ประชุมเชิงปฏิบัติการ “สตูลบูรณาการ สานสังคมสูงวัย สดใสยั่งยืน”

  • photo  , 940x788 pixel , 189,415 bytes.
  • photo  , 1000x1414 pixel , 171,597 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 201,572 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 800,731 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 918,273 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 254,138 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 241,168 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 227,548 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 214,499 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 240,656 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 225,113 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 225,670 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 227,040 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 893,675 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 698,841 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 196,868 bytes.
  • photo  , 940x788 pixel , 927,236 bytes.

ประชุมเชิงปฏิบัติการ “สตูลบูรณาการ สานสังคมสูงวัย สดใสยั่งยืน” ร่วม 24 หน่วยงานเป็นเจ้าภาพ

โดยโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ที่ผลักดันหนุนเสริมเครือข่ายผู้สูงอายุจังหวัดสตูล สร้างความสุขมวลรวม 4 ด้าน (สุขกาย สุขใจ สุขสังคม และสุขเศรษฐกิจ)

ผ่านกิจกรรมปลูกพืชสมุนไพรปลอดภัย (ขมิ้นชัน) ส่งแปลงเป็นสารทางยา สร้างรายได้ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรจังหวัดสตูล

นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ประธานเปิดงานให้ความเห็นตั้งต้นว่า “เรากำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งตอนนี้อัตราเป็น 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ทั้งที่กำลังประสบปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นภาระของลูกหลาน ความร่วมมือกันในจังหวัดสตูลครั้งนี้ ก่อให้เกิดการพัฒนาวิถีชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุจังหวัดสตูล เสริมพลังและสนับสนุนภาคีร่วมมือจากวงกว้าง ทั้งได้พัฒนานวัตกรรมการเพาะปลูกขมิ้นชันของเครือข่ายผู้สูงอายุจนได้รับมาตรฐานเกิน 11% ด้านจังหวัดสตูลเอง ก็ได้ตอบรับข้อเสนอจากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร สร้างโรงเรือนขมิ้นชัน และการพัฒนาขมิ้นชันจนเกิดแนวทางพัฒนาต่อยอด จึงขอขอบคุณการสนับสนุนจาก การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย หน่วยขับเคลื่อนและส่วนราชการอื่นๆ ที่ร่วมกันผลักดันงานครั้งนี้ให้เกิดขึ้น”

นวัตกรรมด้านความเชื่อที่ว่า “ผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระ” สามารถส่งเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนมุมคิดของตนเองจากเพียงหวังพึ่งพิงมาเป็นแกนหลักจัดการเองกับเรื่องรอบตัว คลอบคลุมมิติ กาย ใจ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งนางสุขมาลย์ พัฒนศิริ หัวหน้ากลุ่มงานแพทย์แผนไทยฯ สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสตูลรายงานว่า “จังหวัดสตูลตอนนี้มีผู้สูงอายุประมาณ 13-14% จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ตอนครบ 20% หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญนั้นครอบคลุม 5 ด้าน คือ

1.) สุขสบาย มีสุขภาพที่ดี ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ทานอาหารครบ 5 หมู่ปริมาณที่เหมาะสม

2.) สุขสนุก ความสุขทางใจได้ใกล้ชิดธรรมชาติ จิตแจ่มใสกระปรี้กระเปร่า

3.)สุขสง่า ภาคภูมใจในตนเอง

4.)สุขสว่าง ได้ทำงานกับผู้อื่น มีการได้คิดวิเคราะห์วางแผนตลอดจนแก้ไขปัญหา และ

5.) สุขสงบ

กิจกรรมเปลี่ยนภาระเป็นพลัง เปลี่ยนกิจกรรมเป็นกิจการ เกิดขึ้นโดยกลุ่มผู้สูงวัยในเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรจังหวัดสตูลจำนวน 15 วิสาหกิจ จาก 217 ครัวเรือน ในเขตย่านซื่อ 4 วิสาหกิจ เขตอำเภอควนโดน 4 วิสาหกิจ เขตควนสะตอ 3 วิสาหกิจ และอำเภอเมืองอีก 4 วิสาหกิจ ร่วมกันเพาะปลูกพืชสมุนไพรขมิ้นชันในกระสอบตั้งต้นปี 2564 ผลิตขมิ้นชันได้กว่า 6,300 กิโลกรัม ได้สารทางยาที่เกินมาตรฐานผลิตเป็นยา 2,000 กิโลกรัม ปัจจุบนคาดว่าจะผลิตได้ 17,500 กระสอบ ซึ่งนายอุดม เบ็ญก็เต็ม ผู้แทนเครือข่ายวิสากิจสมุนไพรจังหวัดสตูลให้ข้อมูล

“การวางแผนเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน คล้ายกับ ถ้าเราฝันอยากมีบ้าน เราก็ต้องเอาความฝันมาทำแผน เช่น เขียนแบบบ้าน ก็ต้องรู้ว่าใคร อายุและจำนวนเท่าไหรที่ต้องร่วมอาศัยกัน ซึ่งประเด็นตรงนี้ หน่วยงานภาครัฐนั้นมีแผนงานประจำปีอยู่แล้ว สิ่งที่อยากชวนคิดต่อ มีลักษณะค่อนข้างครบวงจรเร่งรัด ในรูปสามเหลี่ยมเขยื่อนภูเขา ที้ต้องประกอบด้วย พลังทางปัญญาจากผู้รู้ พลังสังคม จากประชาชนและหน่วยพัฒนาภาคประชาสังคม และ พลังอำนาจรัฐหรือพลังนโยบาย ที่ร่วมผสมผสานบทบาทและพละกำลัง ร่วมลดภาระงานของแต่ละฝ่ายลง เพิ่มผลผลิตทางสังคม ผ่านการร่วมพัฒนาความรู้และทักษะต่างๆ แก่ผู้คน สร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน มีเป้าหมายร่วม มองเห็นสาเหตุของปัญหาและความล้มเหลวร่วมกันอย่างรอบด้าน ตลอดจนประสานร่วมมือกัน สื่อสารและแบ่งปันทรัพยากรกันอย่างต่อเนื่อง” ข้อคิดเห็นจากบรรยายพิเศษเรื่อง “การวางแผนเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน” โดย ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

กิจกรรมประชุม 4 กลุ่มย่อยระดมความคิดเรื่องแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ครัวเรือนสุขภาพ ชุมชนสร้างเสริมสุขภาพ และการสร้างกลไกประสานงานเครือข่าย จัดการเรียนรู้ โดยนายสมพงษ์ หลีเคราะห์ นายกสมาคมวัฒนพลเมือง และคณะทำงานผู้ดำเนินรายการประชุมกลุ่มย่อย ทีมสื่อความหมาย และทีมบันทึกข้อมูลสำคัญสำหรับผลิตสารสนเทศสื่อสารสังคมต่อ ได้ร่วมจัดการเรียนรู้แก่ภาคีเครือข่ายที่มาร่วมงาน ให้เห็นภาพรวมของกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรม และภาวะทางสุขภาพที่เกิดขึ้นใกล้ตัว มาเชื่อมโยงกับการพัฒนาในรูปแบบการบูรณาการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีการแปลงทัศนคติด้านการมองเป็นปัญหา มาเห็นอกเห็นใจกัน และการร่วมหนุนเสริมเติมเต็มต่อกัน ซึ่งกลุ่มที่ 1 ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยจำแนกเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน วัสดุอุปกรณ์ และการแปรรูป กลุ่มที่ 2 ด้านครัวเรือนสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ขั้นตอนการปลูก การผลิต จนถึงการประกอบเป็นเมนูอาหารแทนยา และองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มที่ 3 เรื่องชุมชนสร้างเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ระดับการรวบรวมผลผลิต การแปรรูป การเกิดขึ้นของศูนย์เรียรรู้สุขภาพ หรือห้องเรียนสุขภาพ ทั้งในส่วนการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน และกระบวนการแปรรูป และกลุ่มที่ 4 เรื่องกลไกการจัดการ ทั้งการพัฒนาเครือข่าย การขยายพื้นที่ จนถึงระดับการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์

ติดตามความก้าวหน้าของโครงการและวีดีทัศน์ประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานผ่าน Facebook page: D Community

และรับชมบรรยายพิเศษเรื่อง “การวางแผนเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน” โดย ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนฉบับเต็มได้ที่ :

กิจกรรมจัดขึ้นเมื่อวันพุธ ที่ 29 มิถุนายน 2565 ณ ห้องสัมนาแพนลำพู โรงแรมสตารินทร์ รีสอร์ท จ.สตูล เวลา 09.00 - 16.00 น.

#สตูลบูรณาการสานสร้างสังคมสูงวัยสดใสยั่งยืน #เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสมุนไพรจังหวัดสตูล #ขมิ้นชัน #ขมิ้นชันสตูล #ขมิ้นชันสตูลสารทางยาสูง #สตูล #สมุนไพร #รักจังสตูล #ผู้สูงอายุ #Turmeric #CEIS #Dcommunity #งานดี #ชุมชนดี #SatunSeniorSmartFarmer #ห้องเรียนสมุนไพรกับผู้สูงอายุและการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ #สุขกายสุขใจสุขสังคมสุขเศรษฐกิจ #ร่วมคิดร่วมทำร่วมทุน #สังคมผู้สูงอายุ #ผู้สูงอายุอัจฉริยะ
#สมาคมวัฒนพลเมือง #ToKeepCitizenAlive

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ วัฒนพลเมือง สวพ. Citizenship Evolution Association CEA

Relate topics