"กิจกรรมเสริมพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 30 โครงการย่อย แผนงานร่วมทุนฯ สงขลา ครั้งที่ 1"
"กิจกรรมเสริมพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 30โครงการย่อย แผนงานร่วมทุนฯ สงขลา ครั้งที่ 1"
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00-16.00 น. แผนงานร่วมทุนฯ จัดประชุมเพื่อเสริมพลังการดำเนินงานให้กับแกนนำโครงการย่อยประเด็นยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในสถานศึกษา ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุอบจ.สงขลา มีผู้เข้าร่วม 70 คน โดยมีนางปิยะนันท์ สิงห์ทอง รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธานเปิดการประชุม
ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมต่อกิจกรรม คือ ต้องการเรียนรู้ ต้องการปรับลดเงื่อนไขของเอกสารการเงิน/รายงาน ต้องการเพื่อนและเครือข่าย
ภาคเช้า เริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการย่อย ประเด็นยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในสถานศึกษา “สิ่งที่ทำได้ดี การรับมือกับปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ” โดยมีตัวแทน 4 โครงการย่อยมานำเสนอ ได้แก่
•โครงการต้นแบบเยาวชนสมดุลสุนทรียห่างไกลยาเสพติด
•โครงการสร้างแกนนำเด็กยุคใหม่ ห่างไกลยาเสพติดตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
•โครงการคูเต่าวิทยา พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อศิษย์เรียนรู้อย่างมีความสุข
•โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์แบบบูรณาการความร่วมมือ
ทั้ง 4 โครงมีปัจจัยความสำเร็จมาจากฐานคิดขององค์กรรับทุนหรือผู้นำที่นำวิสัยทัศน์ หรือปรัชญาแนวคิดการดำเนินงานมาใช้ กำหนดแนวทางของกิจกรรม การมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจกับคณะทำงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและติดตามผลทั้งในแบบนอกระบบและในระบบการเรียน การบุรณาการกิจกรรมของโครงการให้เข้ากับระบบการทำงานเดิม และการประสานเสริมหนุนของทีมกลางทั้งผ่านเครื่องมือ และกลไกพี่เลี้ยง/กองเลขา
อุปสรรคสำคัญ อยู่ที่เงื่อนไขเวลาการทำงานและกิจกรรมของโครงการย่อยไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมประจำของสถานศึกษา ความต้องการวิทยากรสนับสนุนความรู้และกระบวนการ ความยุ่งยากของเอกสารการเงิน/รายงาน
ต่อจากนั้น แบ่งกลุ่มย่อยตามรายโครงการ ระดมความเห็น “สิ่งที่ได้จากการดำเนินงานโครงการ”
•ผลลัพธ์ของโครงการที่ไปถึงเป้าหมาย กิจกรรมหรือสิ่งดีๆที่เป็นข้อค้นพบจากการดำเนินงาน
•ผลลัพธ์ของโครงการที่ยังไม่บรรลุ กิจกรรมหรือปัญหาอุปสรรคที่ยังต้องปรับปรุง
•แนวทางดำเนินงานต่อไป
ภาคบ่าย จัดกระบวนเรียนรู้แบบ เวิร์ลคาเฟ่ แบ่งกลุ่มย่อย ประเด็นยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในสถานศึกษา ตัวแทนโครงการย่อยสรุปเนื้อหาจากการระดมความเห็นของโครงการๆละ 5 นาที จากนั้นระดมบทเรียนการดำเนินงานโครงการ(ปัจจัยความสำเร็จ/ปัญหาอุปสรรค) และข้อเสนอแนะเพื่อรับมือกับปัญหาอุปสรรค
ต่อจากนั้น สลับกลุ่ม พร้อมนำเสนอและสรุปบทเรียนและข้อเสนอแนะการดำเนินงานเสนอต่อโครงการย่อย และเสนอต่อแผนงานร่วมทุนฯโดยมีทีมกองเลขา ทีมพี่เลี้ยงและตัวแทนกรรมการบริหารร่วมแลกเปลี่ยน
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะสำคัญ
1.การปรับฐานคิดของคณะทำงานโครงการย่อย อันเกิดจากความคุ้นเคยของการทำกิจกรรมแบบเดิม ทั้งแนวคิดและรูปแบบกิจกรรมท่ี่จะนำมาใช้ และแนวปฏิบัติ
โครงการย่อยมีที่มาจาก
