กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม

  • photo  , 1000x563 pixel , 449,613 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 378,786 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 340,096 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 409,687 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 304,533 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 297,844 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 451,726 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 387,112 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 508,905 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 465,736 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 514,248 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 427,237 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 116,585 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 98,988 bytes.
  • photo  , 1000x1415 pixel , 322,231 bytes.

กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม

10 เมษายน 2568 คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 นัดประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อจัดเวทีสาธารณะและสื่อสารทางสังคมในการประชุมกขป.ครั้งที่ 2 ช่วงปลายเดือนเมษายน ผ่านระบบประชุมทางไกล ชี้จุดแข็งเขต 12 มีการช่วยเหลือเติมเต็มการทำงานภาครัฐโดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรมทั้งพุทธ มุสลิม จีน มีผู้เข้าร่วม 32 คน ประกอบด้วย กขป.(รองประธาน/กรรมการ/เลขา/ทีมวิชาการ) เขตสุขภาพที่ 12 ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. node สสส.ใต้ล่าง node flagship ตรัง สสจ.ตรัง พมจ.ตรัง,สตูล,ยะลา กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดปัตตานี/นราธิวาส มูลนิธิอาสาสร้างสุข สนง.กรรมการสิทธิมนุษยชนภาคใต้ รพ.หาดใหญ่

เริ่มด้วยการพิจารณาและเติมเต็มร่าง system map สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม วิเคราะห์ปัจจัยกำหนดสุขภาวะที่เกี่ยวข้องกับประเด็น โดยเฉพาะจุดคานงัดสำคัญที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย

1)การสร้างความรับรู้ของกลุ่มเปราะบางต่อสิทธิและสวัสดิการ

2)ความรอบรู้ในด้านสุขภาพ การเงิน    สังคม สภาพแวดล้อม

3)เศรษฐานะ สามารถพึ่งตนเอง

4)กลไกสนับสนุนการทำงานแบบเชื่อมโยง บูรณาการหลายระดับ เข้าถึงและส่งต่อความช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบาง บนฐานวิถีวัฒนธรรม

มีพื้นที่ตัวอย่างมาร่วมนำเสนอ ประกอบด้วย

1.พื้นที่การดำเนินงานระดับชุมชนในการส่งเสริมการเข้าถึงสุขภาพและการเงินให้กับกลุ่มเปราะบางของ node สสส.ใต้ล่าง ดำเนินการโดยสภาองค์กรชุมชน ที่สามารถหาประเด็นและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง มีการจำแนกกลุ่มเปราะบางที่ช่วยตัวเองได้และไม่ได้ ส่งต่อความช่วยเหลือและเสริมสมรรถนะโดยเฉพาะความรอบรู้ทางด้านสุขภาพและการเงิน มีต้นแบบที่ ตำบลตำนาน จ.พัทลุง

2.การพัฒนากลไกประสานการทำงานระดับจังหวัด ดำเนินการร่วมกันระหว่างกองทุนฟื้นฟูฯจังหวัดสงขลา พมจ. สสจ. สมัชชาสุขภาพจังหวัด ที่มีการจัดกลไกในพื้นที่รพ.ประจำอำเภอ/รพ.ศูนย์ กลไกตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยมีระบบข้อมูลกลางสนับสนุนการทำงาน และเริ่มดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนพิการ/ผู้สูงอายุ ในการเข้าถึงสิทธิ์พื้นฐาน 4 มิติ เน้นการปรับสภาพบ้าน การเข้าถึงกายอุปกรณ์ การรับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ การพัฒนา cg

3.การทำแผนรองรับสังคมสูงวัย จ.ตรัง เป็นการทำแผนระดับจังหวัด ก่อนส่งต่อไปยังอปท.ผ่าน node flagship สสส. สมาคมสาขาสภาผู้สูงอายุ อบจ. และใช้ระบบข้อมูลกลาง trang care ในการประสานบูรณาการ

