ประชุมคณะทำงานชุดเล็กประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง (บุหรี่ไฟฟ้า) เขต 12

  • photo  , 1000x564 pixel , 112,819 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 191,853 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 159,026 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 149,895 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 136,980 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 184,977 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 199,737 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 92,174 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 196,365 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 107,841 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 97,683 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 100,725 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 110,318 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 104,946 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 109,051 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 179,395 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 110,994 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 176,227 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 196,219 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 107,248 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 107,079 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 111,258 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 98,744 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 326,765 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 299,253 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 308,196 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 341,470 bytes.

ประชุมคณะทำงานชุดเล็กประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง (บุหรี่ไฟฟ้า) เขต 12

วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๗  ณ ศูนย์ประสานงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ และผ่านระบบ Zoom

กล่าวชี้แจงความเป็นมาของการประชุม โดยนายแพทย์สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ประธานกขป.๑๒

-ประเด็นปัจจัยเสี่ยงเป็นประเด็นที่มาแรงโดยเฉพาะเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้น เป็นภาพกระแสใหญ่ จึงคิดว่าควรเชิญชวนบุคคลที่เกี่ยวข้องมาร่วมขับเคลื่อนงานในเขต ๑๒ เพื่อให้เห็นอุบัติการณ์ของปัจจัยเสี่ยงเรื่องนี้ อะไรที่เราต้องการให้เห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้ หากทำได้ในระดับจังหวัดร่วมกับ อบจ. หรือระดับอำเภอร่วมกับ พชอ.หรือระดับตำบลผ่านกองทุนตำบล ซึ่งหากมีโมเดลต่างๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคประชาชน ภาคต่างๆ ที่จะมาร่วม และมาดูว่าใครจะเป็นเจ้าภาพในประเด็นไหน

แลกเปลี่ยนตัวอย่างพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ

๑)นางกัลยา เอี่ยวสกุล พื้นที่ปัตตานี มีโรงเรียนเบญจมราชูทิศปัตตานี เป็นประเด็นใหม่ของครูและนักเรียนต่อเรื่องนี้ จากการเก็บข้อมูลเด็กนักเรียนหญิงติดบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าเด็กผู้ชาย  มีงานวิจัยของ มอ.ปัตตานี ประเด็นการทำสื่อรณรงค์บุหรี่ สสส.ทำน้อยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของแอลกอฮอล์มากกว่า ซึ่งควรเพิ่มสื่อด้านนี้ให้มากขึ้น

๒)นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์  สิ่งที่ สสส.ทำส่วนใหญ่เป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเป็นประเด็นหลัก แต่ถ้าถามว่าประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นตอบยาก  สสส.ทำเรื่องสื่อค่อนข้างมาก แต่ยังไม่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลทั่วไปมากนัก

๓)รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา  ในเรื่องของการสูบบุหรี่พื้นที่จังหวัดนราธิวาสดำเนินการโดยเทศบาลเมืองนราธิวาส มีผู้ที่เลิกได้สำเร็จมากกว่า ๖ เดือน  ในพื้นที่เทศบาลมะรือโบตก ร่วมกับรพ.สต.และโรงพยาบาลนราธิวาส และกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนปลอดบุหรี่ โรงเรียนคลองท่อมพิทยาสรรค์ มีการตั้งเป็นกฎกติกาและประกาศของโรงเรียน มีมาตรการในการตรวจค้นและมีกล้องวงจรปิดในโรงเรียน โรงเรียนได้รับรางวัลในเรื่องนี้และมีการรณรงค์ในขบวนพาเหลด โดยกลุ่มสภานักเรียนเป็นกลุ่มเริ่มคิดและมีกิจกรรมต่างๆ บูรณาการร่วมกับภาควิชาอื่นๆ เห็นรูปแบบบูรณาการเพื่อให้การใช้บุหรี่ไฟฟ้าลดลง กรณีของมอ.ปัตตานี ชูประเด็นเรื่องการป้องกันบุหรี่ในมหาวิทยาลัย

๔)นายธีรภัทร์ คหะวงศ์  ผู้ประสานงาน ขสย.  เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชนฯ ทำงานร่วมกับสำนัก ๑ โครงการ สสส. พัฒนาคนขบวนความร่วมมือ พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี และพลังเยาวชนในการขับเคลื่อนสุขภาพ ร่วมกับเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ประเด็นหลักคือบุหรี่สารเสพติดและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน

