การประชุมเพื่อช่วยเหลือเคสในภาวะเปราะบางกลไกปกป้องคุ้มครองเด็กระดับตำบลภายใต้โครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบเพื่อสุขภาวะเด็ก เยาวชน ครอบครัวจังหวัดยะลา
การประชุมเพื่อช่วยเหลือเคสในภาวะเปราะบาง
กลไกปกป้องคุ้มครองเด็กระดับตำบล ภายใต้การดำเนินงานของโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบเพื่อสุขภาวะเด็ก เยาวชน ครอบครัวจังหวัดยะลา สนับสนุนโดย สสส. ได้ดำเนินโครงการใน 3 ตำบลในจังหวัดยะลา ประกอบด้วย ตำบลปุโรง ตำบลบาโงยซิแน และเทศบาลตำบลท่าสาป
จัดประชุมเพื่อช่วยเหลือเคสที่อยู่ในภาวะเปราะบางใน 3 ตำบลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ประกอบด้วย อบต. รพ.สต. โรงเรียน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา นำโดยกลไกในพื้นที่ได้นำข้อมูลจากการเก็บเด็กอายุ 0-18 ปี มาจำแนกเป็นเขียวเหลืองแดงแล้วจึงได้นำข้อมูลเด็กที่อยู่ในกลุ่มสีแดงมาประชุมเพื่อร่วมกันออกแบบแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้นอกจากฐานข้อมูลแล้วเคสอีกบางส่วนได้รับข้อมูลจากการร้องเรียนของผู้ปกครองในพื้นที่ผ่านกลไกซึ่งทั้งหมดได้เข้าสู่การประชุมเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือทั้งในระยะสั้นจนไปถึงระยะยาว
โดยการประชุมในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 14 case แบ่งเป็น ตำบลปุโรง 6 เคส ตำบลบาโงยซิแน 7 case และเทศบาลตำบลท่าสาปจำนวน 1 case ในบางเคสที่มีความเปราะบางสูงจะถูกนำเรื่องส่งต่อให้กับ พมจ.ยะลาเพื่อให้ความช่วยเหลือตามกระบวนการต่อไป
#องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน
ขอบคูณข้อมูลจากเพจ กลุ่มลูกเหรียง
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้