"เติมสุขสู่ชุมชน จัดทำแผนสุขภาพรายคนรับมือ NCDเชิงรุก"

  • photo  , 2048x1152 pixel , 192,947 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 152,055 bytes.
  • photo  , 600x338 pixel , 50,417 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 127,838 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 136,119 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 147,039 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 121,086 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 106,146 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 98,745 bytes.
  • photo  , 1079x720 pixel , 54,716 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 120,011 bytes.
  • photo  , 1888x1416 pixel , 153,585 bytes.
  • photo  , 922x2048 pixel , 104,233 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 102,331 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 78,800 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 137,701 bytes.

"เติมสุขสู่ชุมชน จัดทำแผนสุขภาพรายคนรับมือ NCDเชิงรุก"

เมื่อวันที่  27-29 กันยายน 2566 เป็นตัวแทนสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ร่วมกับทีมงานกองสาธารณสุข อบจ.สงขลา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพจังหวัดด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ณ โรมแรมอมารี ดอนเมือง กทม.

กิจกรรมแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การบรรยายให้ความรู้ จุดประกายเพื่อให้เห็นมิติใหม่ของการทำงานร่วมกันแบบหุ้นส่วนเพื่อรับมือโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นภัยคุกคาม จากพหุภาคีที่มากกว่าระบบบริการของสาธารณสุข

"แผนงาน/โครงการจะบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้อย่างไร" โดย รศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล บรรยายกลยุทธ์ การวิเคราะห์ปัจจัยอดีต(ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง) ปัจจุบัน(นำมาสู่ประเด็นปัญหา) อนาคต(ความต้องการอันเกิดจากภาวะวิกฤต) เพื่อเป็นฐานกำหนดประเด็นแผนพัฒนา

"กลวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจากภาคประชาชนและชุมชน" นายชาญเชาวน์ ไชยากิจ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ถอดบทเรียนประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการปฎิรูประบบยุติธรรมและระบบสุขภาพที่จำเป็นต้องข้ามกรอบคิดเดิม ทำงานแบบพหุภาคีและสหวิทยา นำเสนอกรอบคิด การเป็นแผนบูรณาการร่วมกับการถ่ายโอนภารกิจ หลักการกระจายอำนาจความต้องการและศักยภาพประชาชน ระบบสาธารณสุขมูลฐาน ระบบสุขภาพปฐมภูมิ การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน

"เครื่องมือจัดการข้อมูลสุขภาพในพื้นที่" และ "การพัฒนาคุณภาพบริการงานปฐมภูมิ" โดยนพ.อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ นางสาวณัฐธิวรรณ พันธ์มุง กองโรคไม่ติดต่อ

"การขับเคลื่อน NCD ด้วยเครือข่ายความร่วมมือ" นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล สนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

และการประชุมกลุ่มเพื่อจัดทำแผนงานโครงการ โดยนำโครงการที่จะดำเนินการในปี 2567 ของอบจ.ที่เกี่ยวข้องกับงาน NCD มาเป็นฐานและบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ในส่วนของสงขลา เสนอโครงการเติมสุขสู่ชุมชนสงขลา โดยเน้นสร้างต้นแบบอำเภอควนเนียง

มีวัตถุประสงค์

1.พัฒนาระบบบริการควบคุมโรคไม่ติดต่อในพื้นที่จังหวัดสงขลา

2.ส่งเสริมความรอบรู้ด้านโรคไม่ติดต่อของประชาชน

3.สร้างนวตกรรมระบบบริการปฐมภูมิแบบมีส่วนร่วม

นำยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาดำเนินการประกอบด้วย

1.การพัฒนาระบบบริการสาธารณะ

1)พัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพ มีการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย(ร่วมกับภาคีด้านสังคม/คุณภาพชีวิตอื่นๆ) นำไปสู่การรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ มีการพัฒนาระบบการส่งต่อ และการแพทย์ฉุกเฉิน ดำเนินการร่วมกับศูนย์สร้างสุขชุมชน โพลีคลีนิค ธนาคารยืมคืนกายอุปกรณ์ ธนาคาร 1,000 เตียง การสร้างเสริมสุขภาพ บนฐานสภาพปัญหาในปัจจุบัน มีการทำแผนสุขภาพรายบุคคล ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี

2)พัฒนาระบบบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ครอบคลุมมิติความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมในครัวเรือน การศึกษา การสร้างรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน การคุ้มครองทางสังคมและบริการภาครัฐ ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและบริการพื้นฐานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต

ยุทธศาสตร์ 2 การจัดการความรู้ เทคโนโลยีและนวตกรรม

1)การพัฒนาคน บุคลากร สนับสนุนระบบบริการให้มีคุณภาพ ทั้งในส่วนของแพทย์ พยาบาล อสม. แพทย์แผนไทย cg และแก้ปัญหาบุคลากรทางวิชาชีพที่ขาดแคลน

2)การวิจัย การสร้างนวตกรรม นำทุนทางสังคมต่อยอดแก้ปัญหาให้กับประชาชนอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ 3.การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล

1)มีการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการระดับอำเภอ ประสานทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอควนเนียงอย่างใกล้ชิด

2)พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ ใช้ระบบข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.comในการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคล บูรณาการงานทุกภาคส่วน

3)การจัดทำแผนปฏิบัติการ กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อน ตลอดจนสร้างข้อตกลงความร่วมมือ และสื่อสารกับประชาชน

4)การติดตามประเมินผล

ในส่วนของมูลนิธิชุมชนสงขลาจะร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน(เริ่มด้วยการพัฒนากลไก การทำแผนที่เดินดิน การวิเคราะห์องค์กรชุมชน การวิเคราะห์ระบบสุขภาพชุมชน) วิเคราะห์ปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับ NCD นำไปสู่การกำหนดธรรมนูญสุขภาพชุมชน ในส่วนกลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเมื่อผ่านการคัดกรองแล้วจะทำแผนสุขภาพรายคนในระบบกลุ่มปิดของ iMed@home ซึ่งจะเป็นนวตกรรมใหม่ของระบบสุขภาพชุมชน ใช้ระบบเยี่ยมบ้านติดตามผล รายงานผลต่อไป

โดยระบบดังกล่าวจะพัฒนานำร่องที่ชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลา และขยายมาทำกับอำเภอควนเนียง ก่อนเข้าสู่สมัชชาพลเมืองจังหวัดสงขลาขยายผลต่อไป

Relate topics