จังหวะก้าว “วัยรุ่นใต้ล่างรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า”
วันที่ 20 ตุลาคม 2567 ได้นัดทีมเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ภาคใต้ตอนล่าง ร่วมหารือถึงกรอบแนวคิดการขับเคลื่อนโครงการสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
“วัยรุ่นใต้ล่างรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า”
ซึ่งจะเป็นผลสืบเนื่องจากการที่ กขป.เขต 12 มีมติเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ให้ประเด็นบุหรี่ไฟฟ้าเป็นแผนปฏิบัติการของ กขป.เขต 12 ในปีงบฯ 2568 โดยมอบหมายให้ทางผมในนามผู้แทนด้านเด็กและเยาวชนเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
ตลอดจนเป็นผลความร่วมมือแผนการดำเนินงานระหว่างเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ภาคใต้ตอนล่าง กับ สปสช. เขต 12 ที่จะดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นบุหรี่ไฟฟ้าผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
โดยนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ จ.พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส จังหวัดละ 3 ตำบล รวมทั้งสิ้น 18 ตำบล
มีเป้าหมายเพื่อการสานพลังภาคีสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และสร้างการเรียนรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน
จากการประชุมหารือ ทาง ขสย.ใต้ล่าง ได้กำหนดกรอบแนวคิดและแผนการดำเนินงานของโครงการฯ ซึ่งจะได้นัดหมายการประชุมร่วมกันระหว่าง ขสย., สช., กขป.เขต 12, สปสช.เขต 12, และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงรายละเอียดและพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ต่อไป
อับดุลปาตะ ยูโซะ กขป.เขต 12 บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้