หน่วยจัดการระดับจังหวัดพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (Node Mini Flagship): ก้าวแรกสู่การขยายผลพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
หน่วยจัดการระดับจังหวัดพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (Node Mini Flagship): ก้าวแรกสู่การขยายผลพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ
จุดเริ่มต้นการสร้างสรรค์โมเดลพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ สำนักสร้างสรรค์โอกาส สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีปฐมนิเทศหน่วยจัดการขยายผลพื้นที่ต้นแบบ ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น นาดา ดอนเมือง กรุงเทพฯ เปิดพื้นที่ให้ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ลพบุรี และเลย ร่วมกันพัฒนา Node Mini Flagship เป็นกลไกระดับจังหวัด ขยายผลพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ สร้างแนวทางลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ และออกแบบโครงการในระดับพื้นที่ ที่สามารถวัดผลได้จริง
เวทีนี้มุ่งเน้นให้แต่ละจังหวัด เข้าใจบทบาทของ Node Mini Flagship พร้อม วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ วางแนวทางลดสาเหตุการเสียชีวิต และออกแบบการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โดยใช้กระบวนการ LE Hackathon ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพระดับจังหวัด เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต (Life Expectancy: LE) และกำหนดแนวทางพัฒนาโครงการที่สามารถติดตามผลลัพธ์ได้ ผ่านการออกแบบแผนภาพประเด็นสุขภาพของจังหวัดและความเชื่อมโยงผลลัพธ์ (Outcome Alignment)
ภายในเวทียังได้มีการ เสริมพลังจากประสบการณ์จริง โดย ดร. พรทิพย์ ขุนวิเศษ หัวหน้า Node Flagship ชัยนาท ได้แบ่งปัน แนวทาง "How to, Do, Don't" ช่วยให้จังหวัดที่เข้าร่วมสามารถนำบทเรียนและแนวคิดไปพัฒนา Node Mini Flagship ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง
นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบแผนพัฒนาโมเดลพื้นที่ต้นแบบ โดยวางแผนสนับสนุนทุนโครงการย่อยที่สอดคล้องกับกลุ่มเสี่ยง สร้างเครือข่ายภาคียุทธศาสตร์ เพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและขยายผลได้ พร้อมเสริมศักยภาพการทำงานของ Node Mini Flagship ด้วยแนวทาง "3D Revolution: ปฏิรูปโครงสร้าง – สื่อสารไร้รอยต่อ – พัฒนาทีมสุดยอด เพื่อยกระดับให้หน่วยจัดการให้พร้อมขับเคลื่อนภารกิจแก้ไขปัญหาตามประเด็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยก้าวต่อไปของ Node Mini Flagship จะเริ่มดำเนินโครงการตามแผนที่ออกแบบไว้ มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาวะในระดับพื้นที่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สร้างสรรค์โอกาส
Relate topics
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้
- คสช.รับทราบผลการขับเคลื่อนนโยบายปกป้องและคุ้มครองเด็ก-เยาวชนจาก “บุหรี่ไฟฟ้า” ของ สช.-หน่วยงานภาคี