สัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองปศุสัตว์จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล จชต.รุ่นที่ 2
วันที่ 14-15 ธันวาคม 2565 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และจังหวัดสตูล ได้นำกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองปศุสัตว์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล จชต.รุ่นที่ 2
ศึกษาดูงานกลุ่มแพะแปลงใหญ่ปากพนัง ณ ฟาร์มแพะชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มใช้แนวคิด "ร่วมกันคิด แยกกันผลิต ร่วมกันขาย" กลุ่มนี้เข้มแข็งด้วยตนเอง เลี้ยงแพะเอง ขายเอง รัฐหนุนเสริม
การขับเคลื่อนงานของกลุ่มประมาณ 7 ปี การรวมกลุ่มสำคัญอย่างยิ่งในการต่อยอด เชื่อมโยงตลาด และสร้างความยั่งยืน สมาชิกต้องเสียสละ อดทน เมื่อเจอปัญหาอุปสรรค ทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ ไม่นำเงินเป็นตัวตั้ง จะเน้นกลุ่มเป็นหลัก ตลาดหลักๆ มาเลเซีย ซึ่งความต้องการแพะ จำนวน 250,000 ตัว/ปี สิ่งสำคัญในการส่งออก มาเลเซีย ต้องควบคุมโรคต่างๆ แพะต้องสมบูรณ์ น้ำหนัก 25-35 กิโลกรัม/ตัว สายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ คือ แพะพันธุ์บอร์ แองโก คาลา แพะอายุแพะ 6 เดือนครึ่งขึ้นไป
กลุ่มเกษตรกรต้องยกระดับฟาร์ม GFM (Good Farming Management) ระบบการป้องกันโรคและเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม และฟาร์มปลอกโรคบรูเซลลาและการเคลื่อนย้าย
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้