ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
ด้วยมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนตรัง ทุกมิติ ครอบคลุม ทั้งด้านสุขภาพ สังคม สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจและเทคโนโลยี
4 เมษายน 2568 เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง หน่วยจัดการจังหวัดที่มีจุดเน้น (Node Flagship) ตรัง จัดเวทีหนุนเสริมเติมพลังการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพื้นที่รองรับสังคมสูงวัย ด้วยมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนตรัง ทุกมิติ ครอบคลุม ทั้งด้านสุขภาพ สังคม สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ณ ห้องประชุมพงษ์พาณิชย์ วัดนิโครธาราม(วัดกุฎใน) ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง
โดย ในการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน ประกอบด้วยจาก 7 อำเภอ 14 ตำบล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง นายกอบจ. อบต. พมจ. เกษตรจังหวัด ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาเกษตรกร ภาคประชาสังคมและสมาคมผู้พิการ ฯลฯ
จ. ตรัง เป็นหนึ่งในจังหวัดที่กำลังดำเนินการ “ชุมชนสูงวัยสุขภาพดี” ที่มีจุดเน้นการสร้างมาตรการส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ที่มีทั้งการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ การปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม และสนับสนุนคลินิกเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านที่อยู่อาศัย โดยการส่งเสริมการปรับปรุงบ้านให้เหมาะกับผู้สูงวัย เช่น การติดตั้งราวจับในห้องน้ำ พื้นกันลื่น และการออกแบบบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และสะดวกสบาย ขณะเดียวกันยังมีโครงการฝึกอาชีพสำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถทำงานได้ เพื่อสร้างรายได้และลดภาระของครอบครัว นอกจากนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนยังร่วมมือกันผลักดัน “ตลาดสูงวัย” ซึ่งเป็นตลาดที่รวบรวมสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ และการจัดบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และบริการดูแลผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ จังหวัดตรัง โดยภาคีทุกภาคส่วน ยังคงเดินหน้าผลักดันนโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงวัยสามารถพึ่งพาตัวเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติผ่านกลไก แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย จ.ตรัง ระยะ 5 ปี 2566-2570
ช่วงบ่ายเพื่อให้เห็นการมีส่วนร่วมในการจัดทำธรรมนูญ มีการแบ่ง 3 กลุ่ม ( ภาคประชาชน , กลุ่มอปท. รพสต. , ภาควิชาการ) เพื่อหารือสิ่งสำคัญในการจัดทำ ธรรมนูญ โดยมี 3 โจทย์ คือ
1)การดำเนินงานของพื้นที่ใน 4 กระบวนการ 9 ขั้นตอน
2)บทบาทของหน่วยงานที่จะไปช่วยหนุนเสริมการจัดทำธรรมนูญ
3)ปัญหาอุปสรรคและทางแก้ไขในการจัดทำธรรมนูญพื้นที่
นายสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ให้ข้อเสนอแนะทั้งในระดับนโยบาย ระดับพื้นที่ ในการดำเนินงานโดยใช้ธรรมนูญสุขภาพ มาวิเคราะห์ เชื่อมโยงให้เห็นเป้าหมายใหญ่ร่วมกับกิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินอยู่ โดยใช้มาตรการธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
นางจีรภา พรหมทอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ตรัง ให้ความเห็นว่า ธรรมนูญเป็นเครื่องมือที่ทำให้พื้นที่ทำงานได้อย่างมีส่วนร่วม และใช้เป็นมาตรการในการกำหนดทิศทางให้ชุมชนได้ดีและควรขยายผลให้ทุกคนรู้จักและมาออกแบบทำงานร่วมกัน
นายสุธี ดำคง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง พร้อมหนุนเสริมทั้งเรื่องวิชาการและการลงไปหนุนเสริมในพื้นที่เพื่อสร้างให้สังคมเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสุงวัยในจังหวัดได้อย่างมีความสุขในทุกช่วงวัย อยากให้ ธรรมนูญเชื่อมการทำงานกับต้นทุนจังหวัดมีอยู่แล้ว โดยเลือกมาตรการสำคัญไม่ต้องเยอะ วิธีการทำงานที่เข้าใจง่ายทำได้จริง
Next step:
-วันที่ 23 เมย.68 ประชุมหารือคุยผลลัพธ์ ธรรมนูญประสบผลสำเร็จได้อย่างไร
-การประกาศธรรมนูญตำบล อำเภอ และจังหวัด ในเดือน พค.- มิย.68 โดยการมอบประกาศนียบัตร ผ่านคณะกรรมการสังคมสูงวัยจังหวัดที่มีผู้ว่าเป็นประธาน
รายงานโดยทีม สช.ต.
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้