"ตลาดเขียวแบบดาวกระจาย" ของคนรักสุขภาพสงขลา
"ตลาดเขียวแบบดาวกระจาย" ของคนรักสุขภาพ ด้วยการเชื่อมโยง 5 ตลาดเขียว นำร่อง และเชื่อมโยงเข้าสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมสุขภาพ ที่ "ตลาดชีวาสุข" ด้วยการปักหมุด 5 ตลาดเขียว ใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดยมีอำเภอนำร่องคือ
1.อำเภอสะบ้าย้อย ตลาดเขียว เกษตรอินทรีย์ ณ ฟาร์มตัวอย่างบ้านควนหรัน ที่ใช้ความโดดเด่นของ แดนดินถิ่น กาแฟต้นแรก และจุดกำเนิดกาแฟโรบัสต้า ความมีอัตลักษณ์ของ พืชผล ส้มแขก ไม้ผล ความโดดเด่นของการน้อมนำศาสตร์พระราชา มาพัฒนาพื้นที่ 9 ตำบล จากแกนกลางของฟาร์มตัวอย่างฯ ความโดดเด่นของ พหุวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ความเข้มแข็งของ...พลังคน...พลังชุมชน...พลังสร้างสรรค์ จากคนต้นแบบ "จ่าชม" ผจก ฟาร์มตัวอย่างบ้านควนหรัน และเครือข่าย ที่รวมเครือข่าย 9 ตำบลของอำเภอสะบ้าย้อย เชื่อม อำเภอเทพา นาทวี และอำเภอรอบข้าง จึงทำให้เป็นพลังเสริม ตลาดเขียวของฟาร์มตัวอย่างบ้านควนหรัน ที่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปีนี้
2.อำเภอบางกล่ำ ตลาดเขียวบ้านหาร ณ วิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยผู้สูงอายุ ใช้ความโดดเด่นเครือข่าย 1 ครัวเรือน 1 แปลงผักยกแคร่อินทรีย์ ที่มีมากกว่า 20-30 ครัวเรือน เสริมชุดความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการผลิตของคนรุ่นเก่า ถ่ายทอดสู่รุ่นใหม่ รวมถึงการนำอัตลักษณ์ชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บางกล่ำ ที่จะเป็นจุดเด่น และโอกาสของตลาดเขียวบ้านหาร
3.อำเภอรัตภูมิ ตลาดเขียวบ้านคลองกั่ว ใช้การเชื่อมโยงภูมิลักษณ์ แดนดินของ "ฝน 2 ห่า" ที่สร้างความเป็นอัตลักษณ์ อัธรสของไม้ผล ของกาแฟ และแหล่งท่องเที่ยงธรรมชาติรอบๆ เป็นจุดขายของตลาด
4.อำเภอกระแสสินธุ์ ตลาดเขียวบ้านตะโหนดด้วน จากแนวคิดการฟื้นฟูตลาดเดิม โดยการเชื่อมต่อ 2 โรงเรียน 1 อบต 4 แหล่งเรียนรู้ต้นน้ำ นำอัตลักษณ์กระแสสินธุ์ และความโดดเด่นของศูนย์เรียนรู้โครงการอาหารกลางวันใช้ในการนำร่องตลาดเขียว
5.โรงเรียนบ้านนากัน (นากันโมเดล) ตลาดเขียวเยาวชนน้อย ณ โรงเรียนบ้านนากัน ใช้ความโดดเด่นของโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ และความมั่นคงทางอาหาร โดยมีน้องๆ เป็นผู้สร้าง KM และนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ครัวเรือน (จากมือลูกสู่มือแม่) ที่พัฒนาเป็น "นากันโมเดล" มีเด็กนักเรียนเยาวชน เป็นเจ้าภาพ ในรูปแบบ 1 ห้องเรียน 1 ผู้ประกอบการ 1 คน 1 อาชีพ แนวคิดที่จะสร้างหลักสูตรท้องถิ่น สร้างสมรรถนะเด็กด้วยวิชาชีวิต ที่รวม สหศาสตร์ ในตลาดเขียวของ "นากันโมเดล" สู่โรงเรียนต้นแบบ และแบบอย่างในการพัฒนาการศึกษาคู่ชุมชนแบบยั่งยืน
ซึ่งทั้ง 5 ตลาด จะเชื่อมโยงกับ "ตลาดชีวาสุข" เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่จะเป็นศูนย์กลาง ที่นำร่อง 5 ตลาด เพื่อหนุนเสริมกันและกัน ให้ชีวาสุข เพิ่มศักยภาพ จากความหลากหลายของชุดความรู้ จาก 4 โซนอำเภอ (16 อำเภอ) ผ่านพื้นที่กลางชีวาสุข ที่จะเป็นพื้นที่รวม ผลผลิตและนวัตกรรมความมั่นคงทางอาหาร ที่จะยกระดับให้ เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นนครแห่งการเรียนรู้ ด้วยให้ชีวาสุข รองรับการที่จะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และเป็น Hub of Organic/ Heath & Wellness ที่ให้คนเมืองและชานเมืองหาดใหญ่ ได้เข้ามาเชื่อมกระบวนการเรียนรู้ มาจับจ่าย ณ ชีวาสุข และคนเมืองได้มีโอกาสไปท่องเที่ยว ต่างอำเภอ ผ่านโชว์รูม และ KM ของ 16 อำเภอ ณ ตลาดชีวาสุข ที่มีตลาดเขียวเป็นจุดเช็คอิน ทั้ง 5 ตลาดดังกล่าว ที่จะเป็นดาวกระจาย อำเภอรอบนอกของ นครสงขลา และหาดใหญ่
เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา
ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา คณะกรรมการความมั่นคงทางอาหาร ชีวาสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ และ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา สงขลา
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้