"ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้กับคนพิการติดเตียงสงขลา"

  • photo  , 1080x608 pixel , 93,305 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 181,122 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 144,310 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 145,703 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 124,318 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 136,909 bytes.

"ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้กับคนพิการติดเตียง"

วันที่ 25 ตุลาคม 2567  กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา โครงการหุ้นส่วนทางสังคม พ.ว.ก. นัดภาคีเครือข่ายหารือแนวทางการประเมินเพื่อการจัดสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย รวมถึงสิทธิพื้นฐานสำหรับคนพิการติดเตียง จ.สงขลา เป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเหลือคนพิการสิทธิ์บัตรทอง 905 คน ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ อบจ.สงขลา

โดยมีผู้เข้าร่วมจากกองทุนฟื้นฟูฯ พมจ. สสจ. พช. คณะสถาปัตย์มทร.ศรีวิชัย วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด มีข้อสรุปสำคัญดังนี้

1.นำข้อมูลพื้นฐานคนพิการติดเตียง ADL 0-4 ที่ได้ข้อมูลจากสปสช.เขต 12 ที่มีจาก 3 หน่วยงานได้แก่ สสจ. พมจ. พช. มาดูเพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เขียว/เหลือง/แดง โดยนำกรอบแนวทางการประเมินที่ได้จากการประชุมวันนี้ จำแนกข้อมูลที่เกี่ยวข้องของ 3 หน่วยงาน ส่งกลับไปเพื่อให้นำข้อมูลที่มีอยู่แล้ว มาพิจารณาร่วมกัน วางเป้าหมายเบื้องต้น คาดว่าจะมีกลุ่มแดงราว 300 คน ที่จะเป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน

ข้อมูลพื้นฐาน : ชื่อ เพศ อายุ เลขบัตรประชาชน ที่อยู่/กรรมสิทธิ์ สถานะภาพ ประเภทความพิการ โรคประจำตัว รายได้ ผู้ดูแล สมาชิกในครอบครัว(ปัจจุบัน)

ข้อมูลพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ ลักษณะบ้าน สภาพบ้าน ความมั่นคงของบ้าน

ข้อมูลพื้นฐานการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการพื้นฐาน ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม

หลักเกณฑ์สำคัญ คือ เป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความยากจน มีภาวะพึ่งพิงสูง

กำหนด time line 20 พย.67 ดูผลการประมวลข้อมูลพื้นฐาน คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย และวางหลักสูตรการอบรม

2.พัฒนาหลักสูตร เสริมศักยภาพให้กับทีมช่างอาสาที่จะมาจากนักเรียนและนักศึกษาคณะสถาปัตย์ของมทร.ศรีวิชัยและวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ องค์กรละ 30 คน รวม 60 คนเพื่อลงพื้นที่ทำงานร่วมกับอปท.ในพื้นที่ และประสานอปท.ที่มีคนพิการเป้าหมายอาศัยอยู่ มาร่วมทำความเข้าใจแนวคิด แนวทางดำเนินงาน ประสานการปรับสภาพบ้านร่วมกัน โดยร่วมกับมูลนิธิคนช่วยคน ภาคเอกชนอื่นๆ นำแนวคิดการพึ่งตนเอง ประสานทุนภายในและภายนอกพื้นที่ร่วมดำเนินการ

โดยอาจารย์จากคณะสถาปัตย์ จัดทำแบบมาตรฐานรวมถึงวัสดุที่จำเป็น บนหลักการสำคัญ คือ มีความมั่นคง ปลอดภัย สะอาดถูกสุขอนามัย ทุกคนเข้าถึงง่าย ราคาจับต้องได้ เป็นแม่แบบ เพื่อให้ทีมช่างอาสานำไปปรับใช้

นัดอบรมเสริมศักยภาพ ต้นเดือนธันวาคม 2567

3.ทีมช่างอาสา 60 คน ลงพื้่นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมวิเคราะห์สภาพแวดล้ัอมของที่อยู่อาศัย และออกแบบการปรับสภาพที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมให้กับคนพิการติดเตียงรายคน  โดยกองทุนฟื้นฟูฯสนับสนุนค่าตอบแทน

1)วิเคราะห์พื้นที่เฉพาะให้กับผู้ป่วย  อาทิ มีหน้าต่างระบายอากาศ มีแสงสว่างเพียงพอ มีแสงส่องถึง ประตูทางเข้าที่กว้างเพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายเตียง มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการชำระล้างร่างกาย การทำความสะอาดพื้นที่ มีพื้นที่พอเพียงสำหรับการดูแล/ผู้ดูแล

2)อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับผู้ป่วย : เตียง รถเข็น ที่นอนลม เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ที่ให้อาหารทางสายยาง

3)สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน : ราวจับ ทางลาด ประตู หน้าต่าง อุปกรณ์ชำระล้าง/การระบายของเสีย ม่าน ฉากกั้น วัสดุปูพื้นกันลื่น สุขภัณฑ์ กระเบื้องมุงหลังคา ตู้/ชั้น ที่เก็บยา

4)การปรับสภาพแวดล้อม : ระบบไฟฟ้า ยุง แมลง อากาศร้อน

ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2567

4.ร่วมกับอปท.ในพื้นที่ นำแบบการปรับสภาพที่อยู่อาศัย ไปดำเนินการ

4.1 ประสานกองทุนฟื้นฟูฯ ขอสนับสนุนงบประมาณในการปรับสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นตามความเหมาะสม โดยใช้งบจากกองทุนฟื้นฟูฯ หลังละไม่เกิน 40,000 บาท พร้อมค่าแรงทีมช่างหรืออาสาสมัครในการปรับสภาพบ้าน

4.2 บูรณาการงบกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในกรณีที่ต้องการปรับสภาพบ้านมากกว่างบที่มี

4.3 นำแบบที่ช่างอาสาจัดทำรวมถึงการวิเคราะห์วัสดุอุปกรณ์ประกอบ นำมารวบรวมเพื่อระดมบริจาคหรือขอสนับสนุนจากภาคเอกชน ร่วมกับพมจ. และจังหวัด

ดำเนินการในช่วง กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป

5.ติดตามประเมินผล ว่าการดำเนินงานนี้สามารถช่วยเหลือคนพิการติดเตียงใน 4 ด้านสำคัญหรือไม่ ได้แก่

1)ส่งเสริมความสามารถการใช้ชีวิตประจำวัน

2)ส่งเสริมทางด้านจิตใจ

3)ส่งเสริมการกินอาหาร

4)ส่งเสริมการขับถ่าย

ดำเนินการในช่วง เมษายน 2568

5.ร่วมกับอปท.สนับสนุน หรือประสานการส่งต่อเพื่อให้คนพิการติดเตียงและสมาชิกในครัวเรือนเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม รวมถึงค้นหาพื้นที่ต้นแบบในการเก็บข้อมูลเชิงลึก 4 มิติร่วมกับจิตอาสาในพื้นที่ จัดทำแผนและกติกาชุมชนรองรับสังคมสูงวัย สร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้กับครัวเรือนเป้าหมาย  ดำเนินการ มกราคม 2568 เป็นต้นไป

Relate topics