"พลังความร่วมมือร่วมใจ ทุกนโยบายห่วงใยระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ Food system in all policy"สื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหารพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
วันที่ 18 กันยายน 2567
"พลังความร่วมมือร่วมใจ ทุกนโยบายห่วงใยระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ Food system in all policy"
เวที Policy Forum เพื่อสื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหารในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
เวที Policy Forum เพื่อสื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหารกับการประกาศเจตนารมณ์ ร่วมสร้างระบบอาหารสุขภาวะที่ยั่งยืน "พลังความร่วมมือร่วมใจ ทุกนโยบายห่วงใยระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ Food system in all policy" การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กจังหวัดปัตตานี และความร่วมมือการสร้างกลไกเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในจังหวัดปัตตานี
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ เป็น 1 ใน 7 ประเด็นการทำงานตามทิศทางและเป้าหมายระยะ 10 ปี ของ สสส. มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ จากสถานการณ์ด้านโภชนาการพื้นที่ชายแดนใต้ ปี65 และในอนาคต โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ พบว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) มีปัญหาทุพโภชนาการติด 1 ใน 5 อันดับสูงสุดของประเทศ พบเด็กอายุ 1-5 ปี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นหรือมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ 20% สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอยู่ที่ 13% ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดสารอาหารต่อเนื่อง กระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว รวมถึงส่งผลต่อความไม่มั่นคงของมนุษย์ และเศรษฐกิจประเทศ
“สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ได้เร่งสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย นำร่องพัฒนาตำบลต้นแบบบูรณาการระบบอาหารในพื้นที่ จ.ปัตตานี จนเกิดการยกระดับการทำงานเชิงระบบและเกิดข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ 3 เรื่อง 1.สร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน 2.สร้างระบบอาหารปลอดภัย จ.ปัตตานี 3.แก้ปัญหาโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก วัยเรียน และกลุ่มเปราะบาง จ.ปัตตานี การจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างความร่วมมือจัดทำ Road map การขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ ระยะ 3 ปี เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว
การกำหนดนโยบายด้านระบบอาหาร ถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างศักยภาพประชาชนให้เท่าทันกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เสริมความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจให้กับยพื้นที่ ทั้งนี้ นโยบายด้านระบบอาหารจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำงานจังหวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ ขยายผลในทางปฏิบัติต่อไป
นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จ.ปัตตานี เราดูที่การผลักดันระดับจังหวัดต้องสร้างให้เป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร เรามีข้อมูลมากทั้งการเหลงการเกษตร ปศสัตว์ แต่เรามีพื้นปลูกยาง คงต้องคำนึงใช้พื้นที่มาตอบโจทย์ในพื้นที่เอง ขณะช่วงแรกนี้ใช้กลไกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 38 แห่ง ร่วมกับ Thailand Policy Lab สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน ให้สามารถจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ปัญหา สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกิดแนวร่วมในชุมชนให้เห็นพิษภัยของอาหารที่ใช้สารเคมี ทั้งอาหารแปรรูป ชาไทย ที่มีสีสังเคราะห์ปนเปื้อนในอาหาร และอาหารทะเล ที่มีสารฟอร์มาลีน โลหะหนัก สารหนู สารตะกั่วและอื่นๆปนเปื้อนในอาหาร โดยส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย และเสริมสร้างการสร้างองค์ความรู้ให้กับกลุ่มแม่เลี้ยงเด็ก ให้มีความรอบรู้ให้ผู้บริโภคฉลาดเลือก เนื่องจากผู้ปกครองยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารต่อการพัฒนาสมอง และบางส่วนคิดว่าภาวะเตี้ยในเด็กเป็นเรื่องปกติ และการสร้างนิสัยการกินที่ดีเป็นหน้าที่หลักของครู การส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้รับสารอาหารที่เพียงพอเหมาะสมตามวัย และร่วมกันแก้ปัญหาของคนในชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่ออนาคตของเด็กและเยาวชน จ.ปัตตานี ที่จะเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาบ้านเมือง และเป็นแกนนำสร้างสังคมสุขภาวะยั่งยืน และที่สำคัญต้องผลักดันไปทั้ง 3 จังหวัด ปัตตานี นราธิวาส ยะลาด้วย ต้องเสรอเป็นนโยบาย จะได้ขยับให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า การเข้าถึงอาหารปลอดภัย รวมทั้งความรอบรู้และพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีปัญหาค่อนข้างสูงกว่าพื้นที่อื่น สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. จึงเร่งบูรณาการทำงานเครือข่ายนักวิชาการทั้งในและนอกพื้นที่ ช่วยเป็นพี่เลี้ยงหนุนเสริมการทำงานส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ สร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยเพิ่มขีดความสามารถของกลไกหน่วยงานในพื้นที่ ให้เกิดแผนปฏิบัติการจัดการระบบอาหารอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการขยายผลเชิงนโยบาย และเกิดการเรียนรู้ของเครือข่ายที่ทำงานในพื้นที่ อาทิ เครือข่ายตลาดนัดอาหารเช้าโรงเรียน 6 แห่งใน จ.ปัตตานี ให้นักเรียนเป็นผู้ประกอบการ ผลิตอาหารปลอดภัย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน ส่งเสริมโครงการปลูกผักยกแคร่ สร้างโรงเรือนปลูกผักในที่สูงป้องกันวัชพืช ทำให้กลไกชุมชนจังหวัดปัตตานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ต้นแบบที่เข้มแข็ง ช่วยสร้างแนวทางการกำหนดนโยบายที่แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ แอดชายแดนใต้
Relate topics
- กสศ. ร่วมกับเครือข่ายจัดการศึกษาเชิงพื้น และตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
- ประชุมคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนแผนรองรับสังคมสูงวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2567
- โครงการพัฒนาศักยภาพครู ผู้ดูแลเด็ก และเครือข่าย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0-5 ปี (สงขลา)
- 21 ศูนย์สร้างสุขชุมชน (สงขลา) ร่วมเป็นพื้นที่นำร่องร่วมพัฒนาและทดลองใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบถอดซักได้
- คอร์ส "ปลุกปั้น นักสร้างสรรค์ รุ่นใหม่ สู่โลกแห่งสื่อ ที่ไร้ขีดจำกัด" ภาคใต้ตอนล่าง
- POLICY FORUM เพื่อสื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยและโภชนาการ) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
- เวทีบูรณาการความร่วมมือและขับเคลื่อนระบบอาหาร เพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัดสงขลาและพัทลุง
- ตำบลอยู่ดีมีสุขต้นแบบด้านการคุ้มครองเด็กกับงานพัฒนาศักยภาพกลไกคุ้มครองเด็กระดับตำบล 10 ตำบลจังหวัดยะลา
- วิจัยเพื่อต่อยอด “รถตู้ลดเหลื่อมล้ำ” โรงพยาบาลสะบ้าย้อย สงขลา
- "ประชุมเตรียมสมัชชากำลังคนสุขภาพเพื่อรองรับงานปฐมภูมิและสังคมสูงวัยสงขลา"