กสม.และภาคี ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมพลังเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมมลายู ณ จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี
กสม.และภาคี ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมพลังเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมมลายู ณ จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี
.
เมื่อวันที่ 8 - 9 พฤษภาคม 2568 ผศ. สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยนายสุเรนทร์ ปะดุกา ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้ (สำนักงาน กสม. พื้นที่ภาคใต้) ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมพลังเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตมุสลิมมลายู ภายใต้แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ณ จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี โดยมีกิจกรรมดังนี้
วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 ที่สหกรณ์อิสลามซอฮาบะห์ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะ ได้ร่วมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการย่อยภายใต้การพัฒนาเครือข่ายเปลี่ยนผ่านสุขภาวะมุสลิมมลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมให้ความเห็นในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิว่า การดำเนินการของเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความยากลำบาก แต่เห็นว่าเป็นกระบวนการเพื่อการรักษาชีวิต โดยกระบวนการทำให้มนุษย์อยู่รอดปลอดภัย รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาวะที่ดี เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับแนวคิดเทววิทยาในทัศนอิสลามที่สั่งให้มนุษย์เคารพในความศักดิ์สิทธิของชีวิต และที่สำคัญคือ กระบวนการดังกล่าวยังหนุนเสริมการสร้างสันติภาพที่มาจากข้างล่าง (Peace Building from Belong) โดยการสร้างสันติสุขในพื้นที่ต้องเริ่มต้นจากตัวเรา ไปสู่ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ และขอเป็นกำลังใจให้ช่วยกันดำเนินการต่อไป พร้อมทั้งเชิญชวนทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกัน
จากนั้น วันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะได้เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มมุสลิมและการขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ร่วมกับนางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี โดยเสนอแนะให้การสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมมลายูเป็นการดำเนินการไปพร้อมกันทั้งสามจังหวัดอย่างเป็นระบบ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของประชาชนกลุ่มเฉพาะที่เป็นกลุ่มมุสลิมมลายูในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนขององค์การบริหารศาสนาอิสลาม เช่น คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นกลไกที่มีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินการของผู้ว่าราชการจังหวัดและมีความใกล้ชิดกับชุมชน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
Relate topics
- ถอดบทเรียน 12 เดือน 10 ตำบล เรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน "โครงการตำบลอยู่ดีมีสุข ต้นแบบด้านการปกป้องคุ้มครองเด็ก" ยะลา
- เวที “การจัดการความรู้เครือข่ายชุมชนท้องถิ่น สู่การรู้รับปรับตัว” ภายใต้โครงการสานพลังเครือข่ายท้องถิ่นน่าอยู่สู่การรู้รับปรับตัวภาคใต้
- การใช้แนวคิดปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพและเครื่องมือแผนที่เดินดินเพื่อพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพ
- อบจ.สงขลา Kick Off ทุเรียนบ้าน พืชเศรษฐกิจ จ.สงขลา จัดอบรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตแก่เกษตร ตั้งเป้าสู่ “สงขลามหานครทุเรียนบ้าน”
- มรภ.สงขลา ผนึก บพท.-อบจ.สงขลา ผุดแคมเปญ “ไปต้า…หาหมอ” พัฒนาระบบบริการรถขนส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยพื้นที่ห่างไกล นำร่อง อ.ควนเนียง-อ.สะบ้าย้อย
- โครงการพัฒนาและขยายผลระบบอาหารปลอดภัย ในโรงเรียนและชุมชน จังหวัดพัทลุง (ภาคี สสส.)
- พม. จับมือกรมควบคุมโรคและเครือข่าย MOU การขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าและอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนในเครือข่ายสภาเด็กฯ
- "MOU รถเติมสุข...พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์จังหวัดสงขลา"
- สนส.ม.อ. สสส. อบจ.ภูเก็ต ผลึกพลังจัดเวที Policy Forum ภูเก็ต สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต Phuket Health for Future of Life ขับเคลื่อนท้องถิ่นด้วยความรู้
- “ท้องถิ่นขยับ ประเทศปรับเปลี่ยน: ขับเคลื่อนสังคมไทยปลอดภัยจากควันบุหรี่ (ไฟฟ้า)”