"Hatyaicare"
"Hatyaicare"
วันที่ 30 สิงหาคม 2565 ประชุมทีมคณะทำงาน 4 องค์กรความร่วมมือ และพอช. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและกำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป
1.ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำกิจกรรมกับ 6 ชุมชนริมทางรถไฟใน 3 ด้าน คือ การศึกษา จัดครูอาสา 15 คนจากสถานศึกษาในสงขลาลงไปช่วยให้การเรียนรู้แก่เด็กในชุมชน 30 คน มีการจัดอบรมส่งเสริมอาชีพทำยาหม่อง และดูแลกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ปรับสภาพบ้าน
2.มูลนิธิชุมชนสงขลา สนับสนุนงบการปลูกผักในเขตเมืองระดับครัวเรือน 13 คนใน 2 ชุมชนคือ สถานีอู่ตะเภา สัจจะกุล ประสานแก้ปัญหากลิ่นเหม็นในบ่อเลี้ยงปลาดุก และนำแกนนำไปร่วมเรียนรู้การเข้าถึงข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา สร้างช่องทางสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังอุทกภัยในหน้าฝนนี้ และปี 65 ต้องการสร้างผู้ดูแลที่บ้านในพื้นที่หาดใหญ่ในการใช้ iMedCare ดูแลผู้ป่วยที่บ้านสร้างธุรกิจเพื่อสังคม
3.สมาคมอาสาสร้างสุข จัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาแต่เด็กที่อยู่นอกระบบ ลดความเหลื่อมล้ำ ปรับสภาพบ้านร่วมกับกองทุนฟื้นฟูฯ ประสาน CSR เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ประสานงาน node โควิดให้ชุมชนสถานีอู่ตะเภาส่งเสริมการทำปลาดุกร้า กำลังจะทำพวงหรีดข้าวสาร
4.เทศบาลนครหาดใหญ่ กองสวัสดิ์ฯได้นำเสนอแผนงานโครงการที่จะดำเนินการปี 65 ภายใต้งบ 12.9 กว่าล้านบาท กองสาธารณสุขฯ กองศึกษา ก็เช่นกัน มีกิจกรรมเด่นๆ อาทิ ได้มีการเปิดตลาดนัดสุขภาพ สนับสนุนผู้ผลิตอาหารสด อาหารแปรรูป ผัก ผลไม้ การพัฒนากลไกกรรมการชุมชน/แผนชุมชน การฝึกนวด การสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ การดูแลคนพิการ/กลุ่มเปราะบาง การพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น
แนวทางดำเนินการต่อไป เห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การทำงาน 3 ปี เป้าหมาย :ทำให้ชุมชนเปราะบางเป็นชุมชนเข้มแข็ง บนฐานการมีส่วนร่วม
ดำเนินการกับ 10 ชุมชนริมทางรถไฟประกอบด้วยปัญหาสำคัญ
• พื้นฐานการทำงานของชุมชน/ความสัมพันธ์ในชุมชน คุณภาพกรรมการชุมชน/การทำแผนชุมชน
• ความต้องการวัสดุสิ้นเปลืองสำหรับผู้ป่วย/คนพิการ
• ความต้องการด้านการศึกษาของเยาวชนนอกระบบ/ยาเสพติด
• รายได้ของกลุ่มวัยทำงาน/หนี้สิน ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย/การเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน
• ปัญหาขยะ
• การรองรับสถานการณ์ในภาวะวิกฤต/ภัยพิบัติ
ดำเนินการ 3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1)การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน
2)การพัฒนาระบบสนับสนุน
3)การพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.1 ด้านการศึกษา
3.2 ด้านอาชีพ
3.3 ด้านสุขภาพ
3.4 ด้านที่อยู่อาศัย
3.5 ด้านสิ่งแวดล้อม
โดยมี 2 ชุมชนนำร่องที่จะให้ 4 องค์กรทำงานร่วมกันได้แก่ สถานีอู่ตะเภา และป้อมหก ควบคู่กับกิจกรรมตามแผนงานโครงการปี 65 ขององค์กรความร่วมมือกระจายไปยังชุมชนต่างๆ
ให้มีคณะทำงานชุดเล็ก หารือแนวปฎิบัติ/แปลงนโยบายสู่การปฎิบัติ โดยขอเพิ่มทีมของทน.หาดใหญ่ กองสาธารณสุข กองศึกษา และกองช่าง ประชุมทุกเดือน สลับกับการประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ทุก 2-3 เดือน รายงานความก้าวหน้่าและหนุนเสริมการทำงาน
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้