"แผนงานร่วมทุนฯสงขลารุกงานป้องกันยาเสพติดและสุขภาพจิต วางเป้าสนับสนุนโครงการย่อย ไม่ต่ำกว่า 30 โครงการ"

photo  , 1000x838 pixel , 208,615 bytes.

"แผนงานร่วมทุนฯสงขลารุกงานป้องกันยาเสพติดและสุขภาพจิต วางเป้าสนับสนุนโครงการย่อย ไม่ต่ำกว่า 30 โครงการ"

สืบเนื่องจากสถานการณ์ยาเสพติดพื้นที่จังหวัดสงขลา ในห้วงปีงบประมาณ 2566 พบสถิติผู้ติดยาเสพติด จำนวน 2,371 ราย มากเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ เป็นผู้เสพรายใหม่ จำนวน 1,596 คน (คิดเป็นร้อยละ 67.31) และเป็นผู้เสพรายเก่า จำนวน 775 คน (คิดเป็นร้อยละ 32.68) ในปีงบประมาณ 2567 จำนวนหมู่บ้านเป้าหมายเฉพาะประเภทแพร่ระบาดมีจำนวนสูงถึง 301 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา

พื้นที่ที่มีการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะเดาและอำเภอเมืองสงขลา ตามลำดับ จำนวนโดยตัวยาหลักที่มีการค้าและแพร่ระบาด ได้แก่ ยาบ้า รองลงมา คือ ไอซ์ ส่วนเฮโรอีน เป็นตัวยาที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ซึ่งในห้วงนี้ และพบว่ายาบ้ามีการแพร่ระบาดในทุกอำเภอ (ข้อมูล : ปปส.ภาค 9, 2566)

ส่วนปัญหาสุขภาพจิต ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประมาณการว่าโรคจิตเวชกว่าครึ่งเริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 14 ปี และเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพลำดับ 2 ในเด็กและวัยรุ่นตอนต้นอายุ 5-14 ปีทั่วโลก แนวโน้มที่น่าตกใจในประเทศไทยคือความคิดฆ่าตัวตายเริ่มต้นตั้งแต่ในวัยรุ่นตอนต้น 11-14 ปี มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 9.3 ซึ่งสูงกว่าวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 15-19 ที่เสี่ยงร้อยละ 5.9 เนื่องจากระบบคลังข้อมูลและการตั้งเป้าตัวชี้วัดด้านสุขภาพจิตที่เริ่มตั้งแต่วัย 15 ปี ทำให้การทำงานและขับเคลื่อนนโยบายผูกกับกรอบ ‘ช่วงวัย’ ซึ่งอาจสอดคล้องกับโรคชนิดอื่นๆ แต่โรคซึมเศร้าเป็นอาการทางจิตเวชที่ตัดข้ามช่วงวัยในห้วงเปราะบางของการเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ และยังสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมและภาวะแวดล้อมที่คาดเดาได้ยาก ต้องถือว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติความรุนแรงและปัญหาสุขภาพจิตในรูปแบบที่มีความหลากหลายและความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

โดยข้อมูลในปี พ.ศ.2566 พบว่า ทั่วประเทศมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จอัตราต่อแสนประชากร 7.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายของประเทศ ที่ตั้งไว้ ≤ 6.3 ต่อประชากรแสนคน (ที่มา : http://healthkpi.moph.go.th และ https://hdcservice.moph.go.th กระทรวงสาธารณสุข)

จากการวิเคราะห์สถิติข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี พบว่า จังหวัดสงขลามีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มมากขึ้นทุกปี คิดเป็นร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2555 เนื่องจากมีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ความเป็นศูนย์กลางความเจริญในด้านการคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการศึกษา ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในทุกๆด้าน มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 3 ปีย้อนหลัง (2564-2566) 13,29,32 คน อัตราต่อแสนประชากร 1.13 , 2.52 และ 2.78 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมีมากถึงร้อยละ 87 (ที่มาข้อมูล : สสจ.สงขลา,2565) โดยกลุ่มวัยที่มีปัญหาความเปราะบางทางด้านอารมณ์มักจะพบสูงสุดในวัยรุ่นและวัยผู้สูงอายุ ซึ่งจากการสำรวจโรงเรียนมัธยมผ่านระบบ School Health HERO ซึ่งเป็นระบบที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับครูระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และทักษะสังคม ของเด็กและวัยรุ่น ผ่านข้อคำถาม 9 ข้อ (9 symptoms หรือ 9S) จากข้อมูลการคัดกรองนักเรียน จำนวน 25,056 คน จาก 366 โรงเรียน พบว่า นักเรียนที่ขึ้นสถานะควรดูแล จำนวน 2,019 คน แต่ครูขอคำปรึกษาในระบบเพียง จำนวน 119 ครั้ง และได้รับคำปรึกษาแล้ว จำนวน 87 ครั้ง (ที่มา : เขตสุขภาพที่ 12)

เหล่านี้จึงเป็นที่มาของแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสนง.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สนับสนุนงบประมาณในการดําเนินงานให้แก่กลุ่มบุคคล ชุมชน เครือข่าย องค์กร หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ 16 อำเภอ ไม่ต่ำกว่า 30 โครงการ

Relate topics