1.ผู้นำท้องที่/ชุมชน ส่วนหนึ่งไม่ได้รับผิดชอบงานโดยตรงแต่มีหน่วยงานมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงดำเนินการให้
2.มาจากสถานศึกษา มีการส่งต่องานให้ครูที่รับผิดชอบ ไม่ได้รับทราบแนวทางของแผนงานฯ ประกอบกับช่วงเวลาพัฒนาโครงการอยู่ระหว่างปิดภาคเรียน
3.ส่งโครงการเข้ามาจากการประชาสัมพันธ์ ไม่ได้ผ่านการพัฒนาโครงการร่วมกับทีมพี่เลี้ยง
ข้อเสนอแนะทางออก
1)ก่อนเริ่มโครงการ มีการพัฒนาโครงการ ควรเพิ่มขั้นตอนการประชุมชี้แจงกับแกนนำคณะทำงานโครงการที่จะขอทุน เพื่อให้เข้าใจแนวคิด แนวทา่งสนับสนุน รวมถึงแนวปฏิบัติที่แผนงานฯนำมาใช้ว่าเป็นชุดกิจกรรม มีการใช้ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดสุขภาพ รวมถึงแนวคิดการทำงานเป็นทีม มีองค์ประกอบเครือข่ายภายในและภายนอกมาร่วมเติมเต็ม เสริมหนุนการทำงาน
2)เรียนรู้ทำความเข้าใจวิถีของชุมชนและการทำงานกับสถานศึกษา เพื่อให้สามารถกำหนดเงื่อนไขหรืออออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติหรือเสริมหนุนลดความซ้ำซ้อนและเติมเต็มกัน
3)มีองค์กรพี่เลี้ยงเข้ามารับงบสนับสนุนและทำงานร่วมกับสถานศึกษาหรือชุมชน เช่น วิทยาลัยพยาบาลทำงานกับโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ หรือม.ทักษิณ ทำงานกับชุมชน
2.ความรู้เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและสุขภาพจิต โดยเฉพาะแกนนำหรือบุคลากรที่รับผิดชอบ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ และมีความหลากหลายของประเภทปัญหา ต้องการวิทยากรมาช่วย
ข้อเสนอแนะ ประสานหน่วยงานรัฐที่เคยเป็นพี่เลี้ยงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานโครงการย่อยตั้งแต่แรก รวมไปถึงการประสานภาคียุทธศาสตร์เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมส่งทีมชี้เป้า/พื้นที่ทำงานร่วม และจัดทำบัญชีวิทยากรเพื่อสนับสนุนโครงการย่อย ทั้งวิทยากรประเด็นและวิทยากรกระบวนการ
3.การบริหารจัดการโครงการ
-ผลลัพธ์ส่วนใหญ่อยู่ที่การปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ต่อไปจะต้องเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมและการสร้างระบบภายในชุมชนหรือสถานศึกษา
-ประสบปัญหาติดขัด ทั้งในส่วนของการบริหารงบประมาณ ที่มีแนวปฏิบัติแบบราชการ ทำให้ล่าช้า ติดกับระเบียบ รวมถึงการรายงาน รวมไปถึงทีมการเงินหรือเลขายังไม่เข้าใจแนวทางการจัดการ มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดชอบ
-เริ่มกิจกรรมช้ากว่ากำหนด ด้วยปัญหาอุทกภัย การเข้าช่วงถือศีลอด การมีกิจกรรมปกติในชุมชนและสถานศึกษาจำนวนมาก
-การใช้งานระบบคัดกรอง iMed@home ที่มีคำถามมากและนามธรรม(บางข้อ) การไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีของชุมชน
ข้อเสนอแนะ
1)ปรับแก้ระเบียบเพื่อลดขั้นตอนการจัดการ
2)เพิ่มคลิปวิดีโอในระบบติดตาม www.Happynetwork.org
3)ปรับแก้แนวคำถามคัดกรองของ iMed@home ให้ง่ายมากขึ้นหรือลดจำนวนคำถาม และกรณีสุขภาพจิตเพิ่มข้อมูลที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอยู่แล้วเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน
ทั้งนี้การใช้แบบคัดกรองควรเป็นแบบสัมภาษณ์โดยแกนนำหรือบุคลากรที่เข้าใจความรู้พื้นฐานของประเด็นมากกว่าให้เด็กกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ประเมินตนเอง และควรทำอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงและนำข้อมูลไปวางแผนรับมือ
ทั้งหมดนี้จะหาข้อสรุปจากการประชุมครั้งที่ 2 อีกครั้ง
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้