"ประชุมเชิงปฏิบัติการประเด็นสุขภาพจิตในสถานศึกษา"

  • photo  , 1080x810 pixel , 123,561 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 121,685 bytes.
  • photo  , 1020x1604 pixel , 193,041 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,657 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 69,818 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 107,814 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 72,876 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 122,134 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 93,637 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 152,674 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 103,307 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 76,484 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,052 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 126,179 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 140,176 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 130,168 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 148,703 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 133,793 bytes.

"ประชุมเชิงปฏิบัติการประเด็นสุขภาพจิตในสถานศึกษา" สงขลา

วันที่ 3 เมษายน 2567 แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสงขลาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เชิญผู้สนใจเข้ารับทุนสนับสนุนโครงการที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ทีมพี่เลี้ยง เข้าร่วมเรียนรู้และวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาของประเด็นสุขภาพจิตในสถานศึกษาโดยมีทีมวิทยากรจาก รพ.หาดใหญ่ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ร่วมสังเคราะห์บทเรียนการทำงาน ณ อาคารศรีเกียรติพัฒน์อบจ.สงขลา

นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกอบจ.สงขลาให้เกียรติมากล่าวต้อนรับ

ประเด็นสำคัญที่พบจากการประชุมก็คือ สถานศึกษามีระบบการคัดกรองที่หลากหลายเป็นเครื่องมือในการดูแล บางแห่งมีการออกแบบเติมเต็มระบบทั้งในส่วนของระบบคู่ขนาน การวางบุคลากรให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเสี่ยง และระบบช่วยเหลือดูแล ช่องว่างของระบบก็คือ จำนวนนักเรียนที่มากเกินกว่าจะดูแลได้อย่างใกล้ชิด บุคลากรครูมีภาระหน้าที่ตามนโยบายจำนวนมาก บวกกับสัมพันธ์กับการเลี้ยงดูในครอบครัวที่ผู้ปกครองจะต้องไม่กดดันหรือคาดหวัังจากเด็กเกินควร

หัวใจของระบบการป้องกันก็คือ ทัศนคติของสังคมที่มองผู้ป่วยสุขภาพจิตในลักษณะทางลบ ไม่ยอมรับว่าเป็นภาวะของการเจ็บป่วยที่รักษาดูแลได้ บวกกับความรู้ ทักษะของการเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงในกรณีมีสัญญาณเตือน ด่านหน้าเหล่านี้ประกอบด้วย ครูประจำชั้น ครูแนะนำ ครูอนามัย เพื่อน ผู้ปกครอง รวมถึงการให้ความสำคัญกับปัญหาที่มีการสะท้อนเข้ามาจากเยาวชนไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ไม่ตัดสินจากประสบการณ์ของตนเอง และการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการดูแลตนเอง

ผู้เข้าร่วมได้รับทราบแนวทางของแผนงานฯที่ต้องการทำกิจกรรมเชิงรุกในการส่งเสริมป้องกันให้กับกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้แนวทางการรับมือจากสถานศึกษาด้วยกัน และนัดหมายการพัฒนาโครงการที่จะเสนอโครงการเข้าขอรับการสนับสนุนต่อไป โดยเดือนเมษายนทีมพี่เลี้ยงจะดำเนินการในส่วนของประเด็นยาเสพติดในชุมชน ในส่วนประเด็นสุขภาพจิตในสถานศึกษาจะนัดหมายหารือในช่วงเดือนพฤษภาคม

ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเรื่องราว

Relate topics