถึงร้อยละ 20 ประชากรผู้สูงอายุ 88 คน ติดสังคม 77 คน ติดเตียง 1 คน กลุ่มนี้ไม่ได้ทำงานหรือเป็นแม่บ้าน ใช้สิทธิ์บัตรทองเป็นหลัก พฤติกรรมเสี่ยงที่พบมากที่สุดได้แก รับประทานอาหารรสจัด กินจุกจิก ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ขณะเดียวกันมีปัญหาสุขภาพ ปวดเมื่อย ไอ เจ็บคอ โรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด และเบาหวาน สาเหตุการตายเสียชีวิตจากความดัน/สมองเสื่อม/อุบัติเหตุ/ปวดบวม การเจ็บป่วยที่พบเกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ ความดัน ฟันผุ ทีมศึกษาเสนอว่าควรเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพมิติต่างๆจะช่วยความเสี่ยง
การดูแลสุขภาพในพื้นที่ กรณีติดเตียงมีข้อติด/แผลกดทับ จะมีนักกายภาพจากรพ.มาทำบำบัดให้จนสามารถฟื้นฟู  กลุ่มติดบ้าน อสม.ลงดูแลเดือนละ 2 ครั้ง รพ.สต.ไปเดือนละครั้ง กลุ่มติดสังคม อสม.ลงเยี่ยมเดือนละครั้ง รพ.สต.ดูแลปีละครั้งด้วยการคัดกรองสุขภาพ ขณะชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าขาด ก็มีการไปเยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง มีกิจกรรมลดรายจ่ายในครัวเรือน มีกิจกรรมออกกำลังกาย/สันทนาการ

-ต.บ่อทราย : มีผู้สูงอายุ 300 กว่าคน กิจกรรมมีการเยี่ยมบ้านโดยอสม.และมีเครือข่ายอบต./ผู้นำท้องที่ร่วมดูแลคุณภาพชีวิต กำลังฟื้นฟูชมรมผู้สูงอายุมาเป็นแกนในการขับเคลื่อน ปีที่ผ่านมาได้ปรับสภาพบ้าน 3 หลัง เน้นกลไกอสม.ดูแลให้คำแนะนำญาติ

-ต.วัดขนุน มี cg ลงเยี่ยมตาม careplan และมีทีมแพทย์ลงร่วมในกลุ่มผู้ป่วยหนัก ยังมีข้อจำกัดในการให้บริการด้านบุคลากร ที่นี่มีศูนย์กายอุปกรณ์สำหรับให้ยืมหมุนเวียนใช้งาน มีการทำงานร่วมกันระหว่างอสม./cg/พยาบาล ดูแลผู้ป่วย LTC ใช้กองทุนสุขภาพตำบลสนับสนุนผ้าอ้อม รวมกับ 1669 (การแพทย์ฉุกเฉิน) ในพื้นที่มีประชากรวัยแรงงาน 1500 คน บางส่วนมารับบริการที่รพ.สต. แนวคิดสำคัญ คือฝึกทักษะ อสม.ในการทำงานเชิงรุกตามสภาพปัญหาผู้ป่วย

-ต.ชะแล้: มีการทำธรรมนูญสุขภาพมาตั้งแต่ปี 2552 ชะแล้เป็นจุดเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายภายนอก(มอ./วิทยาลัยพยาบาลฯ)ทำงานร่วมกับรพ.อำเภอ มีการคัดกรองผู้สูงอายุ ADL(ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง) มีชมรมผู้สูงอายุทำกิจกรรมโนราบิก เตรียมทำ center ดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย การทำงานจะร่วมกันเป็นทีมกับภาคีภาคส่วนต่างๆ มีการประชุมและมอบภารกิจ ช่วยกันหางบสนับสนุน มีกิจกรรมดูแลผู้ยากไร้ร่วมกับชมรมกำนัน ผญบ.

-ต.รำแดง : ทำงานอย่างต่อเนื่องมากว่า 6 ปี นำผู้สูงอายุไปวัด มีโรงเรียนผู้สูงอายุสมาชิก 250 คน เรียนทุกวันอาทิตย์ เรียนต่อเนื่อง 8 เดือน ให้สามารถแสดงศักยภาพ มีกิจกรรมการซ่อมบ้านปรับสภาพบ้าน ออกกำลังกาย ฯลฯ ได้รางวัลชมรมผู้สูงอายุดีเด่น มีCM มีครูสอนการออกกำลังกาย อย่างไรก็ดี ต้องการกายอุปกรณ์เพิ่มเติม(เตียง/ถังออกซิเจน) ให้มีศูนย์กายอุปกรณ์ยืม-คืนสำหรับอำเภอ ต้องการช่างซ่อมอย่างน้อย 1 คนประจำศูนย์ แนวคิดสำคัญของรำแดงคือ การดูแลทุกช่วงวัย(จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน) เนื่องจากปี 2559 เข้า LTC ดูแลผู้ป่วยติดเตียง เห็นปัญหาเลยต้องการทำงานเชิงรุก

-ต.ชิงโค : เป็นพื้นที่อยู่ระหว่างการทำงานของอบต.และเทศบาล มีข้อจำกัดเรื่องผ้าอ้อมสำเร็จรูป การคัดกรอง ADL ทำโดยอสม. เพิ่งมีกิจกรรมสอนการใช้แอพฯ และกำลังฟื้นฟูชมรมผู้สูงอายุ

-รพ.สต.บ้านสถิตย์ : พื้นที่อยู่ร่วมกับทม.สิงหนคร ในส่วนชมรมผู้สูงอายุไม่ขาดความต่อเนื่อง ขณะที่ CG มีไม่พอกับการดูแลผู้สูงอายุ แต่ก็ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา สื่อสารผ่านกลุ่ม line และใช้ระบบการแพทย์ทางไกล

-ต.ทำนบ : ผู้สูงอายุทำโครงการกองทุนขยะบุญ(พร้อมมีหมู่บ้านตัวอย่างจัดการขยะเปียก)ดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีชมรมคนรักสุขภาพตำบล ออกกำลังกายที่เหมาะสมวัย ส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์บริโภค ในพื้นที่มีบริษัท ซี เวลท์ โฟรเซ่น ฟู้ด จำกัด มีสมาชิก 2 พันคน ที่นี่ตรวจสุขภาพประจำปี สามารถเข้ามาช่วยชุมชน มีกิจกรรมcsr ทำงานกับชุมชน อยากทำงานร่วมกันกับอบจ.ในการดูแลสมาชิกในบริษัท

นอกจากนั้นมีภาคีร่วมนำเสนอ ได้แก่ การท่องเที่ยวและกีฬา ทำงานในอำเภอดูแลด้านสุขภาพ สรรหานักกีฬาผู้สูงอายุ มีอสก.(อาสาสมัครกีฬาและนันทนาการ) สามารถประสานงานทำกิจกรรมโดยเฉพาะการออกกำลังกาย และประสานข้อมูล

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ : สนับสนุนการทำแผนสุขภาพรายคน และการทำงานร่วมกันในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน สวนเทพหยาเริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรมกับเยาวชน เชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ปัญญา ต่อไปต้องการเป็นศูนย์บริบาลผู้สูงอายุในพื้นที่ ต้องการเป็นสถานที่ทำกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุระหว่างสวนเทพหยาและบ้านธรรม มีกิจกรรมสนทนาธรรมทุกวันเสาร์

โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้

1)เพิ่มการบริการ ผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะผู้สูงอายุไม่มีลูกหลานดูแล สามารถไปดูแลถึงบ้าน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว

2)การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ควรทำกับกลุ่มวัยก่อนเป็นผู้สูงอายุ มิติด้านเศรษฐกิจครัวเรือนมีความสำคัญ รวมถึงการจัดสวัสดิการ ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน

3)ภาคีมีหลากหลาย ต่างมีข้อมูล แต่ยังไม่เชื่อมโยงเป็นฐานเดียวกัน ควรบูรณาการไปด้วยกัน

4)สังคมภายนอกยังมีข้อกังวลช่วงเปลี่ยนผ่านของรพ.สต.เมื่อข้ามกระทรวงมาอยู่กับอบจ. การบริการที่ต้องการความต่อเนื่อง หรือข้ามสิทธิ์(ประกันสังคม/บัตรทอง) จะมีปัญหาหรือไม่ ทั้งนี้ในส่วนรพ.สต.ที่สมัครถ่ายโอนให้ความเห็นว่าอยากเห็นโอกาสในการพัฒนารูปแบบการบริการเพื่อประชาชน ในส่วนการบริการปฐมภูมิยังคงเบิกจ่ายตามสิทธิ์เหมือนเดิม คุณภาพการบริการยังต้องรักษาไว้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม

5)แนวทางต่อไป จะมีการลงนามความร่วมมือระดับอำเภอ และประชุมเชิงปฏิบัติการทำแผนปฎิบัติการงบปี 2567 ในวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2566 โดยประมวลข้อมูลภาพรวมของผู้สูงอายุระดับอำเภอ/ตำบล จากผลการคัดกรองของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้เห็นปัญหาร่วม และนำแผนงานโครงการของแต่ละหน่วยงานมาดูร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มคุณภาพการบริการ

อนาคตผู้สูงอายุควรขยายหลักสูตรโรงเรียนรองรับสังคมสูงวัย ขยายกรอบอายุก่อนสูงวัยเข้าร่วมกิจกรรม มีการจัดทำแผนสุขภาพรายคนในกลุ่มเสี่ยงร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลาโดยใช้ iMed@home ระบบกลุ่มปิดในการทำงานร่วมกัน โดยต้องการพื้นที่นำร่องพัฒนาต้นแบบ

Relate topics