"U2T ม.อ."
"U2T ม.อ."
วันที่ 24-26 มิถุนายน 2565 ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ นำทีม U2T ในตำบลรับผิดชอบมาให้มูลนิธิชุมชนสงขลาช่วยให้ข้อเสนอแนะ พร้อมเรียนรู้การทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม iMedCare ในระดับพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมบริการดูแลฟื้นฟูสุขภาพพื้นฐาน และบริการเสริม โดยเฉพาะบริการเสริมที่ทีมจะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมา และการจัดทำคู่มือหลักสูตรการบริการ HCG
สื่อที่จะต้องออกแบบประกอบด้วยไวนิล โปสเตอร์ แผ่นพับ แนะนำบริการและผลิตภัณฑ์ ซึ่งทีม U2T แต่ละตำบลจะต้องดำเนินการ อาทิ ต.คู เพิ่มบริการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อนคลายเหงา ป้องกันโรคซึมเศร้า ต.ควนโดน พัฒนาโจ๊กธัญพืชพร้อมทานด้วยวัตถุดิบในพื้นที่ ต.จะโหนง เพิ่มกิจกรรมพาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ
ตัวแทนทีมอาศัย canva ในการออกแบบ อาศัยเวลา 3 วันมาช่วยกันทำ มูลนิธิฯเข้าไปแนะนำ iMedCare ถึงแนวคิดแนวทางดำเนินการ และให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำในการผลิตสื่อ เพื่อให้สามารถดึงคุณค่าของระบบออกมาสู่สาธารณะ และหาวิธีสื่อความหมายคุณค่านั้นแปรผลเป็นสื่อนำเสนอสู่สังคม
1)นำเสนอโดยดึงคุณค่าของระบบบริการ ที่มีความสดวก ใช้งานง่ายแค่ปลายนิ้ว ความครอบคลุมบริการ ราคาที่ย่อมเยาว์
2)นำเสนอผลิตภัณฑ์เสริม เพิ่มมิติทางสังคมในการเป็นเพื่อน เป็นญาติ การนำวัตถุดิบในชุมชนมาแปรรูป การเพิ่มคุณค่าและมูลค่า การพัฒนาอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพ นำเสนอผ่านคำถาม คำพูด คำโฆษณาโดนใจ
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้