4.การส่งต่อความช่วยเหลือเด็กมุสลิมจากรพ.หาดใหญ่ ไปยังมัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า ซึ่งเปิดรับดูแลเด็กเปราะบาง เป็นทั้งการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและหล่อหลอมปรับพฤติกรรมด้วยการเรียนรู้ทางศาสนา

ที่ประชุมยังได้ร่วมเสนอแนะเชิงนโยบาย ประกอบด้วยข้อเสนอ

-ประสานส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิ์และสวัสดิการพื้นฐาน 4 มิติ

1.ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานกลุ่มเปราะบางในครัวเรือนที่ยากจน ไม่มีผู้ดูแล ขาดโอกาส  โดยเฉพาะครัวเรือนคนพิการ ผู้ปวยติดเตียง เด็กนอกระบบการศึกษา ผู้สูงอายุ ในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม/การศึกษา สิ่งแวดล้อม เจ้าภาพหลัก คือ สสจ. พมจ. กศจ. อบจ./ท้องถิ่น หน่วยงานเอกชน สถานพินิจ

กลไกระดับจังหวัด ประสานส่งต่อความช่วยเหลือ รับผิดชอบโดยกองทุนฟื้นฟูฯ/อบจ./สมัชชาสุขภาพจังหวัด/กศส.

กลไกอำเภอ โดย พชอ. อพม. อำเภอ

กลไกตำบล โดยกองทุนสุขภาพตำบล อปท. สภาองค์กรชุมชน

2.พัฒนาศูนย์บริการ one stop service ณ รพ.ศูนย์และรพ.อำเภอ มัสยิด มูลนิธิ/รพ.มิตรภาพฯ ส่งเสริมและประสานส่งต่อการเข้าถึงสิทธิ์และสวัสดิการพื้นฐาน โดยสสจ./พมจ./อบจ./กองทุนฟื้นฟูฯ สมัชชาสุขภาพจังหวัด

-ต่อยอดพัฒนาระบบข้อมูลกลาง

1.สปสช.เขต 12 ประสานความร่วมมือกับกองทุนฟื้นฟูสมรรภาพจังหวัด ในพื้นที่ เขต 12 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศกลาง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลปฏิบัติการที่มีอยู่ในพื้นที่ คือ กสศ. จปฐ. ระบบ Imed@home, trang care, แผนที่ชุมชนอิเล็คทรอนิค/TPMAP ของ พม. ฐานข้อมูลคนพิการ CMCG ของกรมอนามัย  โปรแกรมบ้านสร้างสุข น้องอ้อมปันสุข ศูนย์ซ่อมสร้างสุข ศูนย์สร้างสุขชุมชน

2.ความร่วมมือในการพัฒนาต้นแบบ การเชื่อมโยงข้อมูลในระดับครัวเรือน/บุคคลแต่ละช่วงวัยไปสู่การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ โดยมูลนิธิอาสาสร้างสุข เครือข่าย Node สสส.ใต้ล่าง มูลนิธิชุมชนสงขลา

-ขยายผลงานรองรับสังคมสูงวัย

1.ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 12 สสส./สสจ./พมจ./ท้องถิ่นจังหวัด ขยายผลการจัดทำแผนและธรรมนูญชุมชนรองรับสังคมสูงวัย จากตัวอย่าง จ.ตรัง

2.พชอ./สสจ./อบจ. ประสานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 12 ส่งเสริมงานปฐมภูมิ เตรียมพร้อมทุกช่วงวัยรองรับสังคมสูงวัย

พร้อมนัดหมายพื้นที่ต้นแบบร่วมนำเสนอในกิจกรรมประชุมกรรมการ 25 เมษายนนี้ ณ รพ.สมเด็จนาทวีฯ ได้แก่ การพัฒนากลไกเติมสุขของกองทุนฟื้นฟูฯสงขลา การช่วยเหลือเด็กเล็กของมัสยิดบ้านเหนือ และการทำแผนรองรับสังคมสูงวัยจ.ตรัง

#เรียนรู้เติมเต็มต่อยอดขยายผล

#กขป.เขต 12

Relate topics