พลเมืองสตูลตื่นรู้ ร่วมฟื้นฟูอุทยานธรณีโลก สู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืน
พลเมืองสตูลตื่นรู้ ร่วมฟื้นฟูอุทยานธรณีโลก สู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืน
สมัชชาคนสตูลปี 2567 เดินทางมาถึงครั้งที่ 11 จัดขึ้นที่สวนสาธารณะอำเภอละงู จังหวัดสตูล วันที่ 31 สิงหาคม 2567
โดยมีเครือข่ายต่างๆ มากกว่า 25 องค์กรมาร่วมจัดเป็นเจ้าของงาน โดยมีนายสัมฤทธิ์ เสียงประสิทธิ์ นายก อบจ.สตูล เป็นประธานจัดงาน มี นพ.ประวิตร วณิชชนนท์ ผอ.โรงพยาบาลละงู แกนสมัชชาสุขภาพจังหวัดสตูลกล่าวรายงาน
การจัดเวทีสมัชชาคนสตูล ครั้งที่ 11 ในปี พ.ศ. 2567 นี้ ได้ยกวาระร่วมว่า “พลเมืองสตูลตื่นรู้ ฟื้นฟูอุทยานธรณีโลก สู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืน” ในโอกาสที่องค์การยูเนสโก้ มีการรับรองให้จังหวัดสตูลเป็นเมืองอุทยานธรณีระดับโลกในรอบที่ 2 หลังจากผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์
จึงมีความคิดร่วมกันของเครือข่ายสมัชชาคนสตูลที่จะยกระดับการดำเนินงานและการบริหารจัดการเรื่องนี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคีพัฒนาต่างๆ ด้วยหวังว่าจะทำให้การประเมินผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ในรอบต่อไปผ่านไปได้อย่างไร้ข้อสงสัยจากคณะกรรมการขององค์กรระดับโลกต่อไป
กลุ่มรักจังสตูล เกิดขึ้นจากการรวมตัวของภาคี เครือข่ายที่มีการทำกิจกรรมทางสังคม และมีการขับคเลื่อนอยู่ในพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งรวมถึงภาพการเมืองท้องถิ่น ส่วนราชการ ท้องที่ ภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เล็งเห็นควาสำคัญของการรวมตัวเพื่อสร้างพื้นที่กลางของภาคประชาสังคม ร่วมกับภาคีพัฒนาต่างๆ ในอันที่จะสร้างทิศทางการพัฒนาที่เป็นไปตามความต้องการของคนในพื้นที่ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและตั้งอยู่บนฐานศักยภาพที่มีอยู่จริง
ข้อเสนอจากประเด็นนโยบายสาธารณะ ประกอบด้วย 15 ประเด็น ได้แก่
1)พัฒนาประสิทธิภาพการขับเคลื่อนเมืองอุทยานธรณีโลก
2)การจัดการทรัพยากรทางทะเลและประมง การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและสิทธิชาวประมงพื้นบ้าน
3)เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน คนสตูลมีการผลิตอาหารและการเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสังคม
4)คุ้มครองผู้บริโภคกับกรณีการจำหน่ายเครื่องสำอางไม่ปลอดภัยและปัญหาถึงแก๊สหุงต้มหมดอายุ
5)ที่ดิน ที่อยู่อาศัย สวัสดิการชุมชนและการป้องกันภัยพิบัติในชุมชน
6)การส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ระบบบริการสุขภาพและสิทธิสถานะ
7)การพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเกาะหลีเป๊ะและเกาะอาดัง
8)การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9)การท่องเที่ยวชุมชน “สตูลเสน่ห์แดนใต้” สุดเขตสยามฝั่งอันดามัน ด้วยมนต์เสน่ห์ เขาป่านาเล
10)การส่งเสริมความเข้มแข็งของกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม
11)การจัดการขยะ ลดละเลิกใช้โฟมและพลาสติกในชุมชน
12) การทบทวนประกาศแหล่งแรในเขตอุทยานธรณีโลก
13) การลดความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัวมุสลิม
14) การสนับสนุนงานศิลปะวัฒนธรรมพื้นถิ่น
15) การพัฒนากลไกปกป้องคุ้มทางสังคมแก่เด็กและเยาวชน
ช่วงบ่ายมีการสรุปข้อเสนอนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด 15 ประเด็น ยื่นให้กับ รมต.ช่วยมหาดไทย ชาดา ไชยเชษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ. ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ภาคีพัฒนา สมาชิกวุฒิสภา และผู้แทนพรรคการเมืองจังหวัดสตูล (สส.วรศิษฐ์ เสียงประสิทธิ์) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมผลักดันการขับเคลื่อนต่อ
ผู้ช่วยเลขาธิการ คสช. จารึก ไชยรักษ์ ได้ขึ้น TEDTALK ร่วมกับผู้แทนภาคียุทธศาสตร์ 7 องค์กร โดยย้ำให้คนสตูลรักษ์ในวิถีความเป็นเมืองสตูลที่สุข สงบ สะอาด ร่วมกันสร้างสุขภาพที่ดีเพื่อลดการเกิดโรค ทั้ง NCDs หรือปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ ที่เข้ามากระทบ และสนับสนุนกระบวนการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายให้ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ทั้งระดับยุทธศาสตร์ แผนงาน และรูปธรรมในระดับพื้นที่ พร้อมทั้งชื่นชมสตูล ที่จัดสมัชชา “รักจังสตูล” มาอย่างต่อเนื่อง เปิดเป็นพื้นที่กลางทางสังคมของทุกภาคีในสตูลอย่างแท้จริง
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
Relate topics
- กสศ. ร่วมกับเครือข่ายจัดการศึกษาเชิงพื้น และตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
- ประชุมคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนแผนรองรับสังคมสูงวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2567
- โครงการพัฒนาศักยภาพครู ผู้ดูแลเด็ก และเครือข่าย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0-5 ปี (สงขลา)
- 21 ศูนย์สร้างสุขชุมชน (สงขลา) ร่วมเป็นพื้นที่นำร่องร่วมพัฒนาและทดลองใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบถอดซักได้
- คอร์ส "ปลุกปั้น นักสร้างสรรค์ รุ่นใหม่ สู่โลกแห่งสื่อ ที่ไร้ขีดจำกัด" ภาคใต้ตอนล่าง
- POLICY FORUM เพื่อสื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยและโภชนาการ) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
- เวทีบูรณาการความร่วมมือและขับเคลื่อนระบบอาหาร เพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัดสงขลาและพัทลุง
- ตำบลอยู่ดีมีสุขต้นแบบด้านการคุ้มครองเด็กกับงานพัฒนาศักยภาพกลไกคุ้มครองเด็กระดับตำบล 10 ตำบลจังหวัดยะลา
- "พลังความร่วมมือร่วมใจ ทุกนโยบายห่วงใยระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ Food system in all policy"สื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหารพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
- วิจัยเพื่อต่อยอด “รถตู้ลดเหลื่อมล้ำ” โรงพยาบาลสะบ้าย้อย สงขลา