หารือแนวทางในการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพชายแดนใต้
เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น. สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) ร่วมด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกลุ่มเครือข่ายภาคีได้จัดการประชุมออนไลน์ผ่าน Zoom
เพื่อหารือแนวทางในการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมีพันธกิจหลักคือ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างความรู้วิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้แห่งความสุข โดยมุ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ
จากการสำรวจการเจริญเติบโตของเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าเด็กในพื้นที่ฯ มีภาวะแคระแกร่น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอในช่วงอายุ ๐-๓ ปี จึงเป็นสาเหตุในการจัดทำโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ ประเด็นท้าทายคือ การส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะให้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภค
โดยตัวแทนจากสมาคมจันทร์เสี้ยวได้ให้ความเห็นว่า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง (Stage of Change) โดยสเต็ปของการเปลี่ยนจะแบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ระยะเมินเฉย ระยะลังเล ระยะเตรียมการ ระยะลงมือ และระยะคงที่ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่จะทำให้เกิดการปฏิบัติจนเป็นนิสัย และมีการทำพฤติกรรมใหม่ ไม่หันกลับไปทำแบบเดิมๆ จนกระทั่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ กลายเป็นนิสัยถาวร
โดยในช่วงสุดท้ายของการประชุม สสส. สำนัก ๙ แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะได้เผยถึงโครงการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ๑๐ กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้บ้าน แรงงานนอกระบบ ประชากรข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ LGBTON+ ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ผู้ต้องขังและมุสลิม
โดยการนี้จะเน้นหลักไปยังกลุ่มมุสลิม โดยปัญหาที่พบในกลุ่มเหล่านี้ ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในการนี้ สสส. มีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
๑)พัฒนาชุดความรู้ เครื่องมือในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพตามวิถีมุสลิม
๒)เสริมสร้างความตระหนักรู้ทางสุขภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ
๓)พัฒนาศักยภาพแกนนำ เครือข่ายในการขยายผล สร้างความตระหนักรู้ทางสุขภาพของมุสลิมไทย
๔)พัฒนาสื่อความตระหนักรู้ทางสุขภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ
ทั้งนี้ สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) ร่วมด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และกลุ่มเครือข่ายภาคี และศป.ดส. พร้อมให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ -ศป.ดส.
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้