บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒
"บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒"
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นัดทีมชุดเล็กประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กขป.เขต ๑๒ คุยเตรียมก่อนลงพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เพื่อชวนทำพื้นที่ตัวอย่าง ลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องบุหรี่อย่างครบวงจร จากชุุมชนถึงระบบบริการ เพื่อกระชับเชื่อมโยงงานปัจจัยเสี่ยงที่มีต้นแบบเป็นจุดๆ ให้ครบวงจร
มีแนวคิดสำคัญๆ ที่จะต้องยึดร่วมกันก็คือ
๑.เปลี่ยนการทำงานแบบ "ทำให้" มาเป็น "ทำร่วม" และให้กลุ่มเป้าหมาย "ทำเอง" คืนเรื่องบุหรี่ให้เป็นเรื่องสาธารณะ หากชุมชนใดมีความตระหนักถึงพิษภัยจึงจะเริ่มดำเนินการ
๒.พัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ อาทิ แอพพลิเคชั่น เก็บข้อมูลโดยกลุ่มเสี่ยงเองหรืออาสาสมัคร/คณะทำงาน ออกแบบสอบถามเฉพาะพิจารณาข้อมูลที่ต้องการรู้(ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม) เพื่อประกอบการจัดทำแผนระดับพื้นที่และแผนรายบุคคล
ข้อมูลที่ได้จะทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักก่อนที่จะจัดทำแผนร่วมกัน รวมถึงสร้างแบบคัดกรองตัวเองเพื่อให้รู้ว่าติดบุหรี่หรือยัง
และมีการวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายเพื่อแสดงผลให้เห็นว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ อย่างไร โดยมีระบบเยี่ยมบ้านที่จะรายงานผล รายงานประวัติการเยี่ยมบ้านหรือการปรับพฤติกรรมรายบุคคลเพื่อให้ทราบพัฒนาการ
ข้อมูลกลางจะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของหน่วยงานและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
๓.นัดพื้นที่อำเภอรามันเพื่อหารือความร่วมมือกันวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๓
ชาคริต โภชะเรือง รายงาน
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้