๕)นายอับดุลปาตะ ยูโซะ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างได้ขับเคลื่อนงานเยาวชนและเด็กเยาวชน ในพื้นที่ ๖ จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ยกเว้นพื้นที่ตรังที่ยังไม่มีตัวแทน กิจกรรมที่ขับเคลื่อนสังคมด้านเด็กและเยาวชนปี ๖๖-๖๗ ในเรื่องคนรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสกับการเลือกตั้ง เวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันในการโชว์แชร์เชื่อม ปัญหาอุปสรรคผลลัพธ์จากการทำงาน งานรณรงค์เครื่องดื่มแอลกออฮล์ กระท่อม ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกับเด็กและเยาวชน ร่วมกับชุมชนจารูเทศบาลนครยะลา เพื่อขับเคลื่อนเป็นชุมชนโมเดลต้นแบบ เวทีรับฟังเสียงคนรุ่นใหม่ต่อประเด็นการสร้างสันติภาพในพื้นที่ สร้างพื้นที่เพื่อนำมาซึ่งสันติสุขสันติภาพในพื้นที่ งานหนุนเสริมเยี่ยมเพื่อนภาคีต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ ในลักษณะการผูกมิตรการช่วยเหลือให้กำลังใจคนทำงานด้านเด็กและเยาวชน ค่ายคืนคนดีสู่สังคมจังหวัดพัทลุงโดยนำคนที่หลงผิดติดยาเข้ามาร่วมฝึกอบรม รณรงค์แก้ไขพรบ.แอลกออฮล์ การจัดทำแผนพัฒนาความร่วมมือคนทำงานด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่ใต้ล่าง  ร่วมกับ สปสช.ในการขับเคลื่อนประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า ประเด็นหลักที่จะขับเคลื่อนคือ กระท่อม บุหรี่ไฟฟ้า สุขภาพจิต

นำเสนอข้อมูล

-โครงการปกป้องเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า  เป้าหมายคือการสานพลังเครือข่ายเยาวชน ขับเคลื่อนโดยใช้ยุทธศาสตร์ ๔ ส คือ สานพลังภาคี สื่อสารสาธารณะ/การรณรงค์  สร้างสุขภาวะ ส่งต่อสังคมที่ดีแห่งการปกป้องเด็กเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า

-วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับทราบสถานการณ์/เก็บข้อมูล ออกแบบกระบวนการ หาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่นำร่อง ๑๘ พื้นที่ สร้างความตระหนักรู้พิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า การจัดทำนโยบายตามบริบทของพื้นที่ เช่น ประกาศหรือมาตรการระดับตำบล/อำเภอ

-ระยะเวลา ๑ ปี

-พื้นที่เป้าหมาย ๖ จังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่มีผู้ประสานงาน ขสย.จังหวัดละ ๓ พื้นที่รวม ๑๘ พื้นที่

-กลุ่มเป้าหมาย เด็กเยาวชน สถานศึกษารัฐ เอกชน และเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา พื้นที่ละ ๕๐ คน รวม ๙๐๐ คน ผู้รับประโยชน์ทางอ้อม คือ ผู้ปกครอง โรงเรียน ชุมชน

-ตัวชี้วัด

๑)มีข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน

๒)ได้ชุดกระบวนการการทำงานและแนวทางการทำงานที่ออกแบบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับกองทุนตำบล ๑๘ แห่ง

๓)เกิดพลังภาคีความร่วมมือและมาตรการเชิงนโยบาย

๔)เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในระดับชุมชน / ตำบล

-กลไกในการเป็นเจ้าภาพหลัก คือ ขสย. สช. สปสช. กขป. กองทุนตำบล ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน ชุมชน

-ภาคีความร่วมมือ รพ.สต. อบต. องค์กรพี่เลี้ยงจากเครือข่ายสมาคมต่างๆ ในการดำเนินงานแต่ละพื้นที่

-งบประมาณจาก

๑)งบดำเนินงาน สช. สปสช. กขป. แผนงานร่วมทุน

๒)งบปฏิบัติการ จากงบกองทุนตำบล

๓)งบประมานงาน จาก ขสย. เป็นค่าประสานงานจากผู้ประสานงานแต่ละจังหวัด

-Time line

๑)จัดประชุมออกแบบแนวคิดโครงการ

๒)เลือกพื้นที่เป้าหมาย

๓)การประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อชี้แจงรายละเอียดและพัฒนาข้อเสนอโครงการ

๔)แต่งตั้งคณะทำงานร่วมที่เกี่ยวกับโครงการ

๕)เสนอโครงการ

๖)คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติโครงการ

๗)ดำเนินโครงการ

๘)ประเมินผลและสรุปโครงการ

๒.แลกเปลี่ยน/เสนอแนะ

๑)นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ  แนวคิดของขสย.อยากร่วมหุ้นลงขันกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งอาจจะต้องเขียนงบกลมๆ มาให้เห็นว่างบดำเนินการทั้งก้อนเท่าไหร่ ใครบ้างจะร่วมลงขันเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดการประเมินว่าสามารถขับเคลื่อนต่อไปในระยะยาวได้อย่างไร การสร้างพี่เลี้ยงในระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการขยายผลที่มากกว่าเครือข่าย ขสย. สร้างเป็นองค์กรพี่เลี้ยงครู ก ครู ข

๒)นายสมชาย ละอองพันธ์  การสนับสนุนจากท้องถิ่น โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจะเกิดประสบการณ์หรือบทเรียนดีดี การเกิดสื่อความรู้การรณรงค์ ข้อตกลงและผลที่เกิดขึ้น การเสนอโครงการจะแยกเป็น ๒ ส่วน อะไรบ้างคือกิจกรรมที่ตรงกลางต้องทำ และเชื่อมลิงค์กับกองทุน ๑๘ แห่ง ซึ่งต้องคิดต่อว่างบประมาณของ ๑๘ กองทุนเป็นอย่างไร กระบวนการที่จะให้เห็นทั้ง ๑๘ โครงการที่เชื่อมโยงกัน กระบวนการที่จะทำร่วมกันคืออะไร กองทุนท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือเพราะเป็นการพัฒนาศักยภาพ โดยหลักคือต้องมีหน่วยงานรับทุน และหากได้รับโครงการยินดีจะเชิญผู้บริหารกองทุนเพื่อนำเสนอเข้าไปในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ โครงการที่เป็นประเด็นบุหรี่ปัจจัยเสี่ยง มีโครงการเกือบ ๑,๐๐๐ โครงการและเริ่มเยอะขึ้น โดยหลักคือการอบรมให้ความเข้าใจและโทษของบุหรี่ กระบวนการเพื่อไปสู่ข้อตกลงนโยบายต่างๆยังมีน้อย

๓)รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา เห็นกรอบว่ามีเป้าที่จะทำอะไร และต้องดูว่าทำอย่างไรให้กรอบมีความชัดเจนขึ้น เช่น เรื่องกลุ่มเป้าหมายจะมีทั้งในสถานศึกษาและชุมชน  องค์ความรู้ในการช่วยเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องใหม่ จะมีศูนย์วิจัยยาสูบ มอ.หาดใหญ่เป็นหัวหน้าทีม หากน้อง ๆ มีการหาแกนนำในพื้นที่น้องจะมีทีมที่อยู่ในพื้นที่ไม่ว่าจะอยู่ในระดับตำบล ระดับอำเภอ หรือแกนนำเด็กเยาวชน สภานักเรียน และเขียนลงในกิจกรรมของกองทุนสปสช.เช่น เป็นวิทยากร การออกแบบสื่อต่างๆ เป็นการทำงานอิสระของแต่ละพื้นที่ ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้ในแต่ละพื้นที่ ข้อมูลที่มีใน ๑๘ พื้นที่ดูว่ามีกลุ่มน้องนักเรียนเยาวชนอยู่กี่คน หรือกลุ่มคณะกรรมการโรงเรียน ดูว่ามีกลุ่มไหนที่สามารถจับมือกับเขาได้ มีกลุ่มเครือข่ายที่จะสร้างความเข้มแข็งเป็นเครือข่ายการทำงานได้ด้วย และอาจเก็บข้อมูลเรื่องแอลกออฮล์ร่วมด้วยไปด้วยกันสักสี่ห้าคำถามที่เป็นข้อมูลที่เป็นความจริงน่าเชื่อถือ สิ่งที่อยากเห็นคือกลไกเยาวชนในพื้นที่ ทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการสร้างสภาพแวดล้อมหรือกฎกติกาที่เกี่ยวข้อง หรือการทำให้เกิดศักยภาพในการร่วมทำข้อตกลงร่วมกับโรงเรียน ผู้ปกครอง หากเราไม่ลงมือทำบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงจะยิ่งแพร่ไปเร็วมากขึ้น

๔)นางกัลยาทรรศน์ ติ้งหวัง ตอนนี้เด็กนักเรียนใช้บุหรี่ไฟฟ้ากันมาก แต่มาตรการในการตรวจการค้น การป้องกันเด็กนักเรียนยังมีน้อยมาก ในเรื่องของทางกฎหมายตอนนี้น่าจะมีนโยบายชัดเจนขึ้น และในส่วนของหน่วยงาน/ราชการ ต้องมีมาตรการอย่างชัดเจน โดยแลกเปลี่ยนกับ สสจ.ด้วย กองทุนท้องถิ่นหากมีคนสนับสนุน และมีพื้นที่นำร่อง โดยเชิญทางตำรวจมาร่วมเพื่อให้มีมาตรการที่เข้มข้น น่าจะมีเวทีตรงกลางระดับจังหวัดด้วยเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้

๕)นายบัณฑิต  มั่นคง เป็นสิ่งที่แลกเปลี่ยนเมื่อครั้งที่แล้ว เห็นด้วยกับการมอบหมายให้กับกรรมการ กขป.ที่มีภารกิจในการขับเคลื่อนประเด็นนั้นๆมาออกแบบในนามอนุประเด็น และในฐานะอนุประเด็น เชิญชวนภาคีอื่นๆมาเป็นอนุประเด็นให้มากขึ้น และมีมาตรการระดับกฎหมายมาขับเคลื่อนด้วย สช.มีงบประมาณบางส่วนที่กันงบให้อนุประเด็นในการขับเคลื่อนโดยมีงบในการประสานงานขับเคลื่อนได้ ในการสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าในการพัฒนาศักยภาพและการทำเรื่องนโยบายสาธารณะ หากยกระดับ ๑๘ แห่งในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ มีเรื่องธรรมนูญสุขภาพที่สามารถเสริมได้ โดยสช.มีการพูดคุยและตรงกันคือ ในการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานประเด็นของเขตนั้นๆ ดูเรื่องระบบข้อมูลกับการทำแผนบูรณาการ และการบูรณาการขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ ที่สามารถยกระดับทำไปด้วยกันได้ ประมาณกลางเดือนธันวาคม จะเชิญคณะทำงานอนุประเด็นมาขับเคลื่อนเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า และworkshop ถ้าเราทำเรื่องนี้ในปีนี้สิ่งที่จะทำคือ สถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้า เรื่องกลไกบูรณาการหรือกลไกภัยคุกคามบุหรี่ไฟฟ้า การขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ และบทเรียนการทำเรื่องนี้ร่วมกันในปีต่อไป

๖)นายวันอาฟันดี เจ๊ะสาเหาะ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นประเด็นสำคัญ กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด และมีกลุ่มเป้าหมายที่คาบเกี่ยวกับเครือข่ายงดเหล้าฯ ซึ่งบางพื้นที่สามารถขับเคลื่อนไปด้วยกันได้

๗)นางกัลยา เอี่ยวสกุล ภายใต้กลไกจังหวัดมีสสจ.ที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้  และมีอบจ.แต่ละอบจ.ที่ขับเคลื่อนเรื่องบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงด้วย กลไกเขต/ชาติ คือกขป.ที่หนุนงานด้านวิชาการ และระดับพื้นที่มีส่วนของอำเภอแต่ละอำเภอผ่านกลไกพชอ. งบประมาณที่สามารถขอได้สำนัก ๖ ที่สำคัญกลไกพี่เลี้ยงที่ต้องมีในระดับจังหวัด ทำอย่างไรชวนคนที่รับผิดชอบบรรจุแผนบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไปในแผนของท้องถิ่น

๘)นายชาคริต โภชะเรือง องค์ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องติดอาวุธให้กับทีมก่อน การทำโครงการมีข้อดีคือทำให้เครือข่ายเกิดการขยับการทำงาน การพัฒนาศักยภาพทีมให้เกิดการทำงานและเพิ่มเครือข่ายในพื้นที่ขึ้นมาและมีพื้นที่ที่พอจะเป็นตัวอย่างได้มาแลกเปลี่ยนร่วมกัน

๙)ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ เราคุยเรื่องปัจจัยเสี่ยงมีองค์กร รูปธรรม ทิศทางที่เห็น วันนี้มีกลไกคือ ขสย.เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อน เหลือเพียงรูปธรรมที่จะขับเคลื่อน เรื่องโครงการอาจเป็นภาพรอง วิธีการทำงาน วิธีคิดวิธีการทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ บทบาทของ กขป.ที่จะช่วยได้คือการมีเวทีพูดคุยที่จะแชร์ประสบการณ์ความรู้และการเชื่อมโยงเครือข่ายที่สำคัญซึ่งยังเป็นจุดอ่อนขององค์กร และโครงการของเรามีลักษณะพิเศษกว่าโครงการที่กองทุนตำบลสนับสนุนอย่างไร มีลักษณะต่างอย่างไร

๓.แนวทางต่อไป

-ติดตามและสนับสนุนการทำงานภาคีเครือข่ายต่อไป

ปราณี วุ่นฝ้าย บันทึกเรื่องราว

Relate topics