หารือคณะกรรมการสถานศึกษาและครูอาสา เตรียมจัดตั้ง "ศูนย์การเรียนยุวชนสร้างสุข"
หารือคณะกรรมการสถานศึกษา และครูอาสา เตรียมจัดตั้ง "ศูนย์การเรียนยุวชนสร้างสุข"
วันที่ 29 มิถุนายน 2566 จังหวัดชายแดนภาคใต้นับเป็นวันหยุด เนื่องในวัน "รายออีด" ของพี่น้องมุสลิม เลยถือโอกาสที่พอมีเวลานัดทีมตั้งต้นจัดตั้ง "ศูนย์การเรียน" ทบทวนเอกสารแผนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การเรียนยุวชนสร้างสุข เพื่อทำความเข้าใจ พรบ. การศึกษาแห่งชาติแห่งชาติ ในมาตรา 4 , 12 , 15 และ 18 ที่เอื้อให้องค์กรเอกชนสามารถจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ขาดโอกาสในพื้นที่ได้ รวมทั้ง แนวทางการจัดการศึกษาของศูนย์การเรียนยุวชนสร้างสุข เพื่อให้พร้อมสำหรับยื่นจดทะเบียนกับเขตพื้นที่การศึกษาในเดือนหน้า และน่าจะทันจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่ขาดโอกาสได้ในปลายปีนี้
"ศูนย์การเรียน" ที่ว่านี้ จึงไม่ใช่ ศูนย์เรียนรู้ ไม่ใช่ศูนย์การเรียนรู้ หรือ แหล่งเรียนรู้ แต่ "ศูนย์การเรียน" เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่ระบุไว้ใน มาตรา 18 ของ พรบ. การศึกษาแห่งชาติฯ ว่า " ศูนย์การเรียน คือ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน รวมถึง องค์กรชุมชน .... เป็นผู้จัด" ทำให้ศูนย์การเรียนสามารถจัดการศึกษาตามบริบทของเด็กแต่ละคน และออกวุฒิการศึกษาภาคบังคับให้เด็กที่ขาดโอกาสได้
โดยศูนย์การเรียนที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ (และที่มีอยู่แล้วเกือบ 100 แห่งทั่วประเทศ) จะจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ขาดโอกาสเข้าเรียนในระบบ หรือแม้แต่ กศน. สามารถออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อจำกัดของแต่ละคน. ทำให้มั่นใจได้่ว่า ในอนาคต เด็กสงขลาทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน หรือได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน ที่มาร่วมกันเป็นบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา "ชุดบุกเบิก" ที่จะมาร่วมคิด ร่วมพัฒนารูปแบบการศึกษาในจังหวัดสงขลา ให้เหมาะสมและเข้าถึงเด็กสงขลาทุกคนมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ศูนย์อาสาสร้างสุข-ภาคใต้
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้