จังหวะก้าว : สงขลามหานครทุเรียนบ้านและสวนสมรม
วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 อบจ.สงขลา ร่วมสนับสนุนสงขลามหานครทุเรียนบ้านและสวนสมรม ณ สวนบ้านยาย ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
นายธัชธาวิน สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร เป็นตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
ร่วมเวทีกับเครือข่ายสวนสมรม นอกจากนี้ีผู้เข้าร่วม อาทิเช่น คุณกำราบ พานทอง เครือข่ายพันธุกรรมพื้นบ้าน ชมรมรักษ์สวนสมรม ลุงนัน คุณวุฒิศักดิ์ ผอ.สสก.สงขลา คณะเจ้าหน้าที่สนง.พัฒนาและส่งเสริมการเกษตรเขต 5 เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด นักส่งเสริมจากกรมส่งเสริมการเกษตร สมาชิกเครือข่าย สวนทุเรียน 2 ฝน เครือข่ายชุมชนเขาพระ เครือข่ายดาหลา เครือข่ายบ้านเมล็ดพันธุ์
ประเด็นเรื่องหารือ คือการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อน การขึ้นทะเบียนพันธุ์ การประกวดทุเรียนบ้าน การส่งเสริมทุเรียนบ้าน การจัดทำเอกสารทุเรียนบ้าน ความรู้การขึ้นทะเบียนมรดกเกษตรโลก การร่วมจัดงานเกษตรแฟร์ และ OTOP อบจ.สงขลา
หลักสูตรอบรมชุมชนอนุรักษ์ การเพิ่มมูลค่า การคุ้มครอง แบ่ง 3 โซน
โซน 1 หาดใหญ่ รัตภูมิ คลองหอยโข่ง สะเดา
โซน 2 นาทวี เทพา สะบ้าย้อย
โซน 3 เมือง จะนะ นาหม่อม
สวนบ้านยาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและธรรมชาติ อยู่ท่ามกลางป่า พื้นที่ติดลำธาร ห้อมล้อมด้วยพืชพรรณ และมีสถานที่ตั้งเต็นฑ์สำหรับนักท่องเที่ยว
ภาพ / ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อบจ.สงขลา
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา Songkhlapao
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้