ตำบลอยู่ดีมีสุขต้นแบบด้านการคุ้มครองเด็กกับงานพัฒนาศักยภาพกลไกคุ้มครองเด็กระดับตำบล 10 ตำบลจังหวัดยะลา
ตำบลอยู่ดีมีสุขต้นแบบด้านการคุ้มครองเด็ก
เพราะความยั่งยืนของงานที่ทำในวันนี้ไม่ได้อยู่ที่กลุ่มลูกเหรียง แต่มันคือทุกคนที่เป็นสมาชิกหนึ่งในชุมชนที่จะร่วมสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน
เราเพียงทำหน้าที่จุดประกายให้ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของเด็กคนหนึ่งที่กำลังจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ว่าเขาควรจะต้องได้รับการปกป้องจากผู้ใหญ่อย่างไร
การอบรมพัฒนาศักยภาพกลไกคุ้มครองเด็กระดับตำบล 10 ตำบล จังหวัดยะลาวันนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่สำคัญในการติดตั้งเครื่องมือและความรู้ให้กับกลไกคนทำงานด้านเด็ก สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่างานที่ทำในวันนี้เราเดินมาถูกทางคือ 3 ตำบลเดิมที่เป็นตำบลเริ่มต้นได้ยกระดับตัวเองเป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดความรู้และเครื่องมือให้ตำบลใหม่ในวันนี้ได้
การเรียนรู้สำคัญที่เกิดขึ้นตลอด 3 วัน (20-22 กันยายน 2567)
-เข้าใจวิธีการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก
-เรียนรู้เครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงของเด็ก
-เรียนรู้เครื่องมือแบบสำรวจตำบล
-เข้าใจสิทธิเด็กและการปกป้องคุ้มครองเด็ก
จากจุดเริ่มต้น 3 ตำบลในวันนั้นได้ถูกขยายผลมาสู่ 10 ตำบล ครอบคลุมทั้ง 8 อำเภอในจังหวัดยะลาวันนี้ และนี่คือต้นแบบสำคัญที่จะถูกขยายและกระจายไปทั่วทุกตำบลในจังหวัดยะลาต่อไป
ขอบคุณวิทยากรนางสาวหทัยรัตน์ สุดา : นักวิชาการอิสระ ด้านการออกแบบและจัดการเรียนรู้ (ห้องสมุดผีเสื้อ)
#กลไกปกป้องคุ้มครองเด็กระดับตำบล
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ กลุ่มลูกเหรียง